สุวิชา เป้าอารีย์พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท (งันลาโสม)2019-06-132019-06-132015b190499http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4457วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางวัฒนธรรมที่เด่นของชุมชนบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาชุมชนของชุมชนบ้านหนองช้าง 3) วิเคราะห์การบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมของการพัฒนาไปสู่ความเ ป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบ้านหนองช้าง การวิจัยนี้ดำเนินการตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 15 ราย และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เหตุผลเชิงตรรกะ และการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัยผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านหนองช้างเป็นชุมชนของคนชาติพันธุ์ผู้ไทย สมาชิกในชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติสูง มีความมุ่งมั่นในการรักษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ดำรงอยู่ ทั้งในเรื่องภาษา การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังสามารถนำมาบูรณาการกับการพัฒนาชุมชน โดยมีการปรับหรือประยุกต์บางส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ กระบวนการพัฒนาชุมชนในหมู่บ้านนี้ เริ่มต้นจากการรวมตัวของสมาชิกชุมชนเพื่อทบทวนแนวทางการพัฒนาในอดีตที่มีผลกระทบทางลบ แล้วหันมาให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต ด้วยการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาและสถาบันศาสนา มีความพยายามรักษาวัฒนธรรมควบคู่กับการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชน มีการวางแผนด้วยการทำประชาคมหมู่บ้าน ทำให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำและร่วมเรียนรู้ของสมาชิกชุมชน จนเกิดเป็นแผนชุมชนที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาด้านวัตถุ แต่เน้นไปที่การพึ่งตนเองตามวิถีชีวิตของชุมชนควบคู่กัน ต่อมามีภาคีเครือข่ายมาร่วมสนับสนุนการพัฒนา จนทำให้เกิดโครงการต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีรูปแบบที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกชุมชนในการแก้ปัญหาและปรับปรุงความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่บนฐานความเข้าใจบริบทของชุมชน และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกัน จึงเกิดการบูรณาการการพัฒนาด้านต่างๆอ ย่างสมดุล มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนควบคู่กับการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากภายนอกมาผสมผสานปรับใช้อย่างเหมาะสม แล้วสรุปเป็นบทเรียนเฉพาะของชุมชน จนสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็งข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ การที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นนำไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคนในชุมชนควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยที่ชุมชนควรมีการทบทวนบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกอยู่เสมอ ควรมีแผนพัฒนาชุมชนที่กำหนดเป้าหมายระยะยาวที่ให้ความสำคัญ กับหลายมิติแบบองค์รวม และการรู้จักพึ่งตนเองของชุมชน ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของคนในชุมชน236 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)พัฒนาชนบทวัฒนธรรมชุมชนมิติทางวัฒนธรรมของการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธ์ุCultural dimension of development towards community strengthening : a case study of Ban Nongchang community, Nongnchang Subdistict, Samchai District Kalasin Provincetext--thesis--master thesis10.14457/NIDA.the.2015.165