สุนทร มณีสวัสดิ์จุไรรัตน์ ทองทรัพย์2021-11-192021-11-192016b194328https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5311วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมสมัยใหม่ คือ การให้เอกชนดำเนินกิจกรรม ทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรีและต้องการจำกัดอำนาจรัฐในทางเศรษฐกิจ กิจการใดที่เอกชนสามารถ ประกอบการได้รัฐต้องให้เอกชนเป็นผู้ประกอบการ รัฐจะทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบการหรือลงทุน ในกิจการที่เอกชนไม่สามารถทำได้หรือไม่เต็มใจที่จะรับภาระ รวมทั้งกิจการที่เป็นการรักษา ประโยชน์สาธารณะเท่านั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองแนวความคิดทางเศรษฐกิจ แบบเสรีนิยมสมัยใหม่ไว้อย่างชัดเจน โดยห้ามมิให้รัฐประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับ เอกชนเว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค ทำให้ในระบบตลาดมีภาครัฐและเอกชนประกอบการทางเศรษฐกิจ เคียงคู่กัน แต่รัฐจะประกอบการได้เพียงใดแค่ไหนและอย่างไรที่จะไม่กระทบต่อเสรีภาพในการ ประกอบการและการแข่งขันเสรีที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ การวิจัยนี้จึงได้ศึกษาขอบเขตของวิสาหกิจ มหาชนกรณีที่ต้องแข่งขันกับเอกชนผ่านกรณีของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการ ด้านปิโตรเลียมแบบครบวงจร จากการศึกษาพบว่า ขอบเขตของวิสาหกิจมหาชนกรณีที่ต้องแข่งขันกับเอกชน มีความแตกต่างกันไปตามประเภทภารกิจของรัฐ คือ ภารกิจในการรักษาความมั่นคงหรือปลอดภัย ของรัฐและประชาชนอันเป็นภารกิจพื้นฐานของรัฐเป็นภารกิจผูกขาดที่ต้องกระทำโดยรัฐ รัฐไม่อาจมอบหมายไปยังเอกชนโดยไม่มีการควบคุมจากรัฐได้ แต่ภารกิจด้านสาธารณูปโภคอันเป็นภารกิจรอง ของรัฐ โดยหลักการแล้วรัฐอาจจัดตั้งวิสาหกิจมหาชนเป็นผู้ประกอบการหรือเอกชน จะเป็นผู้ประกอบการก็ได้ แต่กิจการใดที่เอกชนสามารถประกอบการได้และมีแข่งขันเสรีในตลาด รัฐควรปล่อยให้เอกชนเป็นผู้ประกอบการ รัฐไม่ควรประกอบการแข่งขันกับเอกชน นอกเสียจากกิจการสาธารณูปโภคนั้นมีลักษณะเป็นการสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงหรือความปลอดภัย ของรัฐและประชาชน แม้มีเอกชนประกอบกิจการอยู่แล้วรัฐก็สามารถประกอบการทางเศรษฐกิจ ประเภทนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้ภารกิจพื้นฐานของรัฐสำเร็จลุล่วงไปได้ อย่างไรก็ตามโดยหลักการแล้ว การประกอบการของวิสาหกิจมหาชนย่อมต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับเอกชน เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้เท่านั้นนอกจากนี้ การจัดตั้งและการประกอบการของวิสาหกิจมหาชนจะต้องอยู่ภายใต้หลักการ พื้นฐานในการใช้อำนาจของรัฐทางเศรษฐกิจ หากการจัดตั้งและการประกอบกิจการของวิสาหกิจ มหาชนไม่สอดคล้องกับภารกิจของรัฐและหลักการพื้นฐานในการใช้อำนาจของรัฐทางเศรษฐกิจ ย่อมเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ และหากเอกชนได้รับความเสียหาย เอกชนมีสิทธิขอให้ศาลพิพากษา ว่าการกระทำนั้นมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพหรือประโยชน์อันชอบธรรมของตนได้ และหรือขอให้ บังคับให้ฝ่ายปกครองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตน แล้วแต่กรณี116 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)วิสาหกิจมหาชนบริษัท ปตท.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยบริการสาธารณะการพัฒนาเศรษฐกิจ -- แง่กฎหมายขอบเขตของวิสาหกิจมหาชนกรณีที่ต้องแข่งขันกับเอกชน ศึกษากรณี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)Scopes of public enterprises in competition with private enterprises; case study: PTT Public Co., Ltd.text--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2016.232