ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษาพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต2014-05-052014-05-051990http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2127วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาโครงสร้างอำนาจและภาวะความเป็นชนชั้นนำในหมู่บ้านชนบทไทย ซึ่งฐานคติของการศึกษา คือ หมู่บ้านทุกหมู่บ้านในสังคมชนบทไทยต่างก็มีความสัมพันธ์ติดต่อและได้รับผลกระทบจากภายนอกซึ่งได้แก่ ระบบราชการและระบบทุนนิยมด้วยกันทั้งสิ้น แต่จะต่างกันที่ขนาดความรุนแรงมากน้อยของแรงกระทบ หากหมู่บ้านใดที่มีแรงกระทบจากภายนอกน้อย ลักษณะของโครงสร้างอำนาจและภาวะชนชั้นนำย่อมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในหมู่บ้านมากกว่าปัจจัยภายนอก ในทางตรงกันข้ามหมู่บ้านที่มีแรงกระทบจากภายนอกมาก โครงสร้างอำนาจและภาวะชนชั้นนำย่อมผันแปรตามปัจจัยภายนอกมากกว่าปัจจัยภายในหมู่บ้านวิธีการศึกษา การศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ใช้ทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ในเชิงปริมาณนั้น เป็นการศึกษาถึงแหล่งที่มาของอำนาจ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ในเชิงคุณภาพนั้น เป็นการศึกษาชนชั้นนำและโครงสร้างอำนาจโดยการใช้วิธีเครือข่ายสังคม สัมภาษณ์แบบลึก สัมภาษณ์แบบพิสูจน์ข้อเท็จจริง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และในด้านพลวัตของโครงสร้างอำนาจนั้น ใช้วิธีศึกษาประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า จากนั้นนำมาวิเคราะห์โดยอาศัยหลักวิภาษวิธี ระยะเวลาที่ใช้ศึกษา คือ ช่วงเดือนธันวาคม 2531 ถึง พฤศจิกายน 2532.ผลการศึกษา พบว่า แหล่งที่มาของอำนาจกรณีหมู่บ้านดั้งเดิม ชุดตัวแปรปัจจัยภายในที่มีค่าสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีเพียงตัวเดียวคือ จำนวนสมัครพรรคพวกที่เป็นลูกน้อง ชุดปัจจัยสื่อกลางไม่มีตัวแปรใดที่มีค่าสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสำหรับชุดตัวแปรปัจจัยภายนอกนั้นมีตัวแปรสองตัวที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ จำนวนโครงการพัฒนาที่เคยขอสำเร็จด้วยตนเอง และการดำรงตำแหน่งในองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐส่วนหมู่บ้านที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั้นพบว่า ชุดตัวแปรปัจจัยภายในก็มีตัวแปรเพียงตัวเดียวที่มีค่าสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ จำนวนสมัครพรรคพวกที่เป็นลูกน้อง ชุดปัจจัยสื่อกลางไม่มีตัวแปรใดที่มีนัยสำคัญทางสถิติ และชุดตัวแปรภายนอกมีตัวแปรที่มีค่าสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนี้ จำนวนรายได้ต่อปี การดำรงตำแหน่งในองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐ การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง จำนวนข้าราชการที่รู้จักเป็นการส่วนตัว จำนวนนักการเมืองที่รู้จักเป็นการส่วนตัว และจำนวนโครงการพัฒนาที่เคยขอสำเร็จด้วยตนเอง.นอกจากค่าสหสัมพันธ์แล้ว ในส่วนของแหล่งที่มาของอำนาจนี้ยังวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน เพื่อพิจารณาพลังการอธิบายของชุดตัวแปรแต่ละชุดซึ่งพบว่า กรณีหมู่บ้านดั้งเดิมนั้น ชุดตัวแปรปัจจัยภายใน มีตัวแปรที่อธิบายความเป็นชนชั้นนำได้ตัวเดียว คือ จำนวนสมัครพรรคพวกที่เป็นลูกน้อง ชุดตัวแปรสื่อกลางนั้นไม่มีตัวแปรใดที่มีนัยสำคัญในการอธิบาย ส่วนชุดตัวแปรปัจจัยภา ย นอกนั้นปรากฏว่ามีตัวแปรสองตัวที่อธิบายชนชั้นนำได้คือจำนวนโครงการที่เคยขอสำเร็จด้วยตนเอง