ประพนธ์ สหพัฒนาจิริทธิ์พล ภูวไชยจีรภัทร2023-02-092023-02-092017b199288https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6301วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยกดดัน (Strain Theory) และปัจจัยการควบคุมตนเอง (Self-control Theory) กับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยกดดันและปัจจัยการควบคุมตนเองที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน และเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-method Approach) โดยศึกษากลุ่ม ตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 800 คน ได้แก่ เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดและอยู่ในความดูแลของศูนย์ ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน 400 คน และ เด็กและเยาวชนที่ไม่ได้กระทำผิดและกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดพื้นที่ ภาคกลาง จำนวน 400 คน และทำการศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นบุคคลที่ทำงาน เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนและมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน จำนวน 11 คน โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามจากเด็กและเยาวชนที่ กระทำผิดและไม่ได้กระทำผิดทั้งสองกลุ่ม และ 2) การวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากเด็กและเยาวชน ที่กระทำผิดและไม่ได้กระทำผิดทั้งสองกลุ่มและทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ อาจารย์ประจำโรงเรียน ผู้พิพากษา ประธานคณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส และนายกราชบัณฑิตยสภา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ในโครงการวิจัยนี้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis) โดยผลการวิจัยได้ปรากฎดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พบว่า ปจัจยักดดนัทม่ีอีทิธพิลต่อการ กระทำความผิดของเด็กและเยาวชนมากที่สุดมาจากปัจจัยกดดันจากครอบครัว รองลงมาคือ ปัจจัยกดดันจากชุมชนและสภาพแวดล้อมทางสังคมและปัจจัยกดดันจากโรงเรียน ส่วนปัจจัยการควบคุมตนเองมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับปัจจัยกดดัน ซึ่งปัจจัยการควบคุมตนเองที่เกิด จากกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัว (Socialization) เป็นตัวสร้างภูมิต้านทานทาง สังคมให้กับเด็กและเยาวชนและทำให้สามารถยับยั้งไม่ให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิด และ จากผลการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า ปัจจัยการควบคุมตนเองในองค์ประกอบความหุนหันพลันแล่น (Impulsive) มีอิทธิพลที่ทำให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิดมากที่สุด เพราะการควบคุมตนเองต่ำมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการกระทำความผิดจากกระบวนการทางความคิดของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด และเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยกหรือ ครอบครัวขาดการอบรมสั่งสอนและไม่ได้ให้การดูแลเอาใจใส่ รวมถึงการเลี้ยงดูที่ผิดวิธีเช่น การ ให้ทรัพย์สินทดแทนการให้ความใกล้ชิด จึงทำให้ความผูกพันที่เด็กมีต่อครอบครัวน้อยและเด็ก และเยาวชนมีการคบหากับเพื่อนที่อยู่ในชุมชนและมีการรวมกลุ่มกันกระทำผิด เช่น การรวมกลุ่มกันแข่งรถจักรยานยนต์และเสพยาเสพติด ประกอบกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วโดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีผลทำให้เด็กและเยาวชนเกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ผิด และสภาพแวดล้อมของสังคมที่การซื้อขายยาเสพติดทำได้ง่าย ดังนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่กี่ยวข้องทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญ ในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง208 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)กฎหมาย -- เด็กและเยาวชนเยาวชน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับเยาวชนปัจจัยกดดันและปัจจัยการควบคุมตนเองกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนThe strain factors and self-control factor and juvenile delinquencytext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2017.142