NIDA Wisdom Repository

 

Communities in DSpace

Select a community to browse its collections.

Now showing 1 - 6 of 6
Thumbnail Image

คณะและวิทยาลัย

NIDA Schools and Colleges

Thumbnail Image

สำนักงานอธิการบดี

NIDA Office of the President

Thumbnail Image

ผลงานวิชาการ

NIDA Scholars

Thumbnail Image

หน่วยงาน

NIDA Units

Thumbnail Image

วารสารวิชาการ

NIDA Academic Journals

Thumbnail Image

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

NIDA E-Books

Recent Submissions

Thumbnail Image
Item
การศึกษาความต้องการใช้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลในเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ธัชพงศ์พัฒน์ สีหะนาม; เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การศึกษาความต้องการใช้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลในเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลทางเว็บไชต์ของกองบริหารทรัพยากรบุคคล และการพัฒนาเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จำนวน 704 ราย ได้ขนาดของตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 255 ราย การสุ่มตัวอย่างสุ่มแบบโควตา(Quota Sampling) และแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมข้อมูล และได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน 232 ราย สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test เเล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณหาค่าสถิติต่างๆ สำหรับคำถามปลายเปิดใช้วิธีวิธีวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) แล้วเรียบเรียงออกมาเป็นประเด็นหลัก ซึ่งปรากฎผลการวิจัย ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.1 มีอายุระหว่าง 31 - 35 ปี ร้อยละ 21.6 การศึกษาระดับปริญญาตรี - ปริญญาโท มีจำนวนมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงานในหน่วยงานระดับคณะมากที่สุด ลักษณะงานที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านบริหารงานทั่วไป/ธุรการ อายุงานเฉลี่ย 9.36 ปี ส่วนที่ 2 การใช้เว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล กลุ่มตัวอย่างมีการใช้สารสนเทศหัวข้อข่าวประชาสัมพันธ์การอบรม และการรับสมัครงานมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.20 และสำหรับด้านข้อมูลการให้บริการ มีการใช้งานสารสนเทศแบบฟอร์มต่างๆ ของบุคลากรมากที่สุด มีคะเเนนเฉลี่ย 3.34 ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นต่อเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคลด้านความเหมาะสมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อเว็บไซต์ ด้านความน่าเชื่อถือมีความเหมาะสมมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 3.43 และมีความคิดเห็นว่าเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคลมีความเหมาะสมด้านความเป็นมัลติมีเดียน้อยที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 2.84 ส่วนที่ 4 ความต้องการเว็บไซต์ที่กองบริหารทรัพยากรบุคคคล หัวข้อที่กลุ่มตัวอย่างมีต้องการใช้ข้อมูลในระดับมาก คือ กฎระเบียบ หลักเกณฑ์วิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล คะแนนเฉลี่ย 3.82 รองลงมาคือ แบบฟอร์มต่างๆ ของบุคลากร มีคะแนนเฉลี่ย 3.80 ข้อมูลสวัสดิการสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของบุคลากร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีคะแนนเฉลี่ย 3.76 และ 3.69 ตามลำดับ หัวข้อที่มีความต้องการใช้ข้อมูลในระดับปานกลาง คือ หัวข้อความก้าวหน้าในสายอาชีพมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 3.67 รองลงมาคือ การพัฒนาบุคลากร มีคะแนนเฉลี่ย 3.53 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในการปฏิบัติราชการ และการสมัครงาน มีคะแนนเฉลี่ย 3.39 และ 3.22 ตามลำดับ สารสนเทศที่ต้องการให้มีในเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคลเพิ่มเติมในระดับมาก และมากที่สุด คือ รายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการปรับเงินเดือน/การปรับฐานเงินเดือน กฎระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ตัวอย่างผลงานทางวิชาการที่ดี รายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกอบรม ตัวอย่างคู่มือการปฏิบัติงาน/ผลงานทางวิชาการ ตัวอย่างการเขียนข้อมูล/กรอกข้อมูลความก้าวหน้าทางวิชาชีพ การแนะนำบุคลากรเข้าใหม่ และแบบฟอร์มภาษาอังกฤษสำหรับอาจารย์ชาวต่างประเทศ เป็นต้น โดยสารสนเทศที่ต้องการให้มีในเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคลเพิ่มเติมในระดับปานกลาง คือ ข้อมูลเกี่ยวกับอัตรากำลัง ตัวอย่างการทำเล่มรายงานผลงานเพื่อต่อสัญญาจ้าง และแนวข้อสอบการสอบเข้าหรือเนื้อหาการสอบเข้าทำงาน เป็นต้น สำหรับข้อเสนอแนะ เว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคลควรปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน เช่น ข้อมูลการประกาศรับสมัครงาน การประกาศผลสอบแข่งขันการสมัครงานให้ทันเวลาตามที่กำหนด ควรมีการพัฒนาช่องทางสำหรับติดต่อสอบถามหรือขอคำแนะนำผ่านทานทางเว็บไซต์ ควรทำลิงค์ข้อมูลต่างๆ ให้ดูง่ายในการสืบค้นหาข้อมูล ควรปรับปรุงความเป็นมัลติมีเดียให้มากขึ้น ให้มีรูปแบบที่มีความทันสมัย มีการจัดหมวดหมู่ในแต่ละเรื่องให้มีความเป็นระเบียบ มีการเชื่อมโยงข้อมูลให้ครอบคลุม และรวมทั้งความรวดเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์กองบริหารทรัพยากรบุคคล
