ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์กิตติยา เหล็กมั่น2023-05-082023-05-082018b207906https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6404วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561วัตถุประสงคข์องการศึกษาวิจัยครั้งนี้มี 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการโครงสร้าง องค์การ บริษทั การบินไทย จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างโครงสร้าง องค์การกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์เทคโนโลยีคน/วัฒนธรรมองค์การและการจัดการของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญได้แก่กลุ่มคณะกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น พนักงาน ท้งัอดีตและปัจจุบนัของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มผู้บริหาร หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับดูแล บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รวม จำนวนทั้งหมด 21 คน ผลการศึกษาพัฒนาการของโครงสร้างองค์การ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พบว่า นับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัท ฯ ในปีพ.ศ. 2502-2559 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะที่1 ระหว่าง ปี พ.ศ. 2502-2533 ช่วงการก่อตั้งบริษัท ฯ และเริ่มมีโครงสร้างองค์การอย่างง่าย สายบังคับ บัญชาไม่ซับซ้อน ส่วนระยะที่2 ระหว่างปีพ.ศ. 2534-2549 เป็นช่วงเวลาของการดำเนินธุรกิจในฐานะบริษัทมหาชน จำกัด อย่างเต็มตัวโดยระยะนี้บริษัท ฯ มีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการ มีโครงสร้างที่ขยายขนาด การจัดลำดับขั้น สายบังคับบัญชามีความซับซ้อนและมุ่งเน้นระเบียบใน การดำ เนินงานอย่างเคร่งครัดส่งผลให้โครงสร้างมีลักษณะแบบราชการ โดยจำนวนหน่วยงาน ภายในโครงสร้างองค์การระหว่าง ปีพ.ศ. 2543-2548 ตั้งแต่ระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปมีจำนวน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 24.08 โดยเฉพาะจำนวนหน่วยงานในปี พ.ศ. 2548 มีมากที่สุด ถึง 1,175 หน่วยงาน ซึ่งลักษณะโครงสร้างองค์การดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความอิสระคล่องตัวใน การดำเนินงาน และระยะที่3คือ พ.ศ. 2550-2559 บริษัท ฯ ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนตามแผนปฏิรูปบริษัทฯ ปีพ.ศ. 2558-2560 อย่างไรก็ ตาม บริษัทฯ ได้ดำเนินนโยบายการปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชาเป็นกลุ่มงานและปรับปรุงโครงสร้างองค์การสายงานรวมถึงฝ่ายงานต่างๆ ทำให้จำนวนหน่วยงานในโครงสร้างองค์การลดลง แต่หากพิจาณาโครงสร้างองค์การในปี พ.ศ. 2559 กลับพบว่าฝ่ายงานต่างๆ และตำแหน่งผู้บริหาร หน่วยงานระดับสูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนมากเกินความจำเป็น ผลการศึกษาความความสอดคล้องระหว่างโครงสร้างองค์การกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ เทคโนโลยี คน/วัฒนธรรมองค์การ และการจัดการของบริษทั การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปีพ.ศ. 2550-2559 พบว่าสิ่งแวดล้อมไม่คงที่และวุ่นวายมากกลยุทธ์เป็นแบบเชิงรับ ด้านเทคโนโลยีมีความซับซ้อนมาก ความหลากหลายของงานสูง คน/วัฒนธรรม บุคลากรบริษัทฯ ยังมี มากเกินความจำเป็น การทำงานของบุคลากรส่วนใหญ่มุ่งเน้นเงินเดือน โบนัสและตำแหน่งงาน มากกว่าความสำเร็จของงานรวมไปถึงความแข็งแกร่งของระบบอุปถัมภ์ในองค์การ โครงสร้าง องค์การเป็นโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักร มุ่งเน้นกฎระเบียบ ลำดับขั้นสายบังคบบัญชามีความซับซ้อน และการจัดการ อำนาจการตัดสินใจส่วนใหญ่ยังอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูง ส่งผลให้การ กระจายอำนาจอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้เมื่อนำปัจจัยทั้งหมดมาพิจารณาตามกรอบแนวคิดทฤษฎี โครงสร้างตามสถานการณ์(Structural Contingency Theory) ของ Gareth Morgan สามารถสรุปได้ ว่า ตำแหน่งของปัจจัยต่างๆ ไม่มีความสอดคล้องกันส่งผลทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลองค์การ เท่าที่ควรรวมไปถึงการศึกษาประสิทธิผลของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปีพ.ศ. 2550-2559 พบว่าด้านความสามารถในการบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนดำเนินงาน สำหรับภาพรวม สามารถดำเนินการตามแผนงานได้ประมาณร้อยละ 50-60 ด้านผลประกอบการบริษัทฯ ประสบ ปัญหาการขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง ส่วนการจัดอันดับสายการบินโดยสถาบันสกายแทรกซ์ (Skytrax) บริษัท ฯ ไม่ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 10 สายการบินที่ดีที่สุดในโลกนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 โดย ภาพรวมสามารถสรุปได้ว่า บริษัท ฯ ยังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุประสิทธิผลได้ ข้อเสนอแนะของการศึกษาคร้ังนี้คือ วางแนวทางการปรับโครงสร้างองค์การให้ชัดเจน และปฏิบัติได้จริง เน้นการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน ปรับสายบังคับบัญชาให้มีความกระชับและไม่ซับซ้อน ลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานในองค์การ สนับสนุนให้มีระบบการ ประสานงานระหว่างหน่วยงาน ในลักษณะร่วมคิด ร่วมทำร่วมรับผิดชอบ ตลอดจนการส่งเสริม การทำงานเป็นทีม จะช่วยให้การปรับปรุงโครงสร้างองค์การประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น244 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)บริษัทการบินไทยโครงสร้างและประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)Organizational structure and effectiveness : a case study of Thai Airways International Public Company Limitedtext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2018.115