วิสาขา ภู่จินดา, อาจารย์ที่ปรึกษาปวีนา หีมโหด2014-05-052014-05-052013http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2057วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,การวิจัยเรื่องแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายพลังงานสีเขียวในประเทศไทย มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของพลังงานสีเขียว และการวิเคราะห์ดานนโยบายพลังงานสีเขียวในประเทศไทยศึกษาประสิทธิผลของการนานโยบายพลังงานสี เขียวมาใช้เพื่อลดปริมาณก๊าซ เรือนกระจกในประเทศไทยรวมทั้งแนวทางและข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการตามนโยบาย พลังงานสีเขียวในประเทศไทยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายพลังงานสีเขียวในประเทศไทยจากหน่วยงานภาครัฐจำนวน 10 ท่าน และจากองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐจำนวน 2 ท่าน โดย การนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาทำการวิเคราะห์โดยใช้ SWOT Analysis เพื่อหาแนวทางในการปฏิบติตามนโยบายพลังงานสีเขียวในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า นโยบายพลังงานสีเขียวของประเทศไทยเป็นนโยบายที่ส่งเสริมการ พัฒนาพลังงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์พลังงานน้ำ และชีวมวล การพัฒนาพลังงานสีเขียวในประเทศไทยมีแหล่ง พลังงานสีเขียวที่มีศักยภาพเหมาะแก่การนำมาใช้งาน และยังเป็นการเพิ่มทางเลือกด้านพลังงานให้กับประเทศอีกด้วยพลังงานสีเขียวมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศดีขึ้น แทนการนำเข้าเชื้อเพลิงกลุ่มพลังงานฟอสซิล ผลิตผลทางการเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์ได้ มากขึ้นในแง่ต่างๆ ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นการลดมลพิษต่างๆ ที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ด้านสังคม เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนหรือเอกชนสามารถใช้ พลังงานสีเขียวอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคได้ทางด้านความคุ้มค่าของงบประมาณที่ นำมาใช้ในการดำเนินการด้านพลังงานสีเขียวนั้น พลังงานแสงอาทิตย์เป็ นพลังงานที่จากการศึกษา พบว่า ปัจจุบนยังไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนสำหรับประเทศไทยเนื่องจากปริมาณพลังงานที่ผลิตได้กับมูลค่าของการลงทุนยังไม่สอดคล้องกันเนื่องจากมีการลงทุนในมูลค่าที่สูงทางด้านอุปกรณ์ และเทคโนโลยในการดำเนินการ แนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายพลังงานสีเขียวในประเทศไทยน้ัน จากการศึกษามี 8 แนวทางด้วยกัน คือ 1) การสนับสนุนหรือเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ ดำเนินการตามนโยบายพลังงานสีเขียวของประเทศในทุกขั้นตอน 2) การสนับสนุนและส่งเสริม ด้านองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสีเขียวรวมทั้งเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล 3) การ ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการวิจยในโครงการที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการที่เกี่ยวของกับพลังงานสีเขียวอย่างจริงจัง 4) การสนับสนุนโครงการที่มีการใช้พื้นที่ในการดำเนินการน้อย แต่ให้ ผลประโยชน์มากและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของประชาชน 5) การเพิ่ม ศักยภาพในการพัฒนาด้านกระบวนการในการบริหารจัดการและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับ นโยบายพลังงานสีเขียวใหม่ความสอดคล้องกันในทุกภาคส่วน 6) ส่งเสริมการวิจยด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสีเขียวเพื่อลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ 7) การกำหนดมาตรการในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนโดยภาคัฐ และ 8) การนำกฎหมายมาบังคับใช้ในการดำเนินการด้านพลังงานสีเขียวอย่างจริงจัง เพื่อนํามาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตามนโยบาย พลังงานสีเขียวในประเทศไทย เพื่อลดภาวะมลพิษที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมูลดมูลค่าการนำเข้าพลังงาน และเพื่อความยั่งยั่นด้านพลังงานต่อไปในอนาคต170 แผ่น : ; 30 ซม.application/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)แนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายพลังงานสีเขียวในประเทศไทยGuidelines for the implementation of green energy policy in Thailandtext--thesis--master thesis