อรุณ รักธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษาสมาน งามสนิท2014-05-052014-05-051990http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/931วิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2533.วิทยานิพนธ์เรื่อง "สื่อเพื่อการบริหารการพัฒนา : กรณีการจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในที่ศาลาอีสานเขียว" นี้ เป็นการขยายการศึกษาต่อจากการที่โครงการอีสานเขียวได้สร้างศาลาอีสานเขียวไว้ในหมู่บ้านเป้าหมาย โครงการศาลาอีสานเขียวนั้นเมื่อได้สร้างศาลาอีสานเขียวเสร็จแล้วยังไม่มีกำหนดการใช้สอยประโยชน์ของศาลาอีสานเขียวให้ชัดเจนแต่อย่างไร การศึกษานี้จึงศึกษาเพื่อจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปขึ้นที่ศาลาอีสานเขียว เพื่อเป็นศูนย์รวมความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ และ เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับนักบริหารการพัฒนาจะได้ใช้ในการบริหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมชนบท ทั้งนี้เพราะว่าศูนย์วีดิโอเทปที่จัดตั้งขึ้นไว้ที่ศาลาอีสานเขียวนี้จะเป็นศูนย์รวมความรู้ใหม่ ๆ เพื่อชาวบ้านจะได้ใช้เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและอาชีพเสริมของตน ประเด็นสำคัญที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ความรู้และการเข้ามีส่วนร่วมโครงการอีสานเขียวและโครงการศาลาอีสานเขียว การใช้ประโยชน์ศาลาอีสานเขียว การเปิดรับสื่อมวลชนประเภทของรายการที่เปิดรับ สถานที่เปิดรับ การมีเครื่องรับสื่อมวลชน ความต้องการความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและอาชีพเสริม ความต้องการและความเชื่อมั่นศูนย์วีดิโอเทป ตลอดจนความเต็มใจที่จะบริจาคเงินส่วนตัวเพื่อร่วมจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปที่ศาลาอีสานเขียวในกรณีที่ไม่มีความช่วยเหลือจากภายนอกชุมชนและความยินดีที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ศูนย์วีดิโอเทป และประเภทของเทปความรู้ที่ต้องการ และวิทยานิพนธ์นี้มุ่งหวังให้เป็นคู่มือการจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทปที่ผู้อ่านทุกระดับไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือชาวบ้านสามารถเข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติได้ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชาวบ้านและกรรมการหมู่บ้านจำนวน 495 คน จาก 15 หมู่บ้าน 15 อำเภอ 10 จังหวัดในภาคอีสานเหนือ อีสานกลางและอีสานใต้ การเก็บข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์รายบุคคลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาเตรียมขึ้น รวมรวมข้อมูลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึง เดือนตุลาคม 2532.จากการศึกษาครั้งนี้ได้พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 92.2 รู้จักโครงการอีสานเขียว ร้อยละ 72.9 เข้าร่วมโครงการฯ ร้อยละ 59.2 เข้าร่วมโครงการก่อสร้างศาลาอีสานเขียวเป็นชาวบ้าน ร้อยละ 55.5 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 77.8 ที่เข้าร่วมก่อสร้างศาลาอีสานเขียว เหตุผลที่เข้าร่วมโครงการก่อสร้างศาลาอีสานเขียวนั้น ร้อยละ 77.9 อยากเห็นหมู่บ้านเจริญเช่นที่เห็นตัวอย่างทางโทรทัศน์ ร้อยละ 22.1 เข้าร่วมเพราะเป็นกรรมการหมู่บ้านในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ศาลาอีสานเขียวหลังจากสร้างขึ้นมาแล้ว การศึกษาได้พบว่าส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70.5 ใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นที่ประชุมปรึกษาหารือของชุมชน นอกจากนั้นประชาชนก็ใช้ศาลาอีสานเขียวจัดงานประเพณีและใช้เป็นที่ต้อนรับผู้มาเยือนในส่วนที่คาดว่าจะใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์การฝึกอาชีพต่าง ๆ นั้นพบว่า ร้อยละ 39.4 ต้องการที่จะใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆ เช่น ฝึกอาชีพทางการเกษตร ร้อยละ 13.4 ต้องการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพทางการช่างฝีมือ ร้อยละ 21.4 ต้องการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกทางโภชนาการสาธารณสุข ใช้เป็นห้องสมุดและเป็นศูนย์ฝึกอุตสาหกรรมในครัวเรือนเกี่ยวกับการใช้ศาลาอีสานเขียวเป็นศูนย์ฝึกอาชีพต่าง ๆ โดยมีวีดิโอเทปความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ช่วยฝึกด้วย ประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดและต้องการศูนย์ฝึกอาชีพดังกล่าวในอัตราสูงมาก คือร้อยละ 90.3.