เกศรา สุกเพชรธนณัฏฐ์ โชคปรีดาพานิช2019-02-122019-02-122015b189693http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4258วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงสมรรถนะพื้นฐานอาชีพผู้นำเที่ยวไทยที่สอดคล้องตามความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานอาชีพผู้นำเที่ยวไทย ที่สอดคล้องตามความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานอาชีพผู้นำเที่ยวไทย ที่สอดคล้องตามความต้องการของอุตสากรรมท่องเที่ยวไทยกระบวนการวิจัยใช้แบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) จำนวน 15 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มผู้นำเที่ยวที่ขึ้นทะเบียนผู้นำเที่ยวกับกรมการท่องเที่ยว จำนวน 400 คนผลการศึกษา พบว่า สมรรถนะของผู้นำเที่ยวที่อุตสาหกรรมเห็นมีความจำเป็นเร่งด่วนประกอบไปด้วย 6 สมรรถนะ คือ 1) สมรรถนะด้านความรู้และความสามารถเกี่ยวประเทศที่นำเที่ยวและความรู้ทั่วไป 2) สมรรถนะด้านดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย 3) สมรรถนะด้านการใช้ภาษาและการสื่อสาร 4) สมรรถนะด้านการบริการและจิตสาธารณะ 5) สมรรถนะด้านจรรยาบรรณ จริยธรรม และความซื่อสัตย์ และ 6) สมรรถนะด้านการจัดการ125 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)สมรรถนะพื้นฐานอาชีพผู้นำเที่ยวมัคคุเทศก์สมรรถภาพในการทำงานแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานอาชีพผู้นำเที่ยวไทยที่สอดคล้องตามความต้องการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยGuidelines for developing threshold competencies of Thai occupational tour leaders conforming to the demand of the Thai tourism industrytext--thesis--master thesis