สมศักดิ์ สามัคคีธรรมศิระ บุญแทน2023-05-082023-05-082019ิb207911https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6406วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561การศึกษาวิจัย “การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา พื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ ยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาบริบทเชิงโครงสร้างทางสังคมที่ ส่งผลต่อกระบวนการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอ กำแพงแสน จังหวดันครปฐม และ3) เพื่อศึกษาปัจจยัที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม การศึกษาวิจัยในคร้ังนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ เชิงลึกโดยกำหนดประเด็นคำถามตามกรอบแนวคิดการศึกษาวิจัยและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูลหลายฝ่าย สามารถสรุปผลการศึกษาวจิยัได้ดังนี้ 1) สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวดันครปฐม ยังมีแนวโน้มของการแพร่ระบาดมากขึ้นมียาเสพติดที่แพร่ระบาดหลักได้แก่ยาบ้า (เมทแอมเฟตามีน) ซึ่งกลุ่มผูค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ค้ารายย่อย โดยมีกลุ่มผู้เสพยาเสพติดส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานใน พื้นที่ 2) บริบทเชิ งโครงสร้างทางสังคมที่ส่งผลต่อการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ ได้แก่ (1) บริบทเชิงโครงสร้างระหว่างประเทศและโลกาภิวัตน์พบว่ายาเสพติดใน พื้นที่อำเภอกำแพงแสนนั้นมาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมากนักและโลกาภิวัตน์ส่งผลให้การนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติทำได้ยากขึ้น (2) บริบทเชิงโครงสร้างทางวัฒนธรรม พบว่าด้วยวัฒนธรรมในระบบอุปถัมป์ และความสัมพันธ์แบบเครือญาติส่งผลให้มีการช่วยเหลือกันปกปิดการกระทำผิดของผู้ค้าและเสพยาเสพติดส่งผลให้กระบวนการปราบปรามยาเสพติดไม่ได้ผลเท่าที่ควร (3) บริบทเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ พบว่า ปัญหาเศรษฐกิจและสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ จะทำให้ประชาชนหันมาค้ายาเสพติดมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการทุจริตคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่อีกด้วย (4) บริบทเชิงโครงสร้างทางการเมือง พบว่ากลุ่มผู้ค้ายาเสพติดจะใช้โอกาสที่ การเมืองไม่มีเสถียรภาพ เป็นช่องว่างในการค้ายาเสพติด 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านนโยบาย พบว่า นโยบายในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มีความชอบธรรมและชัดเจนหากแต่ในระดับการปฏิบัติยังไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นที่ เนื่องจากมีช่องว่างของกฎหมายที่ผู้ค้ายาเสพติดใช้ในการกระทำผิด (2) ปัจจัยด้านสมรรถนะองค์การ พบว่าปัจจัยด้านสมรรถนะองค์การนั้น ภาวะผู้นำของนายอำเภอกำแพงแสนในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ป ฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมีสูง หากแต่ยังขาดทรัพยากรที่ใช้ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (3) ปัจจัยด้านความร่วมมือ พบว่าความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ยังมีน้อย เนื่องจากมองว่าปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องไกลตัว และเสี่ยงอันตรายหากให้ความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่ (4) ปัจจัยด้านสิ่งจูงใจ พบว่าเจ้าหน้าที่ยังขาดสิ่งจูงใจในการปฏิบัติงานด้านยาเสพติดเนื่องจากสิ่งจูงใจยังอยู่ในแค่ระดับผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงาน133 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)ยาเสพติด -- การป้องกันและควบคุมการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมImplementation of drug prevention and suppression policy in Kumphaeng Saen District, Nakhon Pathom Provincetext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2019.116