ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์ณัฏฐ์ระพี วงศ์ชนเดช2020-06-092020-06-092019b207946https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4977วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 504วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยอาหาร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมคุณภาพ และวิธีการป้องกันการเกิดปัญหาจากความไม่ปลอดภัยอาหารโดยใช้กระบวนการทางกฎหมายที่บังคับอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลทางกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณภาพอาหาร และการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันเกี่ยวกับอาหารไม่ปลอดภัยของไทยกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพยุโรปและสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ยังได้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน จากการศึกษาพบว่า ระบบควบคุมความปลอดภัยอาหารของประเทศไทยได้กำหนดให้หลักเกณฑ์ระบบควบคุมอาหารขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ระบบ GMP บังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ในส่วนของระบบควบคุมอาหารขั้นสูงกว่าและได้รับการยอมรับในทางสากล เช่น ระบบ HACCP หรือ ISO 22000 ถูกกำหนดไว้เป็นเพียงมาตรฐานสมัครใจ และในกรณีด้านการติดตามหรือตรวจสอบย้อนกลับอาหารกรณีเมื่อพบปัญหาความไม่ปลอดภัยอาหาร ประเทศไทยยังไม่มีการบังคับใช้และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ในงานด้านการกำกับดูแล ได้พบความไม่สอดคล้อง การขาดประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ส่งผลให้ทางปฏิบัติเกิดอุปสรรคในด้านการดำเนินงานของทุกภาคส่วน            ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงเสนอแนะให้ประเทศไทยนำมาตรการทางการทางกฎหมายที่มีอยู่ ได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อเสริมความสามารถในด้านการรองรับต่อสถานการณ์ใด ๆ ที่อาจเกิดหรือได้เกิดปัญหาจากความไม่ปลอดภัยอาหาร ในทางที่จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้นไปอีกThis thesis aims to study issues related to food safety in the supply chain with regards to a quality control system as well as a preventive method for any problems that might be occurred from unsafe food by applying existing legal procedure. The research is a qualitative research. The author gathered legal information and legal documents in relation to a quality control system, a quality control operation and prevention under Thai and foreign laws, namely European Union and People’s Republic of China. In addition, the research used a quantitative method by interviewing government officials and private entrepreneurs. From the study, the author found that a food safety control system in Thailand imposed the GMP system as a fundamental standard for a food quality control. In particular, the GMP system has its legal binding as a law. However, for a higher standard system which is widely accepted internationally such as the HACCP or ISO22000 is prescribed as a voluntary standard. Moreover, in terms of the traceability, in Thailand, there is still no related enforcement mechanisms and any operations. Furthermore, there is no sufficient collaboration among authorities in regulating such activity. This led to operational problems for all related stakeholders. To this extent, the thesis proposes that Thailand should amend existing legal measures such as the Food Act B.E.2522 and the Public Health Act B.E.2535 in order to strengthen capacity to support all possible situations that might be happened or to prevent all potential problems related to food safety. This is to assist more people consuming safe food.148 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)e-Thesisการควบคุมคุณภาพอาหารความปลอดภัยอาหารอาหาร -- การควบคุมคุณภาพอาหาร -- การควบคุมคุณภาพ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับปัญหาทางกฎหมายด้านการควบคุมระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหารA legal problem regarding a control of food safety and food qualitytext--thesis--master thesis