วราภรณ์ วนาพิทักษ์ธนาพร ก้องวโรดม2019-02-122019-02-122015b190000http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4248วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558การศึกษาเรื่อง การกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท บนอินเทอร์เน็ต มีความมุ่งหมายและมีวัตถุประสงค์ในการที่จะทำการกำหนดหน้าที่ความรับผิดและ หลักเกณฑ์ข้อยกเว้นความรับผิดฐานหมิ่นประมาทให้แก่ผู้ให้บริการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มีการศึกษา และวิเคราะห์ถึงลักษณะรูปแบบ วิธีการ รวมไปถึงประเภทของผู้ให้บริการ ซึ่งการวิเคราะห์ได้ทำการ พูดถึงขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมาย อาญาหรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อเป็นที่เหมาะสมสำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตใน ประเทศไทยต่อไปจากการที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าพบว่า ได้มีการกระทำความผิดในรูปแบบนี้มากขึ้นและยัง ขยายวงกว้างออกไปอีกมากมายแต่กฎหมายที่นำมาบังคับใช้มีความไม่ชัดเจน ซึ่งผู้ให้บริการสามารถ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทโดยแต่ละประเภทมีความสามารถหรือลักษณะการให้บริการที่แตกต่างกัน ออกไป และจากการศึกษากฎหมายของประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพ ยุโรป ประเทศอังกฤษ และประเทศเยอรมนี ก็ได้มีการกำหนดถึงความรับผิดและได้มีการกำหนดถึง ข้อยกเว้นความรับผิดไว้โดยแบ่งแยกตามประเภทของผู้ให้บริการบางประเทศก็กำหนดรวมอยู่ใน มาตราเดียวกันโดยแบ่งเป็นวรรค บางประเทศก็ได้กำหนดแยกเป็นแต่ละมาตราอย่างชัดแจ้ง แต่เกือบ ทุกประเทศได้มีแนวคิดที่สอดคล้องกันว่าผู้ให้บริการด้านเนื้อหาจะต้องรับผิดต่อเนื้อหาข้อมูลที่ตน สร้างขึ้นเสมอ ในทางตรงกันข้ามผู้ให้บริการที่เป็นเพียงตัวกลางไม่จำต้องมาร่วมรับผิดกับเนื้อหาข้อมูล ที่เกิดจากบุคคลที่สาม เว้นแต่ได้รู้หรืออาจได้รู้ถึงข้อมูลที่ผิดกฎหมายแล้วแต่กลับเพิกเฉยไม่ได้ ดำเนินการแก้ไขอย่างใดสำหรับประเทศไทย ได้มีทั้งกฎหมายทั่วไปและกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการกระทำความผิด ฐานหมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน็ตแต่ก็ไม่สามารถที่จะนำข้อกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ทุก กรณีเพราะยังมีปัญหาเรื่ององค์ประกอบความรับผิดอีกทั้งกฎหมายเฉพาะก็ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการ กำหนดความรับผิดที่หมายรวมถึงผู้ให้บริการทุกประเภทต้องรับผิดร่วมกับผู้กระทำผิดที่แท้จริงมิได้ แบ่งความรับผิดออกตามประเภทต่างๆและไม่ได้กำหนดข้อยกเว้นความรับผิดสำหรับผู้ให้บริการที่เป็น เพียงตัวกลางดังนั้นข้อเสนอแนะในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คือ ควรต้องกำหนดภาระหน้าที่หรือความรับผิดให้ ชัดเจนเพื่อที่จะสามารถนำหลักเกณฑ์ทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญามาปรับใช้ได้และควรต้องแก้ไข กฎหมายเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดโดยแยกเป็นแต่ละประเภทรวมถึงการกำหนด ข้อยกเว้นความรับผิดให้แก่ผู้ให้บริการที่เป็นเพียงตัวกลางโดยคำนึงถึงความแตกต่างในการให้บริการ และความเป็นไปได้ในทางกฎหมาย178 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)การหมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน็ตหมิ่นประมาทอินเตอร์เน็ต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับคอมพิวเตอร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับการกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน็ตDefenses to internet defamation of internet service providerstext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2015.231