สมศักดิ์ สามัคคีธรรมธัชมาศ สุเวช2022-02-282022-02-282020b212365https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5562วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของงานประเพณีชักพระ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี การศึกษาได้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ ผลการวิจัย พบว่า การจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของงานประเพณีชักพระเป็นการสร้างความร่วมมือที่หลากหลาย ได้แก่ ภาคีภาครัฐ ภาคีธุรกิจเอกชน ภาคีองค์การไม่แสวงหาผลกำไร ภาคีสถาบันการศึกษา ภาคีศาสนสถาน และภาคีชุมชน มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน สร้างภาวะการนำสาธารณะ สร้างความพร้อมของทุนชุมชน 4 ด้าน ส่งเสริมการกระจายอำนาจแก่ชุมชน การประสานความร่วมมือระหว่างภาคี การแบ่งหน้าที่กันทำงาน การกำกับติดตามทางอ้อม และเน้นการส่วนร่วมของสาธารณะ เพื่อช่วยให้งานประเพณีชักพระบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทำให้เกิดการหมุนเวียนทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัด และตอบสนองความต้องการของทุกภาคีที่เกี่ยวข้องได้อย่างเท่าเทียมกัน และนำเสนอข้อเสนอแนะในด้านการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง การแบ่งหน้าที่กันทำงานระหว่างภาคี และการเสริมสร้างภาวะการนำสาธารณะThe objectives of this research are to study the model of new public governance in the case of cultural tourism and to study problems and obstacles in new public governance for cultural tourism of Chak Phra Festival in Mueang District, Surat Thani Province. The qualitative research method was used for the study. Data were gathered by means of in-depth interviews and observations. The results of this study revealed that the Chak Phra festival was organized through the participation of and cooperation between various partners – these were a variety of government agencies, private sectors, non-profit organizations, educational institutions, religious organizations and local communities. The organizers, led by provincial administration organization of Surat Thani, formulated common goals, promoted public leadership, supported corporation between sectors - including decentralization as well as allocation of jobs to the local communities, collaboration between the parties, indirect monitoring, and support of public participation - in order to make the festival successful. The festival has promoted the activities of the cultural tourism of the province. It led to the collaboration between various partners, generation of local economy circulation and response to the needs of all sectors equally. Additional recommendations are to participation of the Parties, job assignment and promote public leadership.208 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)e-Thesisการจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่งานประเพณีชักพระการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณึศึกษางานประเพณีชักพระ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีNew public governance for cultural tourism : a case study of Chak Phra Festival In Mueang District Suratthani Provincetext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2020.83