จำลอง โพธิ์บุญณัฏฐ์อริญ เดชะศิริพงษ์2019-06-132019-06-132014b190496http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4449วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกเพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แสดงความสัมพันธ์ของของปัจจัยด้านภูมิอากาศที่มีต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านภูมิอากาศ ซึ่งประกอบด้วยอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์ วิธีการศึกษาและผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้1) ศึกษารูปแบบทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกและสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านภูมิอากาศที่มีต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective Study) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก และข้อมูลสภาพภูมิอากาศในจังหวัดสุพรรณบุรี ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551-2555 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis: MRA) ผลการศึกษา พบว่า 1) จังหวัดสุพรรณบุรีมีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนรวมทั้งสิ้น 3,990 ราย โดยในปี พ.ศ. 2551 และ ปี พ.ศ. 2554 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากกว่าปีอื่นประมาณ 2 เท่า และพบว่าเดือนที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงกว่าเดือนอื่น ๆ ในแต่ละปี คือเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลำคม 2) ปัจจัยด้านภูมิอากาศที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกคือ ปริมาณน้ำฝน และอุณหภูมิ โดยมีรูปแบบความสัมพันธ์คือ อัตราป่วย = 3.523 + 0.091 (ปริมาณน้ำฝน) - 0.043 (อุณหภูมิ) (r2= 0.750, p<0.05)2) วิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านภูมิอากาศโดยใช้การประมาณค่าเชิงพื้นที่แบบ Local Method ด้วยวิธี Thiessen Polygons กำหนดจุดควบคุม (Control Points) คือสถานีตรวจอากาศสุพรรณบุรีและสถานีตรวจอากาศเกษตรอู่ทอง ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2556 เป็นรายสัปดาห์ ผลการวิเคราะห์พบว่า โดยส่วนใหญ่แล้วพื้นที่ของสถานีตรวจอากาศสุพรรณบุรีมีความความเสี่ยงเท่ากับพื้นที่สถานีตรวจอากาศเกษตรอู่ทอง ยกเว้นสัปดาห์ที่ 23, 33, 34, 46 และ48 ที่มีความเสี่ยงมากกว่า และสัปดาห์ที่ 39 และ42 ที่พื้นที่สถานีตรวจอากาศเกษตรอู่ทองมีความเสี่ยงมากกว่าข้อเสนอแนะที่สำคัญที่ได้จากการศึกษา คือ1) สร้างระบบเตือนภัยการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านภูมิอากาศที่เรียกว่า Climatic alert.2) กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการกำจัด ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามระดับความเสี่ยง (มาก ปานกลาง น้อย) ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับมาก (พื้นที่สีแดง) ต้องมีการดำเนินการกำจัดและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งดำเนินการควบคุม กำจัด ยุงลายและลูกน้ำ207 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)ไข้เลือดออก -- การแพร่ระบาดแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาพื้นที่เสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามปัจจัยด้านภูมิอากาศMathematical model for analysis of dengue fever spreading risk areas based on climatic factorstext--thesis--doctoral thesis10.14457/NIDA.the.2014.80