วิสาขา ภู่จินดานิชนันท์ ปฏิทัศน์2018-07-182018-07-182017b199700http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3774วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่มีผลต่อการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลของชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา การลงพื้นที่ในการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราชสถิตย์ และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตัวแทนผู้สูงอายุ และผู้นำชุมขน และการสังเกตการณ์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ (Feasibility Study) 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การบริหารจัดการ และสิ่งแวดล้อม และเพื่อเสนอแนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลของชุมชนที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอ ไชโย จังหวัดอ่างทอง โดยการวิเคราะห์ TOWS Matrix จากข้อมูล SWOT Analysis ผลการศึกษาความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้สูงอายุและคนชุมชนส่วนใหญ่มีการคัดแยกขยะเพื่อไว้จำหน่ายให้กับซาเล้งรับซื้อเพื่อหารายได้เสริมอยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้การจัดตั้งธนาคารขยะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่มีผลในการจัดตั้งธนาคารขยะ คือการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ความรู้ความสามารถของประชาชนในชุมชน และหน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะ และการสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชน และผลจากการวิเคราะห์ความเหมาะสม การจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้อายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีความเหมาะสม และเป็นไปได้ แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย การให้ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้นำในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารขยะ การสร้างเครือข่ายหน่วยงานในการจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อให้ธนาคารขยะมีอำนาจในการต่อรองที่เข้มแข็งในเรื่องราคาขยะจากสถานรับซื้อขยะรีไซเคิล การจัดตั้งธนาคารขยะโดยให้ อบต.เป็นสถานที่ตั้งธนาคารขยะ การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่กับธนาคารขยะ การประชาสัมพันธ์จากเสียงตามสายให้คนในชุมชนได้ทราบข้อมูลข่าวสารถึงประโยชน์ หรือผลตอบแทนที่จะได้รับจากการเข้าร่วมธนาคารขยะมากกว่าจากซาเล้ง การทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิลสามัคคีในชุมชน การจัดสรรตารางเวลารับฝากขยะตามหมู่บ้านโดยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานจะไปรับฝากขยะถึงหมู่บ้าน การประชาสัมพันธ์ด้วยเสียงตามสายถึงปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน และขอความร่วมมือจากคนในชุมชนทุกคนในการเข้ารวมธนาคารขยะThe purposes of this study were to study opinions of elderly people and factors affecting the setup and management of waste bank project for elderly people. Reviews of relevant literatures, waste bank case studies, interviews to chief executive of Rachsathite Sub-district administration organization (SAO), related SAO staff, community leaders and elderly people were carried out. The potential of the setup waste bank project in the Rachsathite Sub-district and the Feasibility accounting four topics containing economic, culture, management and environment were investigated. Guidelines for community waste bank setup and management for elderly people of Rachsathite Sub-district by the TOWS Matrix analysis were concluded. The results from interviews showed that the elderly and people in community have good behavior on waste separation that is the key successful factor for a waste bank. Factors affecting the setup of the waste bank are the participation, knowledge, management and motivation and the feasibility of the setup waste bank project were found high. Guidelines for community waste Bank setup and management by elderly people include that the elderly should be a leader joining the waste bank, there should be networks to establish a waste bank and SAO is a suitable place to setup a waste bank. In addition, it requires a learning center with waste bank to promote people in the community to know about revenue from waste bank which is higher than from saleng making. Moreover, there should be activities related to merits from waste in community. There should also be a schedule to collect waste in the community by SAO staff and to promote people in the community to know about problems of waste in community and then invite to them to join the waste bank.183 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)e-Thesisธนาคารขยะรีไซเคิลขยะรีไซเคิลผู้สูงอายุการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชนการมีส่วนร่วมการกำจัดขยะ -- ไทย -- อ่างทองการนำกลับมาใช้ใหม่ -- ไทย -- อ่างทองขยะ -- การนำกลับมาใช้ใหม่แนวทางการจัดตั้ง และการบริหารจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุ ตำบลราชสถิตย์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทองGuideline for community waste bank establishment and management by elderly: Case study of Rachsathite Sub-District, Chaiyo district Angthong provincetext--thesis--master thesis