อมรรัตน์ อภินันท์มหกุลศิริพร แซ่อึ้ง2019-04-252019-04-252018b204524http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4384วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561ประเทศไทยได้ใช้ภาษีเงินได้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเรียกเก็บจากความสามารถในการชำระภาษีของบุคคล ผู้ที่มีรายได้สูงย่อมต้องชำระภาษีมากกว่าผู้มีรายได้น้อย ดังนั้นโครงสร้างภาษีที่ดีควรมีลักษณะอัตราภาษีแบบก้าวหน้า ทั้งนี้เมื่อพิจารณาอัตราภาษีตามกฎหมายในประเทศไทยพบว่า มีลักษณะอัตราภาษีก้าวหน้าแต่อัตราภาษีที่แท้จริงกลับมีความก้าวหน้าน้อยกว่า และการที่มีจำนวนผู้เสียภาษีหรือฐานภาษีน้อยจนเกินไป ประกอบกับการยกเว้นรายได้ที่เด่นชัด อาทิ รายได้ของเกษตรกรที่ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจจะทำให้การเก็บภาษีเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงและไม่เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี อีกทั้งการที่มีค่าลดหย่อนทางภาษีที่มากจนเกินไปก็อาจส่งผลให้การใช้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ไม่บรรลุผล ดังนั้น การศึกษาเรื่อง “ผลของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อการกระจายรายได้” ในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์โครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนทางภาษี ฐานภาษีและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อการกระจายรายได้ โดยการศึกษาในครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉลี่ยแยกตามขั้นเงินได้พึงประเมินจากกรมสรรพากร และข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งใช้แนวคิดทฤษฎีของเส้นลอเรนซ์ (Lorenz curve) ในการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์จีนี (GINI Coefficient) โดยแบ่งลักษณะของรายได้ที่นำมาพิจารณาการกระจายรายได้ไว้ 3 ลักษณะ คือ รายได้ฐานภาษี รายได้ฐานภาษีหลังหักภาษี และรายได้สุทธิหลังหักภาษี การวิเคราะห์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมต่อการกระจายรายได้ในประเทศไทย ปี 2550, 2552  และ2558 แบ่งตามกรณีที่ทำการศึกษา ได้แก่ กรณีที่ 1 จำนวนผู้เสียภาษีเท่ากับจำนวนผู้ยื่นเสียภาษีจริงแก่ข้อมูลกรมสรรพากรเป็นการพิจารณาโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการใช้สิทธิค่าลดหย่อนทางภาษีต่อการกระจายรายได้ กรณีที่ 2 ขยายฐานภาษี โดยให้บุคคลทุกคนที่เป็นไปตามเกณฑ์ต้องเสียภาษี จะพิจารณาถึงฐานภาษีต่อการกระจายรายได้ กรณีที่ 3 เมื่อให้เกษตรกรเข้ามาในระบบเพื่อเสียภาษี จะพิจารณาถึงการขยายฐานภาษีบางส่วน โดยการนำเกษตรกรผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เข้ามาในระบบเพื่อเสียภาษีว่ามีผลอย่างไรต่อการกระจายรายได้ กรณีที่ 4 ขยายฐานภาษี โดยให้บุคคลที่เป็นไปตามเกณฑ์และเกษตรกรทุกคนเข้ามาในระบบ เพื่อเสียภาษี เป็นการพิจารณาการขยายฐานภาษีทั้งหมดของประเทศไทย และสุดท้ายจะเป็นการพิจารณาภาพรวม โดยมีผลการศึกษาดังนี้ กรณีที่ 1 มีลักษณะของการกระจายรายได้มีความสอดคล้องกันในข้อมูลกรมสรรพากรกับข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) กระจายรายได้ดีขึ้นมากเมื่อมีการจัดเก็บภาษี แต่เมื่อให้สิทธิค่าลดหย่อนทางภาษีกลับทำให้การกระจายรายได้แย่ลง เพราะผู้มีรายได้มากสามารถหักลดหย่อนภาษีได้มากกว่าผู้มีรายได้น้อย แต่ทั้งนี้การกระจายรายได้ในข้อมูลของกรมสรรพากรดีกว่าการกระจายรายได้จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES)  เนื่องจากข้อมูลกรมสรรพากรมีลักษณะเป็นเพียงค่าเฉลี่ยไม่ใช่รายได้พึงประเมินที่แท้จริงของผู้เสียภาษี กรณีที่ 2 การขยายฐานภาษีจะส่งผลให้การกระจายรายได้ดีขึ้นอย่างมาก เพราะมีความแตกต่างของค่าสัมประสิทธิ์จีนีระหว่างรายได้ฐานภาษีกับรายได้ฐานภาษีหลังหักภาษีเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีการขยายฐานภาษี และเมื่อมีการใช้สิทธิค่าลดหย่อนทางภาษี จะส่งผลให้การกระจายรายได้แย่ลงเมื่อเทียบกับการที่จัดเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว กรณีที่ 3 ก่อนการจัดเก็บภาษีจะส่งผลให้การกระจายรายได้แย่ลงหากเทียบกับการไม่นำเกษตรกรเข้ามาในระบบ สาเหตุมาจากภายในอาชีพเกษตรกรมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ค่อนข้างสูง ทั้งนี้เมื่อมีการจัดเก็บภาษีการกระจายรายได้จะดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งการกระจายรายได้มีความใกล้เคียงกับการจัดเก็บภาษีในกรณีที่ไม่มีเกษตรกร และการกระจายรายได้แย่ลงเล็กน้อยเมื่อมีการใช้สิทธิค่าลดหย่อนทางภาษี กรณีที่ 4 สามารถช่วยแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การจัดเก็บภาษีจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนทุกคน แต่เมื่อให้สิทธิค่าลดหย่อนทางภาษีทำให้การกระจายรายได้แย่ลงเล็กน้อย ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกับทุกกรณีข้างต้น สุดท้ายการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อการกระจายรายได้ ในปี 2558 มีการกระจายรายได้แย่ที่สุดโดยเปรียบเทียบกับทุก ๆ ปีที่ทำการศึกษา เนื่องจากมีการลดอัตราภาษีตามกฎหมาย