สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์เอกกมล อ่อนศรี2014-05-052014-05-052001b110233http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/717Methodology: Hierarchical regression analysisวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2544การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) แบบแผนของเครือข่ายองค์กรชุมชนและจัดระดับความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรชุมชน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย ตลอดจนสภาพปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรชุมชน 3) การพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายองค์กรชุมชน และ 4) ความสัมพัมพันธ์ระหว่างการมีเครือข่ายของกลุ่มหรือองค์กรชุมชนกับความเข้มแข็งของกลุ่มหรือองค์กรชุมชนในเขตจังหวัดลพบุรี พิษณุโลก นครศรีธรรมราชและชัยภูมิ ระเบียบวิธีการวิจัยครั้งนี้ ใช้ทั้งในเชิงปริมาณด้วยการวิจัยแบบสำรวจโดยใช้เทคนิค การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น การวิเคราะห์เส้นทาง และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์เจาะลึก ผลการศึกษา พบว่า มีกลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่มีความร่วมมือแบบเครือข่ายประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยมีแบบแผนของความร่วมมือแบบเครือข่าย เริ่มจากลุ่มหรือองค์กรชุมชนมีการติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน และจะพัฒนาไปเป็นความร่วมมือแบบเครือข่ายได้เมื่อมีวัตถุประสงค์ติดต่อที่ชัดเจนขึ้น เช่น ร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหา ร่วมมือเพื่อการต่อรองกับภาครัฐหรือเอกชน มีการจัดประชุมร่วมกัน โดยลักษณะของเครือข่ายที่เข้มแข็งนั้นจะต้องเป็นเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้ รวมทั้งได้รับการยอมรับจากองค์กรภายนอกด้วย การที่จะทำให้เครือข่ายเข้มแข็งได้นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของเครือข่าย ความสามารถของแม่ข่ายหรือแกนนำ ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเครือข่าย และการพัฒนาเครือข่าย โดยทั้ง 4 ปัจจัยสามารถอธิบายความผันแปรของระดับความเข้มแข็งของเครือข่ายได้ร้อยละ 77.1 ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายนั้นเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับผู้นำเครือข่าย ระบบการจัดการภายในเครือข่าย กิจกรรมของเครือข่าย การพบปะสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่าย การกระจายข่าวสารข้อมูลต่างๆ ภายในเครือข่าย รวมถึงเงินทุนที่นำมาใช้ในเครือข่าย การพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายจำเป็นจะต้องปรับปรุงและพัฒนาในส่วนเหล่านี้โดยเฉพาะการพัฒนาผู้นำเครือข่ายซึ่งในที่นี้รวม ทั้งผู้ที่เป็นแม่ข่าย แกนนำ กรรมการบริหารหรือข่ายไปจนถึงผู้นำแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ยังพบว่าการที่ทำให้กลุ่มหรือองค์กรชุมชนมีความเข้มแข็งได้นั้นไม่ควรจะหวังเพียงแต่ว่ามีเครือข่ายแล้วจะทำให้กลุ่มเข้มแข็ง เพราะกลุ่มจะเข้มแข็งได้ต่อเมื่อได้ร่วมกับเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง ด้วยเหตุที่ว่าเครือข่ายที่เข้มแข็งนั้นจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกเครือข่าย อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มหรือองค์กรชุมชนได้177 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)เครือข่ายองค์กรชุมชนองค์กรชุมชน -- ไทยการพัฒนาชุมชน -- ไทยการมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม -- ไทยปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรชุมชนFactors affecting the empowerment of community-organization networkstext--thesis--master thesis