ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษานิติยา หลานไทย2014-05-052014-05-051988http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1113วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2531.การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของบรรยากาศองค์การ ทั้งรวมมิติและแยกมิติที่มีต่อความพอใจในการทำงานอาจารย์วิทยาลัยพลศึกษาและอาจารย์วิทยาลัยครู รวมทั้งเปรียบเทียบระดับของความพอใจในการทำงานด้วย โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงสำรวจประเภทตัดขวาง ประชากรสำหรับการวิจัย คือ อาจารย์ประจำที่มีตำแหน่งอัตราเงินเดือนในวิทยาลัยพลศึกษาและวิทยาลัยครูสามจังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง และเพชรบูรณ์ โดยไม่นับรวมอาจารย์ที่มาช่วยราชการหรือไปช่วยราชการที่วิทยาลัยอื่น รวมจำนวนทั้งสิ้น 553 คน ผู้วิจัยทำการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างขนาด 300 ตัวการ ซึ่งมีสัดส่วนที่สอดคล้องกับขนาดของประชากรในแต่ละวิทยาลัย ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้ทดสอบความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของมาตรวัดความพอใจในการทำงานและมาตรวัดบรรยากาศองค์การแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลได้ทดสอบฐานคติพาราเมตริกก่อนจะประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่ายและเชิงพหุ รวมทั้งการทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า บรรยากาศองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์กับความพอใจในการทำงาน โดยที่ประชากรมีระดับความพอใจในการทำงานแตกต่างกัน ซึ่งผู้วิจัยได้แสดงรายละเอียดไว้ในบทที่ 5 การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะปรากฏอยู่ในบทที่ 6 ของรายงานนี้[ก]-ฑ, [199] แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)อาจารย์HF 5549.5 .J63 น34ความพอใจในการทำงาน -- ไทยองค์การวิทยาลัยครูความพอใจในการทำงานของอาจารย์ในวิทยาลัยพลศึกษาและวิทยาลัยครูในสามจังหวัดภาคเหนือtext--thesis--master thesis