วราภรณ์ วนาพิทักษ์กษิดิศ ทองวิเศษสุข2022-01-312022-01-312015b193194https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5447วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558วิทยานิพนธ์เรื่องปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยใช้ ระบบบิทคอยน์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงประวัติ ความหมาย ความเป็นมาของสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน รวมถึงสถานะทางกฎหมาย และศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย สถานะทางกฎหมายของ บิทคอยน์ และหลักการสําคัญเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อนํามาเปรียบเทียบ กับลักษณะของระบบบิทคอยน์ และสถานะทางกฎหมายของบิทคอยน์ ตลอดจนศึกษาถึงแนวคิดและ ทฤษฏีเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย จากการศึกษาพบว่า บิทคอยน์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชนิดใหม่ที่มีลักษณะเป็น เงินตราเสมือนจริงในรูปแบบของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการทําธุรกรรม ทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้ระบบอินเทอร์เน็ตแทนที่การทําธุรกรรมผ่านทางสถาบันการเงิน และ บิทคอยน์กําลังเป็นที่นิยมและถูกนํามาใช้กันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามบิทคอยน์นั้นไม่มีสถานะ ทางกฎหมายและไม่ได้เป็นเงินตรา ไม่ได้เป็นเงินตราต่างประเทศ และไม่ได้เป็นเงิน อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมาย ทําให้บิทคอยน์ไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกฎหมาย อีกทั้งยังไม่ปรากฏ ลักษณะที่ชัดเจนของบิทคอยน์ตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ ออสเตรเลีย บิทคอยน์ก็ไม่ได้เป็นเงินตรา ไม้ได้เป็นเงินตราต่างประเทศและไม่ได้เป็นเงิน อิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน อีกทั้งไม่ปรากฏลักษณะที่ชัดเจนของบิทคอยน์ตามกฎหมาย เนื่องจากมี ความเห็นเกี่ยวกับลักษณะของบิทคอยน์ที่แตกต่างกันออกไป จากลักษณะของบิทคอยน์ที่ไม่ปรากฏ ชัดตามกฎหมายทําให้ไม่สามารถนําบิทคอยน์มาปรับใช้กับฐานความผิดฟอกเงินได้ อีกทั้งมาตรการ สําคัญในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กล่าวคือ การรายงานธุรกรรมของสถาบันการเงิน และการแสดงตนของลูกค้าของสถาบันการเงินก็ไม่สามารถนํามาปรับใช้กับบิทคอยน์ได้ เพราะการทํา ธุรกรรมของบิทคอยน์นั้นไม่ได้ทําธุรกรรมผ่านทางสถาบันการเงิน ในขณะเดียวกันประเทศ สหรัฐอเมริกาสามารถนําฐานความผิดฟอกเงินมาปรับใช้กับบิทคอยน์ได้เพียงบางส่วนเท่านั้นจึงไม่มี ประสิทธิภาพเพียงพอ แต่ประเทศออสเตรเลียสามารถนําฐานความผิดฟอกเงินมาปรับใช้กับบิทคอยน์ ได้ แต่อย่างไรก็ตามการรายงานธุรกรรมของสถาบันการเงินและการแสดงตนของลูกค้าของสถาบัน การเงินไม่สามารถนํามาปรับใช้กับบิทคอยน์ได้ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลีย จึง จําเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะให้ควรมีการกําหนดถึงคํานิยามที่ชัดเจนของบิทคอยน์ไว้ ในกฎหมายเพื่อให้สามารถนําคํานิยามดังกล่าวมาปรับใช้กับกฎหมายอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเสนอแนะให้ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กําหนดให้ฐานความผิดฟอกเงินครอบคลุมถึงบิทคอยน์ด้วย อีกทั้งแก้ไขเพิ่มเติมคํานิยาม ของสถาบันการเงินให้ครอบคลุมถึงบิทคอยน์เพื่อที่จะทําให้การรายงานธุรกรรมของสถาบันการเงิน และการแสดงตนของลูกค้าของสถาบันการเงินสามารถนํามาปรับใช้กับบิทคอยน์ได้210 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)บิทคอยน์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยใช้ระบบบิทคอยน์Legal issues on anti-money laundering through bitcointext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2015.4