วิชัย อุตสาหจิตอรุณลักษณ์ รัตนสาลี2014-05-052014-05-052002b114303http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/652วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2545การศึกษารื่องการติดตามผลโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติของสำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน กระทรวงสาธารณสุข โดยศึกษาการนำความรู้และทักษะจากการฝึกอบรมไปประยุกด์ใช้ประ โยชน์ในการพัฒนาตนเองและพัฒนางานและปัญหาอุปสรรค ตลอดจนความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้เข้าอบรมต่อการปรับปรุงโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติ กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรสาธารณสุขที่เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติ ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2541-2542 จำนวน 2 รุ่น รวม 100 คน หลังจากได้ทดสอบแบบสอบถาม 20 ราย คงเหลือประชากรที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามส่งทางไปรษณีย์จำนวน 80 ราย การเก็บรวมรวมข้อมูลได้ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2545 และได้รับแบบสอบถามคืนมาสมบูรณ์และใช้ได้จำนวนทั้งสิ้น 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 72.5 ของประชากรทั้งหมดและสถิติที่ไช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้เข้าอบรมส่วนมากเป็นเพศหญิงมือายุเฉลี่ย 36 ปี ส่วนมากการศึกษาระดับปริญญาตรี และปฏิบัติงานในตำเหน่งนักวิชาการสาธาธารณสุข ปัจจุบันร้อยละ 70 ยังคงทำงานเกี่ยวข้องกับงานสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย งานส่งเสริมสุขภาพเบบไทย หรือการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติ ในขณะที่ร้อยละ 30 ได้เปลี่ยนไปทำงานด้านอื่น ๆ และหลังสำเร็จการฝึกอบรบรมใด้รับความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือ วารสาร และหนังสือพิมพ์ มากที่สุด 2. ผู้เข้าอบรมร้อยละ 100 ได้นำความรู้และเทคนิคจากหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง โดยมีระดับการนำความรู้ในแต่ละหมาดวิชาไปประยุกต์ใช้ประ โยชน์ในระดับ 3. ผู้เข้าอบรมร้อยละ 100 ได้นำความรู้และเทคนิคจากหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง โดยมีระดับการนำความรู้ในแต่ละหมวดวิชาไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในระดับปานกลาง ปัญหาอุปสรรคที่ผู้เข้าอบรมประสบจากการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ คือ ปัจจัยภายในตนเองที่เกิดจากขาดการจัดการพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเอง ไม่มีเวลา ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติ และปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4. ผู้เข้าอบรมร้อยละ 91.4 ได้นำผลของการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนางาน คือ ได้ริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร้อยละ 90.6 ได้รับการติดต่อให้ให้ไปเป็นวิทยากรร้อยละ 52.9 และให้มีการจัดตั้งกลุ่ม ชมรมเครือช่าย ร้อยละ 41.5 ปัญหาร ปัญหาอุปสรรคที่พบในการพัฒนางาน คือ ไม่มึงบประมาณสนับสนุนร้อยละ 69.8 ขาดวิทยากรในการฝึกอบรมที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะร้อยละ 67.9 และนโยบายของหน่วยงานไม่ชัดเจนร้อยละ 62.2 5. ผู้เข้าอบรมร้อยละ 83.9 มีความคิดเห็นต่อการจัดฝึกอบรมว่ามีความเหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 16.1 ตอบว่าควรปรับปรุง เช่น ควรปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรและวิธีการคัดเลือกผู้เข้าอบรม สำหรับความต้องการให้สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐานให้การสนับสนุนคือ 1) จัดให้มีโครงการฝึกอบรมหลายรุ่น / ปีและสามารถเบิกค่าลงทะเบียนได้ 2) จัดฝึกอบรมเนื้อหาวิชาและเทคนิคใหม่ ๆ เพิ่มเติม และ 3) จัดทำเอกสารวิชาการเผยแพร่ ตามลำดับ138 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติ -- การประเมินการฝึกอบรม -- ไทยสุขภาพการติดตามผลโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติFollow-up study of the training project on natural health caretext--thesis--master thesis