Thumbnail Image
Item
ทัศนคติต่อการรับทุนสนับสนุนวิจัยของข้าราชการและพนักงานสายสนับสนุน : กรณีศึกษาทุนรางวัลค้นคว้าในวิทยาการการเขียนเอกสารวิชาการ
คณิตตา บุณนาค (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการวิจัยแบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการให้ทุนสนับสนุนทุนวิจัยของข้าราชการและพนักงานสายสนับสนุน กรณีศึกษาทุนรางวัลค้นคว้าในวิทยาการการเขียนเอกสารวิชาการ การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการให้ทุนส่งเสริมฯ การเขียนเอกสารวิชาการ ศึกษาปัญหา อุปสรรคของกระบวนการให้ทุนส่งเสริมการเขียนเอกสารวิชาการและศึกษาทางการพัฒนากระบวนการให้ทุนส่งเสริมการเขียนเอกสารวิชาการของสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์จำนวนทั้งหมด 528 ราย ซึ่งได้ขนาดของตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 225 ราย การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ที่เคยได้รับทุน จำนวน 4 ราย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แล้วนำข้อมูลมาดำเนินการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณหาค่าสถิติต่าง ๆ และพรรณนาตามผลการสัมภาษณ์ ซึ่งปรากฏผลการวิจัย ดังนี้ ผลการวิจัย พบว่า พนักงานสถาบันฯผู้ให้ข้อมูล เพศหญิง ร้อยละ 76.4 เพศชาย ร้อยละ 23.6 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 43.1 รองลงมา อายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 31.2 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 62.7 เป็นโสดร้อยละ 47.6 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 44.0 เป็นพนักงานสถาบัน ร้อยละ 36.9 เป็นนักวิชาการการเงินและนักบัญชีปฎิบัติการ ร้อยละ 8.9 รองลงมาเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ร้อยละ 6.7 สังกัดสำนักบรรณสารการพัฒนา มีร้อยละ 11.6 คณะสถิติประยุกต์ ร้อยละ 10.2 และกองคลังและพัสดุ ร้อยละ 7.1 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ร้อยละ 6.7 รองลงมา 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.6 อายุงานในสถาบันเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 16 – 20 ปี ร้อยละ 24.4 รองลงมา เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1 – 5 ปี ร้อยละ 18.7 ประสบการณ์การทำวิจัยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1 – 3 ปี ร้อยละ 20.0 รองลงมาอยู่ระหว่าง 4 – 6 ปี และ 10 – 12 ปี ร้อยละ 5.3 จำนวนเรื่องที่ผ่านการอนุมัติมี 1 เรื่องต่อคน คิดเป็น ร้อยละ 7.6 สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการขอทุน คือ ด้านประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึงต้องเปิดเว็บไซต์ของสำนักวิจัยเท่านั้นจึงจะทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการขอทุน และยังพบว่าการคัดเลือกหัวข้อในการทำวิจัยให้สอดคล้องเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติค่อนข้างยาก รวมทั้งปัญหาการไม่มีเวลาในการทำวิจัย ไม่มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยและปัญหาด้านขั้นตอนการส่งข้อเสนอโครงการใช้เวลานาน ระยะเวลาการแจ้งผลให้ทราบยังล่าช้า โดยมีข้อเสนอแนะ ควรเปิดโอกาสให้ทำวิจัยในหัวข้อที่สนใจ และสามารถนำผลงานมาใช้อ้างอิงในการขอเลื่อนตำแหน่งได้ ส่วนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการให้ทุน คือ มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง โดยการประชาสัมพันธ์รายบุคคล
Thumbnail Image
Item
ทัศนคติที่มีต่อระบบสารสนเทศ : กรณีศึกษาบุคลากรที่ใช้ระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงานด้านการเงิน การคลังและพัสดุ ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