ทำให้ผู้มีรายได้มากเสียภาษีในอัตราที่ลดลงและจำนวนของรายการค่าลดหย่อนทางภาษีที่เพิ่มขึ้นกว่าปีอื่น ๆ โดยปีที่มีการกระจายรายได้ดีที่สุดโดยเปรียบเทียบ คือ ปี 2550 และกรณีที่มีการขยายฐานภาษีพร้อมทั้งจัดเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว ไม่มีการใช้สิทธิค่าลดหย่อนทางภาษี จะมีส่วนช่วยให้การกระจายรายได้ดีขึ้นกว่าโดยเปรียบเทียบในทุก ๆ กรณีTaxation is used as a tool to solve income disparity in Thailand. The personal income tax, which levies on the person's ability to pay taxes. Therefore, high income earners will have higher taxes burden higher than their lower income counterpart. A good income tax structure should be progressive. Although the legal rates in Thailand is progressive, its effective rate is not. Furthermore, the tax base is too narrow which cause further unfairness according to the principles of ability to pay. In addition, there are too many tax exceptions and tax deductions, for example, farmers are exempted from tax liability. This may result in an ineffectiveness of using of tax as an instrument for income redistribution. The objective of this study is to analyze the effects on the income distribution due to the personal income tax structure, the allowances to deduction, tax base and the change in the personal income tax rate. This study uses secondary data, that is the average income of tax player summarized from the data of Revenue Department and the Socio-Economic Survey (SES) of Households from the National Statistical Office (NSO). Using the Lorenz curve theory to calculate the GINI Coefficient, the three types of income distribution are considered: income tax base, income tax base after tax and net income after tax. The results of personal income tax on income distribution in Thailand in 2007, 2009 and 2015 are categorized according to case study as follows: I) Allows the number of taxpayers equal to the data of Revenue Department, so as to consider the personal income tax structure and the use of tax deduction on income distribution. II) Extends the tax base by requiring all workers who meet the Revenue Department’s criteria to pay tax in order to consider an extending of tax base on income distribution. III) Includes farmers to the income tax system to see how farmers’ income might affect the distribution of income. IV) Expands the tax base by include all workers and all farmers into the tax system, to analyze the full landscape of tax base. And finally, a comparison of the four cases are presented so as to discuss the changes in personal income tax structure on Thailand income distribution. The results are as follows: I) The distribution of income is much better when taxes are collected, but when tax deduction is applied, the distribution of income is worsened. Because people with high income can deduct more tax than their low income counterparts. II) Expanding the tax base resulted in a better income distribution. There were significant differences in the Gini coefficients between before and after the tax base expansion. However, when the tax deduction is applied. It resulted to a poorer income distribution. III) Since the farmer's income gap is very high. The revenue distribution hence improved greatly with taxed, and the income distribution slightly worsened when the tax deduction is applied. IV). The study found that extending the tax base to include all workers and farmers provided a fair treatment to all citizens and the lowest GINI coefficent, although tax deductions worsen the income distribution slightly. The results were consistent with all other cases mentioned before. Finally, the analysis of changes in personal income tax structure on income distribution. The results were identical. That is, year 2015 had the worst income distribution compared to year 2007 and 2009 respectively. Due to a decline in the legal tax rate that make the rich better off, and an increase in the number of tax deduction items over time. Therefore, the best year for revenue distribution is 2007. And the case when the tax base is extended, with no tax reduction. It helped to improve revenue distribute better than in other cases.110 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)e-Thesisค่าสัมประสิทธิ์จีนีรายได้ฐานภาษีค่าลดหย่อนทางภาษีรายได้ภาษีเงินได้ -- การหักลดหย่อนผลของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อการกระจายรายได้Effect of personal income tax on income distributiontext--thesis--master thesis