และการดำรงตำแหน่งในองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐ และในส่วนหมู่บ้านที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั้นชุดตัวแปรปัจจัยภายในที่อธิบายความเป็นชนชั้นนำได้คือตัวแปรจำนวนสมัครพรรคพวกที่เป็นลูกน้อง ชุดตัวแปรปัจจัยสื่อกลางมีตัวแปรสองตัวที่อธิบายได้คือ ลักษณะอาชีพที่ทำรายได้หลักและการรับข่าวสาร และสำหรับชุดปัจจัยภายนอกนั้นปรากฏว่ามีตัวแปรที่อธิบายความเป็นชนชั้นนำได้ 3 ตัวแปรคือ จำนวนรายได้ต่อปี จำนวนพ่อค้าที่ทำธุรกิจด้วยกัน และจำนวนโครงการพัฒนาที่เคยขอได้สำเร็จด้วยตนเอง.นอกจากนี้ข้อค้นพบในด้านโครงสร้างอำนาจและพลวัตของโครงสร้างอำนาจ พบว่ากรณีหมู่บ้านดั้งเดิมนั้น โครงสร้างอำนาจในองค์รวมมีลักษณะที่เกิดจากการปะทะประสานของโครงสร้างอำนาจแบบเครือญาติ แบบอุปถัมภ์ และฝักฝ่าย โดยมีลักษณะพลวัตที่เริ่มต้นจากโครงสร้างอำนาจแบบเครือญาติ ซึ่งมีการกระจายอำนาจของหัวหน้ากลุ่มตระกูลต่าง ๆ ในชุมชน จากนั้นก็เริ่มผันแปรมาสู่ลักษณะอำนาจเชิงอุปถัมภ์ อันเป็นความสัมพันธ์ในแนวตั้งระหว่างผู้นำกับลูกน้อง และเมื่ออำนาจรัฐเข้าไปแทรกแซงในหมู่บ้านก็ได้มีการก่อรูปของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ระหว่างข้าราชการกับชาวบ้านขึ้นมา ความผันแปรของโครงสร้างอำนาจมิได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เมื่อเงินตราเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนกับชาวบ้านก็ก่อรูป ในเชิงอุปถัมภ์ขึ้นมาภายใต้การขูดรีดนอกระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นอกจากนี้ภาพของความสัมพันธ์ภายในหมู่บ้านมิได้มีความเป็นเนื้อเดียวกันอย่างที่เข้าใจในอดีต ในทางตรงกันข้ามกลับมีการแก่งแย่งและช่วงชิงสิ่งที่มีคุณค่าในหมู่บ้านอยู่เสมอ ๆ และทำให้เกิดการก่อตัวเป็นกลุ่มฝักฝ่ายภายในหมู่บ้านขึ้นมา.ส่วนกรณีหมู่บ้านที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั้น โครงสร้างอำนาจมีลักษณะปะทะประสานกันระหว่างโครงสร้างอำนาจแบบอุปถัมภ์ แบบชนชั้น และฝักฝ่าย โดยพลวัตของโครงสร้างอำนาจเริ่มต้นจากโครงสร้างอำนาจแบบอุปถัมภ์ ซึ่งเป็นซากความคิดที่หลงเหลือจากระบบศักดินา อันได้แก่ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้องในหมู่บ้าน และขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์รหว่างผู้นำชุมชนกับข้าราชการด้วยเมื่ออำนาจรัฐเข้าไปแทรกแซง ความผันแปรในโครงสร้างอำนาจของหมู่บ้านที่กำลังเปลี่ยนแปลงมีมากขึ้น เมื่อนำพาตนเองไปผูกติดกับระบบตลาดโลก ลักษณะการแบ่งแยกทางชนชั้นเริ่มเด่นชัดขึ้น ลักษณะความสัมพันธ์ทางชนชั้นมีสองลักษณะที่ผสมผสานกันอยู่ ประการแรก เป็นลักษณะทางชนชั้นที่รับเอาระบบคิดแบบศักดินามาผสม ประการที่สองลักษณะทางชนชั้นที่เป็นแบบทุนนิยม นอกจากนี้การเข้ามาของระบบราชการ การเมือง และระบบทุนนิยม ทำให้หมู่บ้านเกิดการแตกต่างและแบ่งแยกเป็นกลุ่มฝักฝ่าย ซึ่งต่างพยายามจะช่วงชิงการนำในหมู่บ้าน และความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอเมื่อมีประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นผลประโยชน์เข้ามากระทบ.244, [39] แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)HN 700.55 .P6 พ32ผู้นำชนบทสังคมชนบท -- ไทยผู้นำชุมชนอำนาจชุมชน -- ไทยโครงสร้างอำนาจและชนชั้นนำในชนบทไทย : ศึกษากรณีหมู่บ้านดั้งเดิมและหมู่บ้านที่กำลังเปลี่ยนแปลงPower structure and elite in rural Thai villages : a case study of two villagestext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.1990.10