วรรณา ชมเชย; ปราโมทย์ ลือนาม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของบุคลากรที่ใช้ระบบสารสนเทศด้านการเงิน การคลังและพัสดุ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทัศนคติของบุคลากรที่ใช้ระบบสารสนเทศ และปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะของบุคลากรที่ใช้งานระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรที่ใช้ระบบสารสนเทศในการปฏิบัติงานด้านการเงิน การคลังและพัสดุ ทั้งในส่วนกลางและคณะ/สำนัก จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม นำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลในโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเป็นสถิติแบบบ t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ระดับปานกลาง ได้รับความรู้จากการใช้ระบบสารสนเทศด้านการเงิน การคลังและพัสดุตามหลักสูตรที่สถาบันจัดให้ ผู้บริหารให้ความชัดเจน และเห็นความสำคัญที่นำระบบสารสนเทศมาใช้ระดับเห็นด้วยมาก ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศส่วนใหญ่มีทัศนคติในระดับดีมากเกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ช่วยทำให้เกิดความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องขึ้น ปัจจัยส่วนบุคคล อายุ ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ และการอบรมเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ส่งผลต่อทัศนคติของบุคลากรที่ใช้งานระบบสารสนเทศ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยงาน ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศปัจจัยด้านนโยบาย และด้านบริหารเกี่ยวกับความชัดเจนของนโยบาย ส่งผลต่อทัศนคติของบุคลากรที่ใช้งานระบบสารสนเทศ ในภาพรวมพบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ 0.05
Thumbnail Image
Item
แนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์การขอทุนวิจัยหลังปริญญาเอก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์กับมหาวิทยาลัยของรัฐ
สมปรารถนา ขจรวงศ์ไพศาล; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2013)
การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์การขอทุนวิจัยหลังปริญญาเอก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์กับมหาวิทยาลัยของรัฐ” มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และเสนอการปรับปรุงโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกหรือการพัฒนาโครงการวิจัยที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ด้านการวิจัย ในการวิจัยนี้ได้ใช้แบบสัมภาษณ์นักวิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ประกอบด้วยคำถามปลายเปิดซึ่งผู้วิจัยจะต้องนำมาสังเคราะห์ความเห็นเพื่อให้ได้ข้อมูลและผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากเอกสาร และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาวิเคราะห์เนื้อหา และอาศัยกรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาร่วมวิเคราะห์คำตอบ ผลการวิจัย พบว่าประสิทธิผลของการดำเนินงานโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกนักวิจัยมีความเข้าใจโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกซึ่งความรู้ที่นักวิจัยมีเหมาะสมกับการทำโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกมีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดีแต่ยังขาดประสบการในการตีพิมพ์โครงการวิจัยหลังปริญญาเอกจะประสบความสาเร็จได้จะต้องอาศัยประสบการณ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการตีพิมพ์เพื่อนักวิจัยจะได้ผลงานในการตีพิมพ์ที่มีคุณภาพ ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกซึ่งพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่จากการการขาดประสบการณ์ในการตีพิมพ์และไม่ทำตามเงื่อนไขของการตีพิมพ์ทำให้ไม่สามารถตีพิมพ์ได้ ปัจจัยเกี่ยวกับโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกผู้ขอรับทุนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและขั้นตอนการทางานวิจัยอย่างดี แนวทางการพัฒนาโครงการวิจัยหลังปริญญาเอก ควรมีคู่มือของโครงการวิจัยหลังปริญญาเอกที่ระบุทั้งกฎระเบียบและแนวทางในการปฏิบัติทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และควรมีแบบฟอร์มต่างๆ ที่ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนพร้อมคำแนะนำรวมถึงปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็วและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น และมีผู้เชี่ยวชาญในการตีพิมพ์ที่คอยให้คาปรึกษาแก่นักวิจัย
Thumbnail Image
Item
สำรวจสภาวะการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในบริบทการทำงานระดับสากล
สงคราม ไชยแก้ว; นิรมล อริยอาภากมล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแหล่งอาชีพ ผลตอบแทน และสภาวะการทำความต้องการความรู้เพื่อใช้ทำงานในระดับสากล ประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาคพิเศษ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีตำแหน่งงานในระดับปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 73.94 ทำงานอยู่ในองค์กรเอกชนไทย ประเภทสถาบันการเงิน รองลงมาคืออุตสาหกรรม ด้านการให้บริการทั้งคนไทยและต่างชาติ ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน ใช้ทักษะความรู้เกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศในการทำงานระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 49.70 หน่วยงานที่ทำส่วนใหญ่มีกระบวนการหรือกลไกเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล เนื่องจากต้องมีการแข่งขันกับหน่วยงานต่างชาติ หน่วยงานส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานที่ชื่อเสียงระดับชาติและนานาชาติ และได้การรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานสากล คิดเป็นร้อยละ 82.42 มีการนำมาตรฐานสากลมาใช้ยกระดับการแข่งขัน และมีการทำงานร่วมกับบุคลากรต่างชาติในหน่วยงานนักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.27 ได้นำความรู้จากการเรียนในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ในการทำงานระดับสากลมาก และช่วยให้มีโอกาสได้งานทำในหน่วยงานระดับสากลมากขึ้นด้วยทักษะความรู้ที่นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการนำไปประยุกต์ใช้ทำงานในระดับสากลคือ ทักษะด้านภาษาและการสื่อสารภาษาอังกฤษ และความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ รายวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการทำงานคือ มหเศรษฐศาสตร์ การวางแผนกลยุทธ์ การวิเคราะห์โครงการ การบริหารการเงินระหว่างประเทศ และวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ รายวิชาหรือประเด็นที่ควรปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ทำงานในระดับสากลคือ วิชาเศรษฐมิติและการพยากรณ์ โดยควรนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาและสามารถนำไปใช้ในการทำงานได้จริง รายวิชาหรือประเด็นความรู้ที่ควรเพิ่มคือ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ส่วนกิจกรรมที่ควรจัดให้กับนักศึกษาเพื่อรองรับการทำงานในระดับสากลคือ กิจกรรมการศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ การเปิดอบรมหลักสูตรเสริมความรู้ระยะสั้น การเชิญวิทยากรต่างชาติมาบรรยาย และการจัดสัมนาวิชาการระดับนานาชาติ นอกจากนี้พบว่าคุณสมบัติของผู้สอน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถเสริมสร้างความรู้ในระดับสากลได้คือ ควรมีความรู้และประสบการณ์ทำงานในระดับสากล เทคนิคการสอนแบบสากล การสอนเป็นภาษาอังกฤษหรือสองภาษา เปิดกว้างให้ชักถามและแสดงความคิดเห็น มีวิสัยทัศน์กว้างไกลทันเหตุการณ์ มีการนำกรณีศึกษาต่างประเทศมาประกอบการเรียนการสอน มีการนำเอกสารและตำราต่างประเทศมาประกอบ มีห้องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีวารสารต่างประเทศแบบ e-book ให้ Download มีห้อง Lab ภาษาอังกฤษ มีระบบ Software online มีสถานที่จำลองในการทำธุรกิจ และมีระบบสารสนเทศหรือฐานข้อมูลที่สามารถเสริมสร้างความรู้ในระดับสากลเช่น งานวิจัยหรือบทความวิชาการระดับนานาชาติเป็นต้น
Thumbnail Image
Item
แนวทางการสร้างความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันร่วมกับระบบบริหารจัดการเครื่องพิมพ์จากส่วนกลาง
ญาณี ตั๋นไชยยา; นิธินันท์ ธรรมากรนนท์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
ในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสาคัญในการดาเนินงานขององค์กร เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน (MFP) ที่ผสานกับระบบจัดการการพิมพ์แบบรวมศูนย์ (PMS) ได้กลายเป็นส่วนสาคัญของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีสาหรับทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ อุปกรณ์เหล่านี้ไม่เพียงอานวยความสะดวกในการพิมพ์เอกสาร แต่ยังรองรับการสแกน การถ่ายเอกสาร และการส่งแฟกซ์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดาเนินงาน งานวิจัยนี้มุ่งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันที่เชื่อมต่อกับระบบ PMS พร้อมนาเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้มาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย และวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้ข้อมูลพนักงานในการจัดการเครื่องพิมพ์ภายในองค์กร ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูล การศึกษานี้ครอบคลุมการสารวจความเสี่ยงทางเทคนิคของเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชัน ช่องโหว่ด้านสถาปัตยกรรมระบบ ความเสี่ยงด้านพฤติกรรมของผู้ใช้ และผลกระทบทางกฎหมาย พร้อมเสนอแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาความเสี่ยงเหล่านี้ โดยเน้นย้าความสาคัญของการปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022 และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและรักษาความปลอดภัยขององค์กร ผลการวิจัยได้รับการจัดหมวดหมู่ตามการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเทคนิค สถาปัตยกรรม พฤติกรรม และกฎหมาย ซึ่งนาเสนอกรอบการทