พัชรวรรณ นุชประยูรธนพล ปัญญาสาร2022-11-072022-11-072017b198269https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6051วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษหลักกณฑ์เกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐจากการลงโทษทางวินัยร้ายแรงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ และศึกษาว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรจะกำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการเยียวยา ความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างไร ทั้งนี้การกำหนดหลักเกณฑ์หรือกระบวนการ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกลงโทษ อีกทั้งยังจะเป็น ประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคลภายในหน่วยงานของรัฐและประเทศชาติโดยรวมต่อไป โดยวิธีการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการศึกษาแนวความคิดพื้นฐานและ ทฤษฎีเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองและการเยียวยาความเสียหาย ส่วนที่ สองเป็นการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการเยียวยาความสียหายจากการลงโทษทางวินัยโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายระหว่างกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ ทั้งในส่วนของหน่วยงานของรัฐและศาล ปกครอง เพื่อศึกษาว่าในต่างประเทศมีการกำหนดหลักเกณฑ์และกฎหมายในการเยียวยาความเสียหาย ไว้อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกลงลงโทษทางวินัยร้ายแรงโดยคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้นั้นย่อมได้รับความเสียหาย ทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงินหรือเสียสิทธิอย่างหนึ่ง อย่างใด ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น จึงเกิดปัญหาว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น แล้วจะเยี่ยวยาความเสียหายอย่างไร ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะหรือกฎระเบียบที่กำหนดวิธีการ และรายละเอียดเกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรง โดยคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้อย่างชัดเจน เนื่องจากหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่นั้นครอบคลุมแต่เฉพาะ ในกรณีที่มีคำสั่งพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเท่านั้น เช่น มาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติ ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ในกรณีของข้าราชการตำรวจ ทำให้รัฐไม่สามารถสร้างหลักประกันความ เป็นธรรมที่มีความแน่นอนชัดเจนให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ นอกจากนั้น ยังพบว่ามีปัญหาอีกหลาย ประการ เช่น การเลือกปฏิบัติโดยไม่ป็นธรรมและการเยียวยาความเสียหายที่มีลักษณะเป็นการเยียวยา ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรงโดยคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นรายกรณีไป เป็นต้น ซึ่งบทบัญญัติกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวนี้ คงมีเพียงร่างระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้อุทธรณ์และผู้ร้องทุกข์เท่านั้น ทั้งนี้ แนวทางการเยียวยาความเสียหายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกลงโทษทางวินัยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในประเทศฝรั่งเศส และเยอรมันต่างก็มีหลักการเดียวกัน คือ ให้ผู้ถูกลงโทษได้กลับคืนสู่สถานะเดิมหรือใกล้เคียงสถานะ เดิมมากที่สุด โดยการกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ดังนั้น การที่จะเยียวยาความเสียหายให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรงโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากจะนำการเยียวยาความเสียหายของต่างประเทศมาเป็นแนวทางแล้ว ยัง ต้องคำนึงถึงสิทธิที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกลงโทษควรได้รับก่อนที่บุคคลดังกล่าวจะถูกลงโทษ รวมไปถึง การมีกฎหมายรองรับในเรื่องนั้น ๆ ด้วย จึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ 1. การตรากฎหมาย กลางที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกลงโทษทางวินัย ร้ายแรงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเป็นผู้มีสิทธิได้รับการเยียวยาความเสียหาย, สิทธิประโยชน์หรือค่ชดเขยต่าง ๆ ที่ควรกำหนดให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกลงโทษ ซึ่งจะต้องมีความ แน่นอนชัดเจน 2. คณะกรรมการข้าราชการตำรวจควรดำเนินการออกกฎ ก.ตร. เพื่อแก้ไขปัญหาใน การดำเนินการเยียวยาความเสียหายแก่ข้าราชการตำรวจผู้ถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรงโดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย211 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลประจำปี 2561วิทยานิพนธ์ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์รางวัลดีคำสั่งทางปกครองการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองวินัยตำรวจการเยียวยาความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐจากการลงโทษทางวินัยร้ายแรงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ศึกษากรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติThe remedy for damaged to government officials who were punished by serious indiscipline: Royal Thai Policetext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2017.68