วริยา ล้ำเลิศวสุนธรา ทรัพย์สมาน2021-09-282021-09-282016b196246https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5271วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559การค้าระหว่างประเทศในยุคปัจจุบันมุ่งเน้นการเปิดตลาดการค้าแบบเสรีเป็นหลัก แต่ทุก ประเทศต่างมุ่งหวังให้ประเทศของตนเป็นผู้นําในด้านเศรษฐกิจ จึงได้วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับนโยบาย เศรษฐกิจการค้าทั้งภายในและนอกประเทศของตนขึ้น เพื่อทําให้ระบบการค้าของประเทศตนมีความ ได้เปรียบกว่าประเทศอื่นที่เป็นประเทศคู่ค้า ซึ่งกฎเกณฑ์ดังกล่าวแต่ละประเทศได้นํามาจากองค์การ ค้าโลกที่ได้ตั้งมาตรการและมาตรฐานทางการค้าไว้ โดยได้นํามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะของ ประเทศ และได้อาศัยช่องว่างของมาตรการดังกล่าวเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศตนเองมากที่สุด จน ก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้าไปโดยปริยายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการแอบแฝงการกีดกัน ทาง การค้านั่นเอง โดยอุปสรรคที่ว่านั้น ไม่ใช่เรื่องมาตรการที่เกี่ยวกับภาษี หากแต่เป็นมาตรการอื่นที่มิใช่ ภาษี หรือที่เรียกว่ามาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTB) อย่างมาตรการ สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช สําหรับการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากฎเกณฑ์หลักการ และเงื่อนไขต่างๆ ที่สําคัญของความตกลงว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 2. ศึกษา เปรียบเทียบถึงการกําหนดมาตรการการส่งออกสินค้าเกษตรประเภทผลไม้ของประเทศไทยและ ประเทศจีน โดยศึกษาตามพระราชบัญญัติการกักพืช พ.ศ.2507 และประกาศกระทรวงเรื่องกําหนด พืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะเพื่อการส่งออก พ.ศ.2552 กับมาตรการสุขอนามัยในการนําเข้าสินค้าเกษตร ประเภทผลไม้ของประเทศจีน และวิเคราะห์ความสอดคล้องของมาตรการส่งออกสินค้าเกษตร ประเภทผลไม้ของไทยกับหลักการของความตกลงว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 3. ศึกษาถึงการ กําหนดมาตรการการนําเข้าสินค้าเกษตรประเภทผลไม้ของประเทศจีนเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้อง ของมาตรการดังกล่าวกับหลักการความตกลงว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 4. ศึกษาแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาการนํามาตรการคุ้มครองสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชมาใช้เป็นมาตรการกีดกันทาง การค้าโดยแอบแฝงิธีการศึกษาของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะศึกษาถึงมาตรการการนําเข้า – ส่งออกเกี่ยวกับสินค้า เกษตรประเภทผลไม้เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน ภายใต้มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช โดยมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการนํามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ในส่วนที่ เป็นกฎหมายสารบัญญัติ 1. พิธีสารว่าด้วยข้อกําหนดด้านการกักกันโรคและการตรวจสอบสําหรับ ผลไม้ที่จะส่งออกจากประเทศจีนมาประเทศไทย และประเทศไทยมาประเทศจีน (พิธีสารผลไม้) 2. พิธีสารว่าด้วยข้อกําหนดในการตรวจสอบและกักกันโรคสําหรับการส่งออกและนําเข้าผลไม้ ผ่าน ประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและจีน (พิธีสาร R3 และ R9) 3. พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2551 4. มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชขององค์การการค้า โลก นอกจากนี้ยังศึกษามาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางการค้าอื่นๆ ซึ่งเป็นกฎระเบียบและ มาตรฐานทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในอัน เกี่ยวกับมาตรการส่งออกและนําเข้าผลไม้ และข้อกําหนดทางพิธีสารระหว่างประเทศไทยและประเทศ จีน จากการศึกษา พบว่าข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนในแบบพันธ สัญญาทวิภาคีเกี่ยวกับมาตรการการส่งออกและนําเข้าผลไม้ระหว่างกัน และกฎหมายภายในของไทย คือ พระราชบัญญัติ กักพืช พ.ศ.2507 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 นั้น มีประเด็นที่ต้องแก้ไข เพิ่มเติม ในมาตรา 12 (2) - (4) ซึ่งบทบัญญัติยังไม่ครอบคลุมความปลอดภัยของมนุษย์ สัตว์และพืช ได้เท่าที่ควร กล่าวคือ เนื้อหาสาระของพระราชบัญญัติกักพืชนั้น มุ่งเน้นเฉพาะศัตรูพืชเท่านั้น ที่ กําหนดให้เจ้าหน้าที่มีอํานาจกักกัน หรือทําลายในกรณีที่พบศัตรูพืช แต่ไม่ได้กล่าวถึง สารเคมี และยา ฆ่าแมลงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชากรไทย ผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติ ดังกล่าว โดยเพิ่มถ้อยคําว่า สารเคมี ยาฆ่าแมลง เข้าไปในบทบัญญัติด้วย นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึง การกําหนดมาตรการการนําเข้าผลไม้สดของประเทศจีน ภายใต้ความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน สุขอนามัยและสุขอนามัยพืชจะพบว่ามาตรการการนําเข้าของประเทศจีนไม่สอดคล้องความตกลง สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช กล่าวคือ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของประเทศจีนนั้น เป็น การจํากัดทางการค้าเกินกว่าความจําเป็นในการบรรลุถึงระดับการคุ้มครองที่เหมาะสม ทั้งยังเลือก ปฏิบัติสําหรับกรณีการนําเข้าและการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะกับผลไม่ที่นําเข้าจากประเทศไทย โดย ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการเจรจาเพื่อขอแก้ไขข้อความในพิธีสารไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจํานวนชนิดผลไม้ใน พิธีสาร การขยายเวลาในใบอนุญาตการนําเข้า การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น เพื่อให้การบังคับใช้ มาตรการการนําเข้า – ส่งออกผลไม้ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช139 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)ผลไม้ -- การค้า -- ไทยมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีการกีดกันทางการค้าสินค้าเกษตรมาตรการการนำเข้า-ส่งออกผลไม้ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน ภายใต้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชImport and export measure for fruits between Thailand and China under the sanitary and phytosanitary measuretext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2016.11