ณัฐกริช เปาอินทร์วรรณิภา คุดสีลา2024-09-102024-09-102015b190993https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6970วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการขนส่งสาธารณะในเขตเมือง เชียงใหม่ ศึกษาองค์ประกอบสาคัญต่อการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ศึกษา องค์ประกอบในการแก้ไขปัญหาการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน และ วิเคราะห์และเสนอทางเลือกในการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ที่เหมาะสม โดยใช้ วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งวิชาการ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและข้อมูลปฐมภูมิสาหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากประชาชนผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ จานวน 400 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบ สัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) การจัดการระบบขนส่งในเขตเมืองเชียงใหม่ จากนั้นทา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา จากแบบสอบถาม และใช้วิธีการ วิเคราะห์เน้อื หา (Content Analysis) จากผลการสัมภาษณ์ เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยพบว่า สภาพขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ การ ให้บริการขนส่งรถโดยสารสี่ล้อขนาดเล็ก (สี่ล้อแดง) และการให้บริการขนส่งรถเมล์โดยสารประจา ทาง โดยความต้องการขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ ประกอบด้วย 4 มิติ คือ 1) ประชาชนมีความ ต้องการให้ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการ เส้นทางรถประจาทาง และกาหนดโครงสร้างอัตราค่า โดยสารที่เหมาะสม 2) ผู้ขับรถขนส่งสาธารณะมีความต้องการให้ปรับปรุงการสนับสนุนด้านเงินทุน และการพัฒนาด้านมาตรฐานการให้บริการ 3) ผู้ประกอบการมีความต้องการให้ปรับปรุงการสนับสนุน งบประมาณจากภาครัฐอย่างยัง่ ยืน การพัฒนาระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และการรับรอง รายได้ของสมาชิกสหกรณ์ และ 4) ภาครัฐมีความต้องการให้พัฒนามาตรฐานการให้บริการเพิ่ม ทางเลือกในการเดินทาง และจัดรูปแบบและระยะการให้บริการเดินทางที่มีความสัมพันธ์กับถนิ่ ฐาน ที่ตั้งของชุมชน โดยองค์ประกอบสาคัญต่อการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ได้แก่ ระยะทางการให้บริการ ระยะเวลาการให้บริการ การบริการและการตลาด ผู้โดยสาร (ผู้ใช้บริการ) และคนขับรถสาธารณะ (ผู้ให้บริการ) อนึ่งองค์ประกอบในการแก้ไขปัญหาการจัดการ ระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ได้แก่ เอกภาพในการจัดการระบบขนส่ง สาธารณะ ความเชื่อมโยงของหน่วยงาน ความชัดเจนนโยบายและแผนงานในระดับปฏิบัติ การ สนับสนุนจากภาครัฐ และความสานึกและความร่วมมือของภาคประชาชน นอกจากนี้การมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7 กลุ่ม ได้แก่ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม สหกรณ์ผู้ประกอบการหรือ สหกรณ์เดินรถเชียงใหม่ลานนาผู้ขับรถสาธารณะ (สี่ล้อแดง) องค์การภาครัฐ นักการเมือง (นักการเมืองท้องถนิ่ ,ภูมิภาค,ประเทศ) สื่อมวลชนท้องถนิ่ และระดับประเทศ และนักวิชาการ เป็นส่วน สา คัญที่จะชว่ ยผลักดันให้เกิดการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ การวิจัยครัง้ นี้เสนอรูปแบบการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ โดยการ ให้บริการของรถโดยสารสี่ล้อขนาดเล็ก (สี่ล้อแดง) ประจาทาง เนื่องจากมีปัจ จัยที่เอื้อต่อการ ดาเนินงานมากกว่ารถประเภทอื่นและจากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ ได้มูลค่ารวมของ ต้นทุนเท่ากับ 1,694.56 ล้านบาท มูลค่ารวมของผลประโยชน์เท่ากับ 2,033.61 ล้านบาท เมื่อนามา คานวณมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดร้อยละ 5 ต่อปี จะได้มูลค่าปัจจุบันของต้นทุนเท่ากับ 74.12 ล้านบาท มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์เท่ากับ 142.40 ล้านบาท และเมื่อนามาวิเคราะห์ความคุ้มค่า ทางเศรษฐศาสตร์ของการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ได้มูลค่าปัจ จุบันของ ประโยชน์สุทธิ (Net Present Value: NPV) เท่ากับ 29.01 ล้านบาท อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อ ต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: B/C ratio) เท่ากับ 2.35 และอัตราค่าตอบแทนภายในจากการ ลงทุน (Economic Internal Rate of Return: EIRR) เท่ากับร้อยละ 19.66 โดยผลความคุ้มค่าทาง เศรษฐศาสตร์มีผลในทิศทางบวก แสดงว่าการจัดการระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ใน เส้นทางรถโดยสารสี่ล้อขนาดเล็ก (สี่ล้อแดง) ประจา ทางมีความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ในการลงทุน ดังนั้นมีข้อเสนอสาหรับการจัดรูปแบบการให้บริการรถขนส่งรถโดยสารสี่ล้อขนาดเล็ก (สี่ล้อ แดง) ประจา ทาง คือ 1) การจัดการระบบขนส่งรถโดยสารสี่ล้อขนาดเล็ก (สี่ล้อแดง) ประจา ทาง ดา เนินการโดยภาครัฐ (หน่วยงานท้องถนิ่ ) และ 2) การจัดการระบบขนส่งรถโดยสารสี่ล้อขนาดเล็ก (สี่ล้อแดง) ประจา ทางดา เนินการโดยภาคเอกชน214 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)ระบบขนส่งสาธารณะทางเลือกสาธารณะว่าด้วยการจัดการระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตเมืองเชียงใหม่Public choice on public transportation systems management in Chiangmai Urban areatext::thesis::master thesis10.14457/NIDA.the.2015.188