ในส่วนการเปิดรับสื่อมวลชนของตัวอย่างนั้น ได้พบว่า ร้อยละ 71.6 ฟังวิทยุ ร้อยละ 92.7 ดูโทรทัศน์ และร้อยละ 64 เคยดูวีดิโอเทป ส่วนใหญ่ฟังวิทยุและดูโทรทัศน์รายการข่าวและบันเทิง สถานที่ฟังวิทยุและดูโทรทัศน์เป็นที่บ้านของตนเอง คือร้อยละ 76.6 ฟังวิทยุที่บ้าน ร้อยละ 62.6 ดูโทรทัศน์ที่บ้านในส่วนการมีเครื่องรับสื่อสารมวลชนนั้น จากการศึกษาได้พบว่าประชากรตัวอย่างโดยส่วนรวม ร้อยละ 81.0 มีเครื่องรับวิทยุ ร้อยละ 81.8 มีเครื่องรับโทรทัศน์ และร้อยละ 8.1 มีเครื่องเล่นวีดิโอเทป.ในส่วนเกี่ยวกับความต้องการความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและอาชีพเสริมนั้น การศึกษาได้พบว่าตัวอย่างโดยส่วนรวม ร้อยละ 98.0 ต้องการความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาอาชีพเดิม เป็นชาวบ้าน ร้อยละ 97.8 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 98.8 ตัวอย่างร้อยละ 97.4 ต้องการความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาอาชีพเสริม เป็นชาวบ้านร้อยละ 97.3 เป็นกรรมการหมู่บ้าน ร้อยละ 76.6.ในส่วนความต้องการและความเชื่อมั่นในศูนย์วีดิโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนั้น ได้พบว่าตัวอย่างร้อยละ 99.2 ต้องการศูนย์วีดิโอเทป ตัวอย่างร้อยละ 92.3 ยินดีบริจาคเงินส่วนตัวเพื่อร่วมจัดตั้งศูนย์วีดิโอเทป และร้อยละ 96.6 ยินดีเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ศูนย์วีดิโอเทป จำนวนเงินค่าใช้จ่ายในการใช้ศูนย์วีดิโอเทปได้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ร้อยละ 1-5 บาท 6-10 บาท และ 11-15 บาท ผลการศึกษาได้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.6ยินดีจ่ายครั้งละ 1-5 บาท ร้อยละ 34.5 ยินดีจ่าย ครั้งละ 6-11 บาท และร้อยละ 5.9 ยินดีจ่ายครั้งละ 11-15 บาท.ส่วนวีดิโอเทปความรู้ที่ตัวอย่างต้องการให้จัดให้มีไว้ในศูนย์วีดิโอนั้นมีหลายอย่างด้วยกันได้แก่ร้อยละ 98.2 ต้องการความรู้ด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้ด้านกฎหมายชาวบ้าน ร้อยละ 98.0 ต้องการความรู้ด้านสุขภาพพลานามัย ร้อยละ 96.4 ต้องการความรู้ด้านวิธีการทำการค้าขาย ร้อยละ 95.2 ต้องการความรู้อุตสาหกรรมในครัวเรือน ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม ร้อยละ 95.8 ต้องการความรู้เรื่องประชาธิปไตย ร้อยละ 95.6 ต้องการวีดิโอเทปด้านบันเทิง.ส่วนการบริหารศูนย์วีดิโอเทปหลังจากจัดตั้งขึ้นแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 62.8 เห็นว่าควรตั้งกรรมการหมู่บ้านขึ้นมาบริหาร ร้อยละ 37.0 เห็นว่าให้ทุกคนร่วมกันบริหาร ร้อยละ .2 ไม่มีความเห็นจากผลการศึกษาที่ได้พบนี้จึงมั่นใจว่า ศูนย์วีดิโอเทปที่จัดตั้งขึ้นที่ศาลาอีสานเขียวเป็นความต้องการของประชาชนและประชาชนให้ความร่วมมือในทุก ๆ ด้าน และจะเป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ และศูนย์วีดิโอเทปนี้จะเป็นศูนย์วีดิโอเทคโนโลยีต้นแบบศูนย์แรกของชนบทไทย เมื่อพัฒนาศูนย์วีดิโอเทปนี้เต็มรูปแบบแล้วจะกลายเป็นศูนย์วีดิโอที่พร้อมด้วยเครือข่ายและระบบอัตโนมัติที่ทันสมัยให้บริการสมาชิกได้อย่างเต็มที่107 หน้า.application/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)JF 1525 .C59 ส16สื่อมวลชนกับการพัฒนาชุมชน -- ไทยการบริหารการพัฒนาสื่อเพื่อการบริหารการพัฒนา : กรณีการจัดตั้งศูนย์วีดีโอเทปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ศาลาอีสานเขียวMedia for development administration : a case for videotape center to improve the quality of life in Green E-san public balltext--thesis--doctoral thesis10.14457/NIDA.the.1990.9