สำรวม จงเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษาวราวัลย์ นิลพัทธ์2014-05-052014-05-052013http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/473วิทยานิพนธ์ ( )--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,งานวิจยนี้ผู้วิจิยได้เสนอสถิติทดสอบบูทสแตรปเฉิน-ลูโดยเปรียบเทียบความสามารถใน การควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และค่าอานาจการทดสอบของสถิติ แบบไม่ใชพารามิเตอร์สาหรับทดสอบความแตกต่างของตำแหน่งของประชากร 2 กลุ่ม กรณีความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากัน กับสถิติทดสอบวิลคอกสัน-แมน-วิทนีย์วิธีคลิฟฟ์ สถิติ ทดสอบบรุนเนอร์-มุนเซล สถิติทดสอบเฉิน-ลูและสถิติทดสอบบูทสแตรปแรงค์เวลซ์ข้อมูลที่ใช้ ในการศึกษาคร้ังนี้ได้จากการสร้างแบบจำลอง เมื่อข้อมูลมาจากการแจกแจงเอกรูปต่อเนื่องและการ แจกแจงแกมมาขนาดตัวอย่างเท่ากับ (5,10), (10,10), (20,30), (30,30), (40,50), (60,60) และ (100,100) ระดบนัยสำคัญที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน 0.01 และ 0.05 ซึ่งกระทำซ้ำ 1,000 คร้ัง ในแต่ละ สถานการณ์กำหนดจำนวนครั้งในการบูทสแตรป 500 คร้ัง ผลการศึกษาพบว่า สถิติทดสอบบูทสแตรปเฉิน-ลูสามารถควบคุมความน่าจะเป็นของ ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1ได้ดีที่สุด และมีค่าอำนาจการทดสอบสูงใกล้เคียงกับสถิติทดสอบอื่น เมื่อตัวอย่างมีขนาดเท่ากับ (100,100) เมื่อตัวอย่างขนาดเล็ก (5,10), (10,10) สถิติทดสอบบรุนเนอร์-มุนเซล สามารถควบคุมความ น่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1ได้ดีที่สุด และมีค่าอำนาจการทดสอบสูงกว่าสถิติ ทดสอบอื่น เมื่อตัวอย่างขนาดปานกลาง (20,30), (30,30) สถิติทดสอบวิลคอกสัน-แมน-วิทนีย์และ สถิติทดสอบบรุนเนอร์-มุนเซล สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ใกล้เคียงกัน และมีค่าอำนาจการทดสอบสูงกว่าสถิติทดสอบอื่นเมื่อตัวอย่างขนาดใหญ่(40,50), (60, 60), (100,100) สถิติทดสอบทุกตัว สามารถควบคุมความ น่าจะเป็นของความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ดีขึ้น และค่ามีอำนาจการทดสอบสูงขึ้น79 แผ่น : ; 30 ซม.application/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)สถิติแบบไม่ใช้พารามิเตอร์ สำหรับทดสอบความแตกต่างของตำแหน่งของประชากร 2 กลุ่ม กรณีความแปรปรวนของประชากรไม่เท่ากันA nonparametric statistics for testing location of the two populations with unequal population variancestext--thesis--master thesis