เกศรา สุกเพชรวีระศักดิ์ ยั่งยืน2020-06-192020-06-192018b208160https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5051วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการจัดการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้การดำเนินการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถามที่ได้จากการศึกษางานวิจัยและเอกสารวิจัยต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยการจัดการที่ส่งผลให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 151 ท่านวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบเส้นตรง และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1) ปัจจัยการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม การวิจัยและพัฒนา/ความรู้และการจัดการคุณภาพ เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) หากองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ต้องการที่จะทำการส่งเสริมปัจจัยการจัดการที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแล้ว ทางองค์กรต่าง ๆ จะต้องทำการส่งเสริม ด้านการวิจัยและพัฒนา/ความรู้ต่อความสามารถในการแข่งขันมาเป็นอันดับแรก ตามด้วยการส่งเสริม ด้านการทำงานเป็นทีมต่อความสามารถในการแข่งขัน ลำดับต่อมาคือการส่งเสริม ด้านการจัดการคุณภาพต่อความสามารถในการแข่งขัน และการส่งเสริมปัจจัยการจัดการ ด้านภาวะผู้นำต่อความสามารถในการแข่งขัน หากองค์กรต่าง ๆ มีความสามารถเพียงพอในการดำเนินงาน นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังแนวทางในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถนำผลการศึกษาไปส่งเสริมปัจจัยการจัดการด้าน การกำหนดกลยุทธ์ นโยบายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมในองค์กรได้ออกแบบการดำเนินงาน เพื่อรองรับสภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในรูปแบบนั้น ๆ ควบคู่ไปกับแนวทางการจัดการแต่ละแนว โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาและความรู้มาเป็นอันดับแรก ตามด้วย การการทำงานเป็นทีม ต่อมาคือคุณภาพการจัดการ และภาวะผู้นำ เป็นลำดับสุดท้าย ตามความสะดวกด้านการจัดการของแต่ละองค์กรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ นอกจากนี้ผู้ประกอบการสามารถนำผลวิจัยไปปรับใช้ในการเติมเต็มความต้องการขององค์กรที่มีความเฉพาะด้าน รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการท่องเที่ยว คือจุดหมายปลายทาง เพื่อให้องค์กรเกิดความสามารถในการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมThis research aims to study “A Guidelines for developing the level of competitiveness of tourism industry in Uttaradit Province”. The objective of this research are three main that learn about the relationship between the factors of management and competitiveness. This research need to present about the factors of management that make competitiveness. In term of quantitative data were collected by using the questionnaire from 151 Thai persons who work in organization of tourism industry at Uttaradit province for this quantitative research. The sample data were analyzed by statistics such as descriptive statistics, percentage, median, frequency, standard deviation, multiple linear regression , correlation coefficient and confirmatory Factor Analysis . Finally, we show our result via descriptive presentation for suggest a new guidelines to many independent organization of tourism industry at Uttaradit province. The result revealed that, firstly,the management factors positively competitiveness which the most influence factors was research and development/knowledge, Teamwork, quality manangement and leaddership. Secondly, the management factors positively competitiveness which the most influence factors was research and development/knowledge. Thirdly, the competitiveness positively to development. Furthermore, the distribution of this research was including filling the academic gap of competitiveness retreat in supply side about competitiveness in tourism industry.228 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)e-Thesisความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- อุตรดิตถ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์The development guidelines to enhance the competitiveness of the tourism industry Uttaradittext--thesis--master thesis