สากล จริยวิทยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาอดาพร สันติธนานนท์2014-05-052014-05-051991http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1793วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2534.การศึกษามีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ คปต. 2) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดมีอิทธิพลมากน้อยเพียงไรต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ คปต. 3) เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของคณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) ต่อการปฏิบัติงานของ คปต. และ 4) เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของ คปต. และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ คปต.การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.) จำนวน 210 คน และคณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) จำนวน 120 คน จาก 30 ตำบล ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 330 คนผลการศึกษาพบว่า.1. อายุ รายได้ ระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ คปต. แต่ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง คปต. ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ คปต. การได้รับการฝึกอบรม การประสานงานภายใน คปต. การได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และกิจกรรมร่วมในตำบล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ คปต.2. ตัวแปรกิจกรรมร่วมในตำบลมีอิทธิพลมากที่สุดต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ คปต. รองลงมา คือ การได้รับการฝึกอบรม การประสานงานภายใน คปต. และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ คปต. ตามลำดับ.3. กสต. มีความเห็นว่า คปต. ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี แต่ไม่ค่อยมีการประสานงาน และมีความร่วมมือในการทำกิจกรรมในตำบลน้อย.4. ปัญหาในการปฏิบัติงานของ คปต. ที่สำคัญ คือ (1) ความไม่เข้าใจในโครงสร้าง องค์กรของ คปต. (2) ความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ คปต. (3) ผู้บังคับบัญชาให้การสนับสนุน คปต. น้อย (4) มีการประสานงานภายใน คปต. น้อย และ (5) กสต. และชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือแก่ คปต.จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ (1) การพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นคณะกรรมการ คปต. ควรคำนึงถึงคุณสมบัติส่วนตัวในด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และการสร้างกิจกรรมร่วมในตำบลมากกว่าอย่างอื่น (2) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของ คปต. สามารถทำได้โดยการฝึกอบรม คปต. ให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ให้มีมนุษยสัมพันธ์ มีการประสานงานและมีความร่วมมือ (3) ควรปรับปรุงกลไกการประสานงานของ คปต. โดยให้มีการใช้ระบบข้อมูลร่วมกัน มีการวางแผนและใช้แผนพัฒนาตำบลร่วมกัน และให้มีระบบการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของ คปต. ที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้ คปต. ปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นxiii, 231 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)HN 700.55 .Z9C6 อ14การพัฒนาชนบท -- ไทยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบล (คปต.)Factors affecting the efficiency of Tambol Development Support Working Group (TDSWG)text--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.1991.12