สุรชัย สุพโปฎก, อาจารย์ที่ปรึกษาสรศักดิ์ สร้อยสนธิ์2014-05-052014-05-051968http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1171วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.เป็นการศึกษาถึงระบบการบริหารงานบุคคลท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบที่มีคณะกรรมการระดับชาติ หรือรัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมการบริหารงานซึ่งมีอยู่หลายระบบ แต่ละระบบก็มีองค์การกลางบริหารงานบุคคลของตน ได้แก่คณะกรรมการพนักงานเทศบาล คณะกรรมการข้าราชการส่วนจังหวัด นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยควบคุมการบริหารงานบุคคลพนักงานสุขาภิบาล และพนักงานตำรวจอีกด้วย ส่วนการบริหารงานบุคคลในระดับท้องถิ่นนั้น องค์การบริหารงานบุคคลเป็นผู้กระจายอำนาจให้แก่องค์การบริหารบุคคลในระดับท้องถิ่นซึ่งมีอยู่ 3 คณะกรรมการ คือ อ.ก.จ. อ.ก.ท.จังหวัด และ อ.ก.ท.เทศบาล อย่างไรก็ดีแม้จะได้มีการกระจายอำนาจบริหารงานบุคคลให้แก่ท้องถิ่นดังกล่าวก็ยังปรากฏว่าท้องถิ่นยังมีอิสระในการบริหารงานบุคคลน้อย เนื่องจากรัฐบาลกลางยังเป็นผู้ออกระเบียบข้อบังคับ ควบคุมการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น โดยจัดให้มีผู้แทนของท้องถิ่น มีสิทธิ มีเสียงในด้านบริหารงานบุคคล และระบบบริหารงานสุขาภิบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่มีพนักงานตำบลอย่างแท้จริง แต่ได้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนไปปฏิบัติหน้าที่แทน ผู้เขียนเห็นว่าการบริหารงานบุคคลหลายระบบจะก่อให้เกิดข้อจำกัดในเรื่องการโอน การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนชั้น เลื่อนเงินเดือน และเลื่อนตำแหน่ง รวมทั้งไม่อาจแก้ไขเรื่องข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีเกียรติภูมิต่ำ ทำให้ขาดแคลนผู้มีความรู้ความสามารถเข้าทำงานในราชการบริหารส่วนท้องถิ่นได้ ดังนั้นจึงควรรวมระบบการทำงานบุคคลหลายระบบเข้าเป็นระบบเดียวกัน โดยปรับปรุงแก้ไขการจัดระบบบริหารงานบุคคลเสียใหม่ดังนี้คือ1. ให้มีการจัดรูปองค์การ คือ ให้มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของราชการส่วนท้องถิ่นระดับชาติเพียงองค์การเดียว ประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน อธิบดีกรมการปกครองเป็นกรรมการ ผู้อำนวยการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้มีกรรมการอื่น ๆ อีก รวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 9 คน สำหรับระดับท้องถิ่นควรให้มีคณะกรรมการเช่นกัน2. องค์การกลางบริหารงานบุคคลทั้งในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น จะต้องมีขอบเขตในการควบคุมพนักงานท้องถิ่นประจำในทุกระดับ.3. ควรให้องค์การบริหารบุคคลของราชการส่วนท้องถิ่นมีหน่วยงานเป็นอิสระและมีเจ้าหน้าที่บริหารงานของตนเองโดยเฉพาะ4. ควรมีความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกลางบริหารงานบุคคล และองค์การบริหารงานบุคคลในระดับท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด โดยองค์การกลางเป็นผู้ประสานงานให้ความช่วยเหลือทุกด้าน5. องค์การบริหารงานบุคคลของราชการส่วนท้องถิ่นควรจะหันนโยบายบริหารงานบุคคลไปในทางส่งเสริมสมรรถภาพ เกียรติศักดิ์ และความมั่นคงยิ่งขึ้น188 หน้า.application/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)JS 7404 .A1 ส17การปกครองท้องถิ่นการบริหารงานบุคคลระบบบริหารงานบุคคลของราชการบริหารส่วนท้องถิ่นtext--thesis--master thesis