มาตรการทางกฎหมายในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทย: ศึกษากรณีบทบาทของเจ้าของสุนัข ผู้ประกอบกิจการเพื่อจำหน่ายสุนัข และหน่วยงานรัฐ
dc.contributor.advisor | วัชรชัย จิรจินดากุล | |
dc.contributor.author | ยศนันท์ ปานาภรณ์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-19T02:33:52Z | |
dc.date.available | 2023-05-19T02:33:52Z | |
dc.date.issued | 2019 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 | th |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมาย เกี่ยวกับการแก้ปัญหา สุนัขจรจัด ศึกษากรณีบทบาทของเจ้าของผู้ประกอบกิจการเพื่อจ้าหน่ายสุนัขและหน่วยงานของรัฐ โดยมีขอบเขตการศึกษาคือ พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องของประเทศญี่ปุ่น พระราชบัญญัติสวัสดิภาพและการจัดการสัตว์ พ.ศ.2557 (Act on Welfare and Management of Animals 2014) และกฎหมายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องของประเทศนิวซีแลนด์ พระราชบัญญัติ ควบคุมสุนัข พ.ศ.2539 (Dog Control Act 1996) โดยมุ่งวิเคราะห์เฉพาะกรณีสุนัขเพื่อหาแนวทาง ในการควบคุมและจัดการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยจะวิเคราะห์ ประเด็น มาตรการทางกฎหมายในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทยจากแง่มุมบทบาทของ เจ้าของ ผู้ประกอบกิจการเพื่อจ้าหน่ายสุนัข และหน่วยงานรัฐ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดมาเป็น ระยะเวลายาวนานแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขให้สำเร็จลงได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาสุนัขจรจัดมี ตัวแปรสำคัญมากมายไม่ว่าจะเป็น เจ้าของสุนัข ทั งในเรื่องของปัญหาจากผู้เลี ยง วิธีการเลี้ยง ตลอดจนตัวสุนัข ปัญหาของผู้ประกอบกิจการเพื่อจ้าหน่ายสุนัข ในเรื่องของมาตรฐานในการประกอบกิจการ ตลอดจนการแก้ปัญหาและมาตรการของหน่วยงานรัฐในการรับมือกับปัญหาสุนัขจรจัด ทั้งนี้พบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมต่อการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้ น การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางและมาตรการในการแก้ปัญหา สุนัขจรจัดทั้งในบทบาทของเจ้าของสุนัข การกำหนดมาตรฐานของการประกอบกิจการเพื่อจ้าหน่ายสุนัข และการแก้ปัญหาในบทบาทของหน่วยงานรัฐ โดยได้ศึกษาแนวทางจากพระราชบัญญัติ การจัดการและสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 ของประเทศญี่ปุ่น และพระราชบัญญัติควบคุมสุนัข พ.ศ.2539 ของประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกัน การทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 ของประเทศไทย ต่อไป | th |
dc.format.extent | 266 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.identifier.doi | 10.14457/NIDA.the.2019.134 | |
dc.identifier.other | b207780 | th |
dc.identifier.uri | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6447 | |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject.other | สุนัข -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | th |
dc.subject.other | สุนัขจรจัด -- การควบคุม -- ไทย -- กรุงเทพฯ | th |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทย: ศึกษากรณีบทบาทของเจ้าของสุนัข ผู้ประกอบกิจการเพื่อจำหน่ายสุนัข และหน่วยงานรัฐ | th |
dc.title.alternative | Legal measures for managing stray dogs in Thailand : a study of the roles of owners, operators and government agencies | th |
dc.type | text--thesis--master thesis | th |
mods.genre | Thesis | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.department | คณะนิติศาสตร์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.level | Masters | th |
thesis.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th |