รติพร ถึงฝั่งพิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว2021-12-072021-12-072016b194300https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5335วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทยและความสามารถ ในการทำนายภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ด้วยตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคล การสนับสนุนทาง สังคมและการดูแลสุขภาพ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 16,058 คน ผลการศึกษาพบว่าภาวะ สุขภาพของผู้สูงอายุไทยอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล การสนับสนุน ทางสังคมและการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุไทยร่วมกันทำนายภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทยได้ ดีกว่าตัวแปรอิสระเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ตัวแปรที่สำคัญที่สุด คือ รายได้ โดยพบว่าการที่ผู้สูงอายุ ไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อปี ตั้งงแต่ 50,000 บาทขึ้นไป สามารถทำนายภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทยได้มากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) เท่ากับ .172 รองลงมาคือการดูแลสุขภาพของ ผู้สูงอายุไทย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน (β) เท่ากับ .156 การศึกษานี้เสนอแนะว่า ภาครัฐควรที่จะคงไว้ซึ่งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุและปรับปรุงช่องทางการเข้าถึงสิทธิดังกล่าวให้ครอบคลุมและทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยเน้นให้ครอบครัวเข้ามีส่วนร่วม99 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)ผู้สูงอายุ -- ไทยผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัยการดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทยHealth care and health status of Thai agingtext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2016.144