นันทา สู้รักษาอับซิซิส ฮามิ2022-05-052022-05-052015b193385https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5748วิทยานิพนธ์ (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558การศึกษาคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการ เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคความเครียดในการทำงาน และพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงานในองค์การรวมทั้งศึกษาอำนาจในการพยากรณ์พฤติกรรมองค์การเชิงบวกของความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค และความเครียดในการทํางานของพนักงานในองค์การ โดยใช้ แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนต่างประเภทกัน 5 องค์การๆ ได้แก่ องค์การด้านการให้บริการทรัพย์สินทางปัญญาการจัดการทางโลจิสติกส์ การให้บริการที่พักด้านการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์และองค์การภาครัฐ โดยได้รับแบบสอบถามคืนจากทุกองค์การจำนวนรวม 580 คน ผลการศึกษาพบว่า ก) ความสามารถในการ เผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวก (r = .338, p < .01) ข) ความเครียดในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมองค์การเชิงบวก (r = -.109, p < .01) ค) ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดในการ ทำงาน (r = -.156, p < .01) และง) ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคสามารถทำนายพฤติกรรมองค์การเชิงบวกของพนักงานของพนักงานในองค์กรได้ร้อยละ 19 (β = .388 , t = 10.112 , p < .01) ผลที่พบนี้เพียงพอที่ทำให้เสนอแนะได้ว่า เพื่อให้พนักงานมีพฤติกรรมองค์การ เชิงบวกเพิ่มขึ้น องค์การควรส่งเสริมพัฒนาให้พนักงานมีทกษะความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคเพิ่มขึ้น ซึ่งผลที่เกิดพร้อมกันไป คือพนักงานจะมีความเครียดในการทำงานลดลง144 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)ค่านิยมต่ออาชีพความผูกพันต่อองค์การพยาบาลความสัมพันธ์ระหว่างความสอดคล้องของค่านิยมบุคคลกับองค์การความผูกพันต่อองค์การและความพยายามทุ่มเทของพยาบาลวิชาชีพThe relationship between person-organizational value fit, organizational commitment and discretionary effort of professional nursetext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2015.90