พลภัทร บุราคม, อาจารย์ที่ปรึกษาดรุณวรรณ สมใจ2014-05-052014-05-052009http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/965วิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาตามแนวทางเชิงประจักษ์ (positive approach) เพื่อ วิเคราะห์นโยบายงบประมาณรายจ่ายสาธารณสุข และการกระจายตามพื้นที่จังหวัดใน ประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาในการวิจัยครั้งนี้อาศัยตัวเลขสถิติทุติยภูมิ (secondary data) เป็นหลักเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลสถิติทุติยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2549 เพื่อวิเคราะห์ในภาพรวมของประเทศ โดยมีตัวแปรตาม คือรายจ่าย สาธารณะด้านสาธารณสุข และใช้ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540-2549 รายจังหวัด โดยตัว แปรตามเป็นรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขที่ลงไปในแต่ละจังหวัด นอกจากนั้นผู้วิจัย ยังได้ วิเคราะห์เพิ่มในส่วนของผลกระทบของรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้น ด้วยว่า ทําให้สถานะสุขภาพของประชากรดีขึ้นหรือไม่งานวิจัยนี้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยสามารถยืนยันข้อค้นพบจาก การทดสอบทางสถิติได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกล่าวได้ว่าการขยายตัวของรายจ่ายสาธารณะ ด้านสาธารณสุขสามารถอธิบายได้ด้วย ทฤษฎีด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมและ ประชากร (Economic-Demographic Theory) และ ทฤษฎีด้านการตัดสินใจภายในองค์การ (Incrementalist Theory)เป็นสําคัญ โดยพบว่าปัจจัยที่สามารถอธิบายรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขในระดับประเทศได้คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านการตัดสินใจแบบ incremental มีตัวแปร ความสามารถในการหารายได้ของรัฐบาล และรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขปีก่อนหน้า โดยทั้งสองตัวแปรมีผลเชิงบวก ส่วนในระดับจังหวัด พบว่า ปัจจัยทสามารถอธิบายรายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุข ได้คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านทรัพยากรสุขภาพ โดยจําแนกเป็นปัจจัยที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ ปัจจัยด้าน เศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ การขยายตัวของประชากรสูงอายุ และปัจจัยด้านทรัพยากร สุขภาพ ส่วนปัจจัยที่มีผลเชิงลบ ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม ในด้านของการขยายตัวของชุมชนเมือง ในส่วนของผลกระทบที่มีผลต่อสถานะสุขภาพ ในระดับประเทศพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อ สถานะสุขภาพ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม และด้านทรัพยากรสุขภาพ โดยจําแนกเป็นตัวแปรที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การขยายตัวของชุมชนเมือง การขยายตัวของ ประชากรสูงอายุ และจํานวนแพทย์ ตัวแปรที่มีผลเชิงลบ ได้แก่การพัฒนาอุตสาหกรรม ส่วนใน ระดับจังหวัด พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะสุขภาพ คือ ปัจจัยด้านนโยบาย ได้แก่ รายจ่าย สาธารณะด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่การขยายตัวของผู้สูงอายุ และ ปัจจัยด้านการดํารงชีวิต ได้แก่การสูบบุหรี่โดยจําแนกเป็นตัวแปรที่มีผลเชิงบวก ได้แก่ การ ขยายตัวของประชากรสูงอายุ และการสูบบุหรี่ ตัวแปรที่มีผลเชิงลบ ได้แก่รายจ่ายสาธารณะด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด จะเห็นได้ว่า จากตัวแปรที่ สามารถอธิบายการขยายตัวของรายจ่าย สาธารณะด้านสาธารณสุข เช่น การขยายตัวของประชากรสูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต และจากการวิเคราะห์เชิงซิมูเลชั่น รายจ่ายจะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ภาครัฐจึงควรมีการเตรียมการรองรับการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายด้านนี้และเน้นให้รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น นั้นเกิดประโยชน์สูงสุด คือทําให้สถานะสุขภาพของประชาชนดีขึ้น ดังนั้นในการกระจายรายจ่าย ของภาครัฐ จึงควรมีการพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัจจัยด้านสังคม ร่วมกับการใช้ แนวคิด targeting for the poor โดยกระจายรายจ่ายให้ตรงตามอุปสงค์ของประชาชนที่ต้องการ อันจะนําไปสู่สุขภาพที่ดีขึ้นของประชาชนในประเทศ15, 194 แผ่น ; 30 ซม.application/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)HJ 2162.55 ด17 2009สาธารณสุข -- ไทย -- งบประมาณรายจ่ายของรัฐ -- ไทยนโยบายสาธารณสุข -- ไทยวิเคราะห์นโยบายงบประมาณรายจ่ายสาธารณสุขและการกระจายตามพื้นที่จังหวัดในประเทศไทยPublic budgeting analysis with special reference to the provincial distribution in Thailandtext--thesis--doctoral thesis10.14457/NIDA.the.2009.149