วิสาขา ภู่จินดาธารทิพย์ เศรษฐชาญวิทย์2019-06-122019-06-122015b190482http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4445ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558.ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประยุกต์ใช้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2) เสนอนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่ยั่งยืนวิธีการศึกษาในเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิจัย ของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภาพรวมของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง และจัดทำข้อสรุปและเสนอแนะนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 เก็บข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ขนาดกำลังการผลิต 200-400 ตันแป้ง/วัน จำนวน 3 โรงงาน โดยประยุกต์หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อมาทำการคำนวณวิเคราะห์หาค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังแต่ละโรงงาน ส่วนที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของการลงทุนผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยผ่านนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้แก่ มาตรการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้ าในแบบ Feed in Tariffs และมาตราการส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานทดแทนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และส่วนที่ 4 การนำผลที่ได้ทั้ง 3 ส่วนมาจัดทำแนวทางเพื่อกำหนดนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมค้าและสิ่งแวดล้อมและจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเพื่อการผลิตและส่งออกที่ยั่งยืนผลการศึกษาพบว่า 1) โรงงานอุตสาหกรรมแป้ งมันสำปะหลังที่สำรวจทั้ง 3 แห่ง มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากมากไปน้อย เท่ากับ 202.715, 106.388 และ 69.963 kgCO2eq ต่อ 1 ตันแป้ง ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ย 128.866 kgCO2eq. ต่อ 1 ตันแป้ง) คิดเป็นทั้งอุตสาหกรรม 338.137 ล้านตันCO2eq ในปี 2557 จากปริมาณแป้งที่ส่งออก 3,011,940.725 ล้านตันโดยส่วนใหญ่มาจาก (1) การใช้กระแสไฟฟ้าในกระบวนการผลิต (2) การใช้ความร้อนในการอบแป้ง และ (3) น้ำเสียจากระบบผลิตและระบบบำบัดก๊าซชีวภาพ 2) การวิเคราะห์ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ มีค่าเฉลี่ย 22.399 ลูกบาศก์เมตร/1 ตันแป้ง ประกอบด้วยค่าฟุตพริ้นท์สีฟ้า (Blue Water Footprint) ระหว่าง 3.368-5.933 ลูกบาศก์เมตร/1 ตันแป้ง และค่าฟุตพริ้น์สีเทา (Grey Water Footprint) ระหว่าง 10.081-14.855 ลูกบาศก์เมตร/ตันแป้งตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และการเงินเบื้องต้นของการลงทุนติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพระบบ Anaerobic Fixed Film: AFF 4 กรณี: (1) การลงทุนเองโดยผู้ประกอบการมิได้ขอรับการสนับสนุนใดๆ จากภาครัฐ (2)-(4) ผู้ประกอบการลงทุนผ่านมาตรการสนับสนุนอัตรารับซื้อไฟฟ้ าแบบ FiT ของกระทรวงพลังงานโดยมีการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 50%, 100% และการจำหน่ายไฟฟ้า 100% ร่วมกับมาตรการลดหย่อนภาษีรายได้นิติบุคคลแก่การลงทุนโครงการพลังงานทดแทนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ที่ระยะเวลาชำระเงินกู้ 7 ปี นั้นมีความคุมค่าอย่างยิ่งโดยมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนระหว่าง 24.16-59.60% สามารถคืนทุนในระยะเวลาสั้น 1.678-4.139 ปี452 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเพื่อกำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมCarbon and water footprints in life cycle assessment of native starch industry for environmental management policy formulationtext--thesis--doctoral thesis10.14457/NIDA.the.2015.168