วริยา ล้ำเลิศกำภู วงศ์กาวี2022-05-202022-05-202015b192134https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5798วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงหลักการดําเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวน โดยเฉพาะคดีที่อยู่ในอํานาจของศาลแขวง ซึ่งโดยหลักแล้วต้องดําเนินคดีด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม แต่ต้องคํานึงถึงการให้ระยะเวลาเตรียมคดีพอสมควร รวมถึงสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ และความเท่าเทียมกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิทธิทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิทธิที่ผู้ต้องหาพึงจะต้อง ได้รับความคุ้มครองเพราะเป็นผู้ถูกจํากัดสิทธิโดยตรงจากรัฐ และสิทธิทั้งหลายเหล่านี้เป็นหลักสากลที่ นานาอารยประเทศยอมรับและยึดถือตลอดมา โดยในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 และอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1950 ก็ได้ยอมรับ หลักการดังกล่าว โดยมีประเทศต่างๆ อาทิเช่น ประเทศเยอรมัน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศไทย ก็ต่างยอมรับหลักการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพบว่า การดําเนินคดีอาญาในชั้นสอบสวนในคดีอาญาที่อยู่ในอํานาจของศาล แขวงนั้นที่มุ่งจะให้การดําเนินคดีอาญาเป็นไปด้วยความรวดเร็วตามที่ได้ปรากฏในพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2556 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 แต่การแก้ไขใหม่ นี้ยังมิได้มีความเหมาะสมกับระบบการสอบสวนในประเทศไทยเท่าที่ควรโดยเฉพาะในมาตรา 7 ซึ่ง ระบบการสอบสวนของประเทศไทยยังมีความแตกต่างจากต่างประเทศพอสมควร อีกทั้งยังมีปัญหาใน การขออนุญาตฟ้องเมื่อพ้นระยะเวลาฟ้องคดีซึ่งกระทบต่อระยะเวลาในการดําเนินคดีในมาตรา 9 การ ฟ้องคดีด้วยวาจาในมาตรา 20 และการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวโดยศาล ทั้งหมดเหล่านี้ยังคงเป็น ปัญหามิได้ทําให้การสอบสวนเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม รวมถึงคุ้มครองสิทธิและ ความเท่าเทียมกันเท่าที่ควร ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียนจึงมีความเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2556 ให้มีความเหมาะสมกับระบบการสอบสวนในประเทศไทย รวมถึงหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตฟ้องคดีเมื่อพ้นระยะเวลาฟ้องคดี การฟ้องคดีด้วยวาจาที่มีความบกพร่องบางประการทําให้คดีไม่เป็นไปด้วยความรวดเร็วตามน่าจะเป็นและการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวโดยศาลที่ยังมีปัญหาในเรื่องความเท่าเทียมกันของคนในสังคม155 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)ผู้ต้องหาคดีอาญาสิทธิผู้ต้องหา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับการสอบสวนคดีอาญาวิธีพิจารณาความอาญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน : ศึกษาเฉพาะกรณีคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงRight of the suspect during inquiry : A study of Criminal Case of District Courttext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2015.223