สรศาสตร์ สุขเจริญสินเจตรัฐ สหนันท์พร2021-09-062021-09-062020b211015https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5246วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเงิน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ด้วย Panel VAR Approach โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินทั้งหมด 16 อัตราส่วนที่เผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียน (CR) อัตราส่วนหมุนเวียนเร็ว (QR) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (DE) อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (INTCO) อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) อัตรากำไรสุทธิ (NPM) อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (ART) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (ACP) อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร (FAT) อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (IT) ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (ASP) และอัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ (TAT) โดยเก็บข้อมูลเป็นรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2550 ถึงไตรมาส 4 พ.ศ. 2559 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด SET และ ตลาด mai เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระยะเวลา ทิศทาง การเป็นส่วนประกอบความแปรปรวนของอัตราส่วนทางการเงินมีต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ระหว่างตลาดการจดทะเบียน และเปรียบเทียบกับแนวคิดทฤษฎี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของทั้ง 2 ตลาดมีความแตกต่างกันทั้งระยะเวลาและทิศทางของความสัมพันธ์ แต่ยังคงเป็นไปตามแนวคิดทฤษฎี และพบว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ในอดีตเป็นสำคัญ โดยเฉลี่ยส่งผลถึงร้อยละ 96 และอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆ ส่งผลเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การซื้อขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังไม่มีความสมเหตุสมผลตามทฤษฎีงบการเงิน และไม่ได้สนับสนุนทฤษฎีความมีประสิทธิภาพของตลาดทั้งในระดับต่ำและระดับปานกลาง ดังนั้น การใช้วิธีวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิคในการพยากรณ์ราคาหลักทรัพย์ไทยอาจใช้พยากรณ์ราคาหลักทรัพย์ได้ดีกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานThis research aims to study the relationship between financial ratios and stock prices of the companies: A Panel VAR Approach by using 16 financial ratios published by the Stock Exchange of Thailand i.e. Current ratio (CR), Quick ratio (QR), Debt to equity ratio (DE), Interest coverage ratio (INTCO), Gross profit margin (GPM), Net profit margin (NPM), Return on assets (ROA), (Return on equity), Account receivable turnover (ART), Average collection period (ACP), Fixed assets turnover (FAT), Inventory turnover (IT), Average sale period (ASP) and Total asset turnover (TAT). And collecting data on a quarterly basis from the first quarter of 2007 to the fourth quarter of 2016 of the listed companies in the SET and mai to study and compare the duration, direction, and the variance component of financial ratios on the changes in stock price between Listing market but still following the theories. the result shows that financial ratios affect the change in stock price were different in 2 listing markets both in duration and direction. And the changes in stock price depend mainly on the changes of stock prices in the past The average result of the impacts from the past returns is up to 96% and only 4 percent from other financial ratios. The analysis of the sample shows that the trading of securities listed in the Stock Exchange of Thailand is not reasonable in accordance with financial statement theory and does not support the efficient market theory at both weak and semi-strong form. The results of the study indicate that the use of technical analysis may be superior in predicting stock prices, comparing to the use of fundamental analysis.98 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)e-Thesisอัตราส่วนทางการเงินการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์แบบจำลอง Panel VARราคาหลักทรัพย์ตลาดทุนความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ ด้วยแบบจำลอง Panel VARThe relationship between financial ratios and stock prices : a Panel VAR approachtext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2020.106