ธนาสัย สุคนธ์พันธุ์จตุรงค์ มไหสวริยะ2023-04-102023-04-102019b211006https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6356วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอวิธีการเลือกรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้าการ์ตูนที่ ใกล้เคียงกับใบหน้าคนในรูปถ่ายเพียงรูปเดียวโดยไม่ต้องพึ่งการตัดสินใจของมนุษย์ วิธีการจะ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการสกัดคุณสมบัติของรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้าคนในรูปถ่าย และขั้นตอนการจำแนกชนิดหรือแบบของแต่ละส่วนประกอบเพื่อน นำไปใช้ คัดเลือกรูปร่างของส่วนประกอบนั้น ๆ บนใบหน้าการ์ตูน ตัวแบบที่ใช้จำแนกถูกสร้างขึ้นจากข้อมูล เรียนรู้ที่ได้จากการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญในการเลือกรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้า การ์ตูนจากรูปถ่ายของบุคคล ผลการทดลองประสิทธิภาพของวิธีที่นำเสนอพบว่า การเลือกรูปร่างคิ้ว ใช้ Centroid Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยโครงข่ายใยประสาท ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูปร่างตาใช้ Cross Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนก โดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูป ร่างโครงหน้า ใช้ Cross Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูปร่างปากใช้ Centroid Vector Angle เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด และ การเลือกรูปร่างจมูก ใช้ Centroid Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดย ต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด จากผลการทดลองพบว่าวิธีการนี้จะยังไม่สามารถทำงานได้เท่าเทียมกับผู้เชี่ยวชาญ แต่สามารถสร้างหน้าตาของการ์ตูนได้ผลดีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายประเภทได้ เช่น การสร้างตัวละครในเกม สื่อสังคมออนไลน์ และอุตสาหกรรมบันเทิงต่าง ๆ87 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)การ์ตูนใบหน้าการเลือกส่วนประกอบบนใบหน้าการ์ตูนแบบอัตโนมัติโดยใช้มุมมองมนุษย์Automatic face composition selection using perception basedtext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2019.98