แตงอ่อน มั่นใจตน, อาจารย์ที่ปรึกษาเมธี พยอมยงค์2014-05-052014-05-051990http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2134วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.ชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งขนาดและปริมาณของพื้นที่ และจำนวนประชากรในชุมชน อันเป็นผลมาจากสาเหตุหลายประการ จากการขยายตัวดังกล่าวนี้ ก่อให้เกิดความแออัดยัดเยียด และส่งผลให้เกิดปัญหานานัปการต่อชุมชนนั้น ๆ และปริมณฑลในเขตเมืองในส่วนรวมผู้วิจัยมีความประสงค์จะทำการค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมาและลักษณะการขยายตัวของชุมชนแออัดในเขตพระนคร ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนแออัดในเขตเผู้วิจัยได้เลือกชุมชนแออัด 6 ชุมชน เป็นตัวแทนของกลุ่มที่ใช้ศึกษาโดยยึดอายุของชุมชนและลักษณะการถือครองที่ดินของครัวเรือนในชุมชนเป็นเกณฑ์ ส่วนวิธีการรวบรวมข้อมูลกระทำโดย การทำแผนที่การใช้ที่ดิน การสำรวจภาคสนาม และสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้น จำนวน 177 ครัวเรือน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลจากการศึกษาพบว่า ชุมชนแออัดที่ศึกษามีอายุของชุมชนอยู่ในระหว่าง 65-200 ปี โดยเริ่มต้นของชุมชนนั้น มีจำนวนบ้านในเขตพระนครไม่หนาแน่นมากนัก ในเวลาต่อมาความเจริญของเมืองมากขึ้น จึงทำให้ประชาชนจากภายนอกเขตชั้นในและต่างจังหวัดเข้ามาอาศัยในเขตนั้นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในชุมชนท่าวังและชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนการใช้แผนพัฒนาฉบับที่หนึ่ง และในช่วง พ.ศ.2504-พ.ศ.2513 หลังจากนั้นการขยายตัวสิ้นสุดลง ทั้งนี้เป็นเพราะมีการใช้พื้นที่ภายในชุมชนเต็มหมดแล้ว ส่วนชุมชนแออัดอื่น ๆ ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งการเพิ่มพื้นที่ภายในชุมชน และการขยายตัวโดยการเพิ่มขึ้นของประชากรภายในชุมชนการเพิ่มพื้นที่ภายในชุมชนนั้น ได้แก่ การบุกรุกที่ดินของเอกชน วัด และหน่วยราชการ รวมทั้งการเช่าที่ดินและการเช่าช่วงที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง พ.ศ.2504-2513 ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเริ่มใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมุ่งเน้นโครงการพัฒนาขั้นพื้นฐาน เพื่อรองรับความเจริญด้านเศรษฐกิจในเมืองหลวงของประเทศ ยังผลให้เกิดการหลั่งไหลของแรงงานเข้ามาทำงานในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร.สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนเลือกเข้ามาอาศัยในชุมชนแออัดนั้น ผลการศึกษาพบว่า ในทุกชุมชนที่ศึกษามีปัจจัยที่คล้ายคลึงกัน คือ อยู่ใกล้แหล่งงาน ย้ายโดยการสมรส และค่าเช่าที่ดินหรือบ้านในเขตชุมชนแออัดมีราคาต่ำ ในส่วนที่เกี่ยวกับการที่ชุมชนแออัดอยู่ใกล้กับแหล่งงานนั้น เมื่อพิจารณาควบคู่ไปกับแผนที่แสดงการใช้ที่ดินของกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2501 พ.ศ.2516 และ พ.ศ.2532 แล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่า บริเวณที่พักอาศัยในหลายพื้นที่ของเขตชั้นในเป็นย่านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และบริการพื้นฐานต่าง ๆ จึงทำให้ประชาชนเข้ามาอาศัยใกล้ ๆ กับแหล่งงานดังกล่าว โดยลักษณะการบุกรุก การเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้าน การเช่าบ้าน หรือการเช่าช่วงบ้าน ผลลัพธ์สุดท้ายเมื่อมีจำนวนบ้านเรือนและการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น จะเป็นผลให้กลายเป็นชุมชนแออัดไปในที่สุด[ก-ง], 117 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)HV 4142.55 .A6B3 ม54ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯลักษณะการขยายตัวของชุมชนแออัดในเขตพระนคร กรุงเทพมหานครThe characteristic of the expansion of slums in Phra-Nakorn District, Bangkoktext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.1990.8