อมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษาเลิศ บรรเลงเสนาะ2014-05-052014-05-051974http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1062วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2517.ศึกษาสภาพทั่วไปของการคมนาคมก่อนการสร้างทางหลวงชนบท เปรียบเทียบให้เห็นความก้าวหน้าทางการคมนาคมภายหลังการสร้างทางหลวงชนบทสายกระสังลำชี กล่าวถึงท่าทีของชาวบ้านที่มีต่อการสร้างทาง รวมทั้งปัญหาการสร้างทางที่อาจเกิดขึ้นระหว่างหน่วยก่อสร้างทางกับราษฎร แล้วศึกษาสภาพทั่วไปและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเรื่องจารีตประเพณี สภาพครอบครัว การอนามัย และการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเปรียบเทียบสภาพเหล่านี้ก่อนและหลังการสร้างทาง ต่อจากนั้นผู้เขียนได้ศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงท่าทีและความคิดเห็นที่มีต่อบุคคลที่มีอำนาจตามความคิดเห็นของชาวบ้าน บุคคลที่น่านับถือ การเป็นกรรมการ ลักษณะของผู้นำที่ดี การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ความรู้สึกที่มีต่อเพื่อนบ้าน ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน การดำเนินการของรัฐเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและการเร่งรัดพัฒนาชนบทในเรื่องเหล่านี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสภาพก่อนสร้างและหลังสร้างทางเช่นกันส่วนการเปรียบเทียบในด้านเศรษฐกิจ ผู้เขียนเปรียบเทียบฐานะความเป็นอยู่ อาชีพของหัวหน้าครัวเรือนของตนในบ้าน ปัญหาการประกอบอาชีพ ความชำนาญและฝีมือ การว่างงาน ทุนในการประกอบอาชีพ การซื้อขาย รายได้ รายจ่าย การขนส่งสินค้าและโดยสาร ในตอนท้ายสรุปผลพร้อมกับข้อเสนอแนะเพื่อประกอบการพิจารณาว่า ความก้าวหน้าทางสังคมซึ่งได้แก่การสร้างทางหลวงชนบทสายกระสัง-ลำชี อันเป็นการกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมนั้นจะทำให้สภาพทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใดอย่างไร.400 หน้า.application/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)HT 147 .T3 ล68การพัฒนาชุมชนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในหมู่บ้านอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางการคมนาคม : ศึกษาเฉพาะกรณีความเปลี่ยนแปลงของบ้านหว้า ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สืบเนื่องมาจากการสร้างทางหลวงชนบทสายกระสัง-ลำชีtext--thesis--master thesis