ดุจเดือน พันธุมนาวินเบญจพร ประณีตวตกุล2022-06-272022-06-272017b199279https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5931วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริการการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดพื้นฐานมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวทำนายที่สำคัญของปัจจัยด้านจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 485 คน จากมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วยเพศชาย 166 คน (34.2%) และเพศหญิง 319 คน (65.8%) อายุเฉลี่ย 21 ปี 4 เดือน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควต้า โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวม และใน 18 กลุ่มย่อย ซึ่งแบ่งตามลักษณะชีวสังคมภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มพฤติกรรม 3 ตัวแปร คือ พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่ส่วนบุคคล พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในที่สาธารณะ และพฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนมีพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน 2) กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวันจากคนรอบข้าง การรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน และการรับรู้ข่าวสารด้านการป้องกันการรับและแพร่โรคใน ชีวิตประจำวัน 3) กลุ่มจิตลักษณะเดิม 4 ตัวแปร ได้แก่ การประเมินแก่นแห่งตน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความรู้ด้านการป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน 4) กลุ่มตัวแปรสถานการณ์ 3 ตัวแปร ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่า มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .611 ถึง .831 ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1) พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่ส่วนบุคคล ถูกทำนายได้ 41.2 % ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมจากคนรอบข้าง ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรม การรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษา และทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรม 2) พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่สาธารณะ ถูกทำนายได้ 39.2% ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรม การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมจากคนรอบข้าง ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษา และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 3) พฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนมีพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน ถูกทำนายได้ 39.2% ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ การรับรู้ข่าวสาร การเห็นแบบอย่าง พฤติกรรมจากคนรอบข้าง ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรม ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรม แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ การประเมินแก่นแห่งตน และการรับรู้ปทัสถานจากสถานศึกษา และ 4) ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลพบว่า ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มสถานการณ์ กลุ่มจิตลักษณะเดิม และกลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ มีอิทธิพลทางตรงต่อกลุ่มพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน มีค่าสัมประสิทธิ์การท านาย เท่ากับ 98.0% นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มจิตลักษณะเดิมมีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .234 ขณะที่ปัจจัยเชิงเหตุกลุ่มสถานการณ์ มีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .282 ประการสุดท้าย นักศึกษาที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาเพศ ชาย กลุ่มนักศึกษาที่อายุน้อย และกลุ่มนักศึกษาที่มีพี่น้อง มีปัจจัยปกป้องสำคัญ คือ การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวันจากคนรอบข้าง ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน จากผลการวิจัย ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเพื่อต่อยอดการวิจัย ดังนี้ 1) สามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนาต่อในเชิงทดลองเพื่อสร้างชุดฝึกอบรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาพฤติกรรมป้องกันการ รับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน และ 2) ควรทำวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากหลายแหล่ง นอกเหนือจากการให้กลุ่มตัวอย่างประเมินตนเอง เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน เช่น ใช้การประเมินจากเพื่อน ใช้การประเมินจากบุคคลในครอบครัว ใช้การสังเกตพฤติกรรม เป็นต้น210 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)การแพร่ระบาด (จิตวิทยาสังคม)โรค -- การป้องกันปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวันของนักศึกษาระดับปริญญาตรีPsychosocial as correlates of communicable disease preventive behavior in daily life of undergraduate studentstext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2017.169