พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติกนกวรรณ ชูชีพ2014-05-052014-05-052008b164276http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1122วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสํารวจสุ่มตัวอย่าง (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทํางานของ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อนําผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทาง และข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ วันที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัย ต่างๆ ได้แก่ปัจจัยคาตอบแทน ปัจจัยการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ปัจจัย ความกาวหน้าในหน้าที่การงาน ปัจจัยธรรมนูญในองค์การ ปัจจัยความสมดุลระหว่างชีวิตงาน กับชีวิตด้านอิ่น ปัจจัยการบูรณาการทางสังคมหรือการทํางานร่วมกัน ปัจจัยสภาพแวดล้อมใน การทํางาน และปัจจัยความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม และส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกยวก ความต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐ กลุมตัวอย่าง จังหวัด ๆ ละ 120 คน รวมทั้งสิ้น 600 คน จากประชากร คือ ข้าราชการฝ่าย พลเรือนที่ทํางานในพื้นที่เขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนิยามของรัฐบาล ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่ (อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย อ.นาทวี และ อ.จะนะ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความแตกตางของร้อยละ สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1. ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเห็นเกยวกบคุณภาพ ชีวิตการทํางานของตนเองในปัจจัยด้านต่าง ๆ ในระดับที่พึงพอใจ เกินร้อยละ 50 จํานวน 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยความสัมพันธ์กบหน่วยงานภายนอก ร้อยละ 89.3 รองลงมาคือ ปัจจัยการบูรณาการทางสังคมและการทํางานร่วมกัน ร้อยละ 83.8 ปัจจัยธรรมนูญในองค์การ ร้อยละ 78.0 ปัจจัย สภาพแวดล้อมในการทํางาน ร้อยละ 72.8 ปัจจัยความสมดุลระหวางชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น ร้อยละ 71.3 ปัจจัยการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ร้อยละ 70.2 ปัจจัยความกาวหน้า ในหน้าที่การงาน ร้อยละ 58.4 ตามลําดับ และไม่พึงพอใจ จํานวน 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยคาตอบแทน ร้อยละ 48.8 2. ความต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐ จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่ ข้าราชการเหล่านี้ต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ อันดับที่ 14 มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ ด้านสวัสดิการพิเศษเรื่องการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงหรือเบี้ยเสี้ยงภัย รองลงมาคือ เรื่องอุปกรณ์ป้องกนภัย อันตรายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ด้านการส่งเสริมขวัญกำลังใจเรื่องการกำหนดระยะเวลาใน การโอนย้ายให้มีความชัดเจนและปฏิบัติได้ และให้มีหน่วยงานกลางในการแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม อันดับที่ 5 ความต้องการมาก คือการให้บุคลากรในหน่วยงานได้รับ การฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอยางน้อยปีละครั้ง แนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการที่ ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ 1) ส่งเสริมการใช้หลักนิยมให้ข้าราชการมุ่งไปสูการมีเกียรติและศักดิศรีภายใต้หลักการ ดํารงชีวิตแบบเศรษฐกจพอเพียง ส่งเสริมการออมเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคตอย่างมี ประสิทธิภาพ 2) มีมาตรการที่สร้างความเป็นธรรมและโปร่งใสในการพิจารณาความดีความชอบ มีหลักการประเมินใหม่ที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม 3) การประสานกันระหว่างหน่วยงานหลักใน การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอย่างเท่าเทียมกัน 4) ให้รัฐบาลมีนโยบายที่ให้ความสําคัญกับ เรื่องคุณภาพชีวิตการทํางานอย่างจริงจัง การสร้างกลไก ติดตาม ประเมินผล และให้รางวัล ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ ได้แก่ 1) รัฐต้องจัดสวัสดิการให้แก่ข้าราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ เป็นกรณีพิเศษ 2) รัฐต้องให้การสนับสนุนสงเสริมการศึกษา ฝึกอบรมดูงานในพื้นที่และ นอกพื้นที่ 3) รัฐต้องสามารถให้ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราชการ เพื่อสร้าง ความอุ่นใจและศักยภาพ โดยควรสร้างความสัมพันธ์อันดีกบผู้นําชุมชนและประชาชน 4) ผู้บริหารสวนราชการควรเปลี่ยนกระบวนทัศน์การบริหารใหม่ โดยการให้คนทํางานมีชีวิตที่มี คุณภาพ คือ การมีความสุขกับทํางานและการใช้ชีวิต ตามหลัก “คนคือศูนย์กลางของการพัฒนา” 5) มีความคาดหวังให้รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ ชายแดนภาคใต้ได้โดยเร็ว ซึ่งจะนําความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย คุณภาพชีวิต ตลอดจนคุณภาพชีวิต การทํางานของข้าราชการในพื้นที่ที่ดีขึน164 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)คุณภาพชีวิตการทำงาน -- ไทย (ภาคใต้)ข้าราชการ -- ไทย (ภาคใต้) -- ทัศนคติคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้Quality of work life of the civil servants in the southernmost provinces of Thailandtext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2008.5