บูรพา ชดเชยดวงนภา สุวรรณธาดา2014-05-052014-05-052004b150095http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/694วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2547วิทยานิพนธ์เรื่อง การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมและการวางแผนพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการทำงานของนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล ศึกษาปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานภายในหน่วยงาน โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรมและนำผลที่ได้มาใช้วางแผนพัฒนาบุคลากรระยะเวลา 3 ปี กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้คือ นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง โดยใช้วิธีการศึกษาตามรูปแบบของโปรแกรม Designer's Edge คือ ศึกษาประวัติ วิสัยทัศน์ นโยบายและเป้าหมายในการทำงานของหน่วยงาน ศึกษาหน้าที่ความรับผิดชอบและชืดความสามารถของกลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่ความรับผิดชอบคือ นักพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับ 3-4 นักพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับ 5-6 และนักพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับ 7-8 และข้าราชการสังกัดกรมทางหลวงที่เคยผ่านการฝึกอบรมจากกองฝึกอบรม รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้บริหารและหัวหน้างาน มีการศึกษาขีดความสามารถของนักพัฒนา ฯ ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำการศึกษาไว้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดพื้นฐานขีดความสามารถให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลที่ได้จากการศึกษาทำให้ทราบถึง 1. ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานของกลุ่มเป้าหมาย 2. แนวทางในการพัฒนาคุณภาพการทำงานของกลุ่มเป้าหมายทั้งที่แก้ไขด้วยการฝึกอบรมและวิธีการอื่นที่เหมาะสม 3. สามารถนำผลที่ได้มาใช้วางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้ ผลจากการศึกษาพบว่ามีปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรมและวิธีการอื่นดังนี้ 1. ระดับ 3-4 พบว่าปัญหาที่สามารถแก้ไขใช้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ กระบวนการฝึกอบรม การวางแผนพัฒนาบุคลากร การจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงาน การออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมและโครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจัดกิจกรรมและเกม ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ การจัดทำและพัฒนาระบบบริหารงานเพื่อสนับสนุนการทำงาน การจัดประชุมเพื่อพิจารณาหลักสูตรฝึกรบรม การจัดทำและขออนุมัติโครงการ การคัดเลือกและประเมินผล วิทยากรและสถานที่ในการฝึกอบรมภายนอก 2. ระดับ 5-6 พบว่าปัญหาที่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ การวางแผนพัฒนาบุคลากร การจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงาน การออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมและโครงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทักษะการเป็นวิทยากร ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ การจัดทำและพัฒนาระบบบริหารงานเพื่อสนับสนุนการทำงาน การจัดประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระเบียบการฝึกหบรมเพิ่มเพิ่มเติมและดูงาน 3. ระดับ 7-8 ปัญหาที่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม การวางแผนพัฒนาบุคลากร การบริหารความเปลี่ยนแปลง การจัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงาน การเขียนบทความเชิงวิชาการ การออกแบโครงการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล การสร้างทีมงาน การจัดทำเครื่องมือประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม ทักษะการเป็น วิทยากร ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการฝึกอบรมได้แก่ ระเบียบการศึกษาฝึกอบรมเพิ่มเติมและดูงาน เมื่อนำผลการศึกษาที่ได้นำมาใช้ในการสัมภาษณ์ผู้บริหารของหน่วยงานและจากการศึกษา การกำหนดขีดความสามารถ แนวทางในการพัฒนาบุคลากรจากสำนักงานศาลยุติธรรม สามารถสรุปหลักสูตรที่เหมาะสมนำมาพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง ดังนี้ 1. หลักสูดรกระบวนการฝึกอบรมสำหรับนักพัฒนาพรัพยากรบุคคล 2. การจัดทำและพัฒนาระบบบบสารสนเทศสำหรับนักพัฒนาทรัพยากรบุคลประกอบด้วย 2.1 หลักสูตรการจัดทำ Website 2.2 หลักสูตรการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับผู้บริหาร 3. หลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้บริหาร 4. หลักสูตรการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม 5. หลักสูตรทักษะการจัดเกมและกิจกรรม 6. หลักสูตรการสร้างทีมงาน 7. หลักสูตรการเขียนบทความเชิงวิชาการ 8. หลักสูตรการประเมินผลและการติดตามผลการฝึกอบรม141 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)กรมทางหลวง. กองฝึกอบรมการฝึกอบรมการบริหารงานบุคคลการหาความจำเป็นในการฝึกอบรมและการวางแผนพัฒนานักพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองฝึกอบรม กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมNeeds analysis and human resources development professional development plan of Training Division of Highways, Ministry of Transporttext--thesis--master thesis