พัชรวรรณ นุชประยูรยุทธนา สาโยชนกร2014-05-052014-05-052013b180774http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/728วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556ตามหลักการทั่วไปทางด้านการคลังและงบประมาณของการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย การจ่ายเงินแผ่นดินจะต้องได้รับอนุญาตจากฝ่ายนิติบัญญัติก่อน โดยฝ่ายบริหารเป็น ผู้จัดทำงบประมาณในรูปแบบของร่างพระราชบัญญัติ และเอกสารงบประมาณ เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมและตรวจสอบตามกระบวนการพิจารณาอนุมัติกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเมื่อกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประกาศใช้บังคับแล้วฝ้ายบริหารก็จะต้องใช้จ่ายงบประมาณ ตามวัตถุประสงค์ วงเงิน และระยะเวลาตามที่ฝ่ายนิติบัญญัตินุมัติ อย่างไรก็ดี เพื่อให้การใช้จ่าย งบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่า และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของเงินที่แท้จริง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณฝ่ายบริหารสามารถดำเนินการใช้จ่ายและโอนเปลี่ยนแปลง งบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติจากฝ่ายนิติบัญญัติได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น หากไม่มีการควบคุม ที่เหมาะสมแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาดุลยภาพของงบประมาณและภาระผูกพันงบประมาณใน อนาคต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการรายรับ รายจ่าย และการบริหารประเทศไทยใน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายการคลังที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ในการ ตรวจสอบและควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณประกอบด้วย หลักการ์จ่ายเงินแผ่นดินและรูปแบบของ งบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ การบริหารงบประมาณ และการติดตามตรวจสอบการใช้จ่าย งบประมาณ ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับหลัก กฎหมายทางด้านการคลังและงบประมาณ และเอื้ออำนวยให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถควบคุมและ ติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากสาเหตุ หลายประการ ดังนี้ 1. ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการอนุมัติงบประมาณ 2. ข้อจำกัดการเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่กำหนดโดยฝ่ายนิติบัญญัติ 3. การให้อำนาจฝ่ายบริหารใช้จ่ายงบประมาณ 4. การให้อำนาจฝ้ายบริหารโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย 5. ข้อจำกัดการเสนอรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ อนาคต ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะทั้ ทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีในส่วนที่เกี่ยวกับ เอกสารแนบท้ายร่างพร ะราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการควบคุมการใช้จ่ายงบกลาง" การกำหนด หลักเกณฑ์และ ะเงื่อนไขของภาระผูกพันงบประมาณ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพื่อจำกัดอำนาจฝ่าย บริหารในการโอนหรือเปลี่ยนแปลงงบประมาณ และเพิ่มเติมระบบการรายงานของฝ้ายบริหาร รวมทั้งการควบคุมงบประมาณภายในฝ่ายบริหาร ตลอดจนเสนอแนะเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อให้การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณของ ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น159 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)การควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณโดยฝ่ายนิติบัญญัติControlling of budget spending by the legislativetext--thesis--master thesis