จันทรานุช มหากาญจนะประวิทย์ ษรสา2024-10-302024-10-302015b191024https://repository.nida.ac.th/handle/123456789/6993วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558การศึกษาเรื่อง ภาคประชาสังคมกับการขับเคลื่อนแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง: กรณีศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ นี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการได้แก่ 1) เพื่ออธิบายพัฒนาการและวิเคราะห์ลักษณะของภาคประชาสังคมที่เข้ามาขับเคลื่อนแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง 2) เพื่ออธิบายและวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง 3) เพื่ออธิบายและวิเคราะห์ยุทธวิธี กระบวนการ ในการขับเคลื่อนและบทบาทของภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนประเด็นแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง 4) เพื่ออธิบายและวิเคราะห์ผลกระทบการขับเคลื่อนแนวคิดจังหวัดจัดการตนเองต่อการบริหารงานภาครัฐในพื้นที่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูล ปฐมภูมิ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และจากข้อมูลทุติยภูมิ ที่เป็นเอกสารจากเครือข่ายภาคประชาสังคม งานวิจัย ข่าวสารรวมไปถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จากผลการศึกษาพบว่า 1) พัฒนาการของภาคประชาสังคมจังหวัดอำนาจเจริญนั้นแบ่งออกเป็น 8 เวลาโดยเกณฑ์บริบทแวดล้อมและเนื้อหากิจกรรมของกลุ่มภาคประชาสังคม ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองและกึ่งประชาธิปไตย (2516-2522 ช่วงที่ 2 เริ่มก่อตัวใหม่ของภาคประชาสังคม (2523-2538) ช่วงที่ 3 เริ่มทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรภายนอก (2539-2543) ช่วงที่ 4 เริ่มกำหนดรูปแบบการทำงานและกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานพัฒนาชุมชน (2544-2546) ช่วงที่ 5 การเชื่อมโยงและพัฒนากลไกการทำงานในระดับจังหวัดและในระดับพื้นที่ (2547-2549) ช่วงที่ 6 การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างการดำเนินงานภายในจังหวัดและก่อเกิดสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ (2550-2552) ช่วงที่ 7 การทบทวนบทบาทของภาคประชาสังคมและการรับเอาแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง (2553-2554) ช่วงที่ 8 การมุ่งหน้าขับเคลื่อนแนวคิดจังหวัดจัดการตนเองและน าธรรมนูญประชาชนไปสู่การปฏิบัติ (2555-ปัจจุบัน) ส่วนลักษณะของภาคประชาสังคมที่เข้ามาขับเคลื่อนแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง มี 2 ลักษณะ คือ กลุ่มประชาสังคมที่มีสถานะทางกฎหมายชัดเจน และกลุ่มประชาสังคมที่มีสถานะทางกฎหมายไม่ชัดเจน ในขณะที่ปัจจัยที่ทำให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง พบว่ามี 9 ปัจจัย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มปัจจัย คือ กลุ่มปัจจัยหลัก ประกอบด้วย (1) ปัจจัยเรื่องจิตสำนึกร่วมหรือสำนึกพลเมือง (2) ปัจจัยเรื่องการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก (3) ปัจจัยด้านการมีเครือข่ายในพื้นที่ (4) ปัจจัยด้านโครงสร้างและกระบวนการบริหารงานภาครัฐ (5) ปัจจัยเรื่องภาวะเศรษฐกิจและสภาพสังคม กลุ่มปัจจัยสนับสนุน ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านความร่วมมือหรือทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น (2) ปัจจัยเรื่องโครงสร้างโอกาสทางการเมือง (3) ปัจจัยเรื่องผลประโยชน์ร่วม และ (4) ปัจจัยเรื่องบริบททางประวัติศาสตร์ ส่วนกระบวนการในการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ (1) โครงสร้างการทำงานระดับจังหวัด (2) โครงสร้างการดำเนินงานของทีมประสานขบวนองค์กรชุมชน (3) โครงสร้างการทำงานในระดับพื้นที่ตำบล ซึ่งบทบาทของภาคประชาสังคมมีบทบาทในการกระตุ้นความคิด ชี้ให้เห็นปัญหาร่วมกัน โดยยุทธวิธีที่ภาคประชาสังคมเลือกใช้ในการขับเคลื่อนคือ ยุทธวิธีตามช่องทางปกติ (Conventional Chanel) เป็นยุทธวิธีการเคลื่อนไหวที่อยู่ในบรรทัดฐานของสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้ผลกระทบต่อการบริหารงานภาครัฐในพื้นที่ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมของผู้วิจัย (1) หน่วยงานที่ได้รับผลกระทบมากส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสอดรับกับความต้องการของภาคประชาสังคม เกิดการทำงานร่วมกันและมีแนวโน้มในการส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ และ (2) หน่วยงานที่ได้รับผลกระทบบ้าง เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจไม่ค่อยตรงกับวัตถุประสงค์ของภาคประชาสังคมและไม่ค่อยมีความเข้าใจในแนวคิดของภาคประชาสังคม อาจไม่มีผลต่อการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน สุดท้าย (3) หน่วยงานที่ไม่ได้รับผลกระทบ คือหน่วยงานที่มีภารกิจที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของภาคประชาสังคม ไม่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม และไม่มีความเข้าใจในแนวคิดของภาคประชาสังคมเลย แต่มีความเห็นว่าการดำเนินงานของภาคประชาสังคมเป็นสิ่งที่ดี และมีแนวโน้มว่าการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมไม่มีส่วนในการสร้างเสริมธรรมาภิบาลในหน่วยงานเหล่านี้159 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)แนวคิดจังหวัดจัดการตนเองการมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย -- อำนาจเจริญประชาสังคม -- ไทย -- อำนาจเจริญภาคประชาสังคมกับการขับเคลื่อนแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง : กรณีศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญCivil society and the mobilization of self-managed province concept : case study of Amnat Charoen Provincetext::thesis::master thesis