ธวัชชัย ศุภดิษฐ์อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี2023-01-242023-01-242015b190456https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6251วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการคำเนินการโดยประยุกต์ใช้หลัก CIPP - I Model ในการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการสังเกตการณ์ และการศึกษาเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลตามเทคนิคสามเส้า ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร อีกทั้งการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรม การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เป็นปัจจัยสนับสนุนที่นำมาชื่งการบริหารจัดการกากของเสียอุดสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุดสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยแนวทางดังกล่าวนั้นมีส่วนช่วยในการลดปัญหาความขัดแช้งในพื้นที่ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรที่ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรมลดลงต่อเนื่องในทุก ๆ ปี และมีการลดการนำกากของเสียอุตสาหกรรมไปฝังกลบจนเป็นศูนย์จำนวน 6 ชนิด และลดลงเป็นศูนย์จำนวน 1 ชนิด ซึ่งแนวทางในการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จในการยกระดับเป็น Eco - world Clas ในมิติสิ่งแวดล้อม: กากของเสียอุตสาหกรรมนั้นมี 4 ขั้นตอนคือ 1)การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ทิศทางในการบริหารจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน 2) การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ รวมถึงนโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด 3) การบันทึกผลเพื่อ ทำฐานข้อมูลรวมถึงประวัติกากของเสียอุตสาหกรรม และ 4) การลดปริมาณการเกิดกากของเสียอุตสาหกรรมจนเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง215 แผ่นapplication/pdfthaอุตสาหกรรมการจัดการอุตสาหกรรมของเสียอุตสาหกรรม -- การจัดการของเสียจากโรงงาน -- ไทย -- การจัดการของเสียจากโรงงาน -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทยแนวทางการจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเมทิลเอสเทอร์ และแฟตตี้แอลกอฮอล์Zero industrial waste management for eco industry : a case study of plant of methy ester and fatty alcoholtext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2015.118