พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, อาจารย์ที่ปรึกษาสิรินทิพย์ สิทธิศักดิ์2014-05-052014-05-052011http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2110วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์2 ข้อคือ 1.เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา : กรณีศึกษา เขตภาษีเจริญและเขตบางกอกใหญ่ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา : กรณีศึกษา เขตภาษีเจริญและเขตบางกอกใหญ่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในเขตภาษีเจริญและ เขตบางกอกใหญ่โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ( Multistage Random Sampling) โดยใช้ วิธีจับฉลากเลือกแผนก เลือกห้อง และเลือกหมายเลขประจ าตัวนักเรียน ตามอัตราส่วนจ านวน ประชากร 1:36 ของแต่ละโรงเรียน โดยมีตัวอย่างจ านวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency)ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) t-test F-test และสหสัมพันธ์ Pearson สรุปผลการศึกษา พบว่า 1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-50 ปี ระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา - ปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพส่วนตัว/รับจ้าง มีรายได้ 5,001-10,000 บาท มี ระยะเวลาอยู่ในท้องถิ่น 1-10 ปี 2 ระดับการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การร่วมกิจกรรม การร่วมระดมทรัพยากร การร่วมประเมินผล การร่วมวางแผน อยู่ในระดับปาน กลาง 3 ความสัมพันธ์กับบุคลากรในโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความเชื่อถือในโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความคาดหวังที่จะได้ประโยชน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง และความรู้ความเข้าใจในการบริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อาชีวศึกษา ได้แก่ อายุ ความสัมพันธ์กับบุคลากรในโรงเรียน ความเชื่อถือในโรงเรียน ความ คาดหวังที่จะได้ประโยชน์ ความรู้ความเข้าใจในการบริหาร และปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อยู่ในท้องถิ่น ข้อเสนอแนะ โรงเรียนและบุคลากรของโรงเรียนควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครองโดยเข้าร่วม กิจกรรมต่าง ๆ ของทางชุมชนที่ผู้ปกครองอาศัยอยู่ ช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนสามารถ ท าได้เช่น อนุญาตให้ใช้พื้นที่ของโรงเรียนส าหรับเล่นกีฬา เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยระหว่างโรงเรียน กับผู้ปกครอง 2 โรงเรียนและบุคลากรของโรงเรียนควรสร้างความน่าเชื่อถือโดยรักษาชื่อเสียงของ โรงเรียนทางด้านมาตรฐานการรักษาระดับการให้คะแนน เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเชื่อถือใน มาตรฐานการรักษาระดับการให้คะแนนของโรงเรียน 3 โรงเรียนและบุคลากรของโรงเรียนควรช่วยกันสร้างความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อ โรงเรียนว่าจะได้รับประโยชน์จากเข้ามามีส่วนร่วมให้ประสบผลส าเร็จจริงคือสามารถน ามาปฏิบัติ ในการพัฒนาโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ลูกหลานได้ผลประโยชน์จากการที่เขาสละเวลาเข้ามามี ส่วนร่วมวางแผน ร่วมกิจกรรม ร่วมระดมทรัพยากร ร่วมประเมินผล 4 ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนการศึกษาของโรงเรียน โดยแจกเอกสารให้ผู้ปกครองได้ศึกษาเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทาง การศึกษาของโรงเรียน12, 96 แผ่น ; 30 ซม.application/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)LB 2801 .A1 ส17 2011โรงเรียนอาชีวศึกษา -- การบริหาร -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- บางกอกใหญ่บ้านกับโรงเรียนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา : กรณีศึกษาเขตภาษีเจริญและเขตบางกอกใหญ่Parents' participation in vocational schools administration : a case study of pasicharoen and Bangkokyai Districtstext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2011.53