สุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์ณัฐพัชร์ จรูญชาติธนกิตติ์2021-12-072021-12-072016b194305https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5330วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559การเรียนรู้ของนักเรียนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การเรียนรู้ในโรงเรียนเท่านั้น เนื่องจากความหลากหลายของวิชาความรู้ ความเข้มข้นของบทเรียน และการสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานและประสบ ความสำเร็จในชีวิตตามวิถีของคนส่วนใหญ่ในสังคม สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งการศึกษาทางเลือกคือ การเรียนร้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนที่เรียกว่า การกวดวชิา และมีแนวโน้มเพิ่ม ากขึ้นในปัจจุบัน พร้อมกับคำตำหนิจากสังคมว่าธุรกิจกวดวิชาเป็นสิ่งที่ทำลายระบบการศึกษาไทย ดังนั้นงานศึกษา นี้จึงต้องการพิสูจน์ให้ทราบเชิงประจักษ์ถึงปัจจัยที่จะเพิ่มหรือลดแนวโน้มในการเรียนกวดวิชา และบทบาทของการกวดวิชาที่เสริมการศึกษาหรือบั่นทอนการศึกษาให้แย่ลงอย่างที่มีคำกล่าว อ้างในสังคม โดยใช้แนวคิดของเศรษฐศาสตร์ครัวเรือนในการจัดสรรเวลาและเศรษฐศาสตร์ทุนมนุษย์ การศึกษานี้สำรวจกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,300 คน พบว่ามีนักเรียนกวดวิชาทั้งหมดร้อยละ 27.94 และไม่กวดวิชาร้อยละ 72.06 โดยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 32.87) จะกวดวิชามากกว่านักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 23.96) และพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการเรียนกวดวิชาภาคการศึกษาละ 9,911 บาท (ร้อยละ 55.83) ซึ่ง มากกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เสียค่าใช้จ่ายเท่ากับ 7,363.99 บาท (ร้อยละ 44.16) นอกจากนี้เหตุผลหลักที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่เรียนกวดวิชา คือไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียนในโรงเรียน (ร้อยละ 41) และเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย (ร้อยละ30) ส่วนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นส่วนใหญ่เรียนกวดวิชาคือไม่เข้าใจเนื้อหา ที่เรียนในโรงเรียนเช่นกัน (ร้อยละ35) และเรียนเพื่อเพิ่มผลการเรียน (ร้อยละ 29) ผลการศึกษาการตัดสินใจเลือกเรียนกวดวิชาพบว่า นักเรียนที่มีผลการเรียนดี บิดามี เงินได้สูง มารดามีการศึกษาสูง และนักเรียนศึกษาอยู่โรงเรียนสังกัดรัฐ จะมีโอกาสในการกวด วิชามากขึ้น และห้องเรียนที่มีขนาดใหญ่หรือจำนวนนักเรียนต่อห้องมาก จะมีแนวโน้มที่ นักเรียนจะกวดวิชามากขึ้น67 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)โรงเรียนกวดวิชาการศึกษาขั้นมัธยม -- ไทยการตัดสินใจเลือกเรียนกวดวิชาและความสัมพันธ์กับการเรียนในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาSecondary school students’ decision making on tutoring and its related results on their study at schoolstext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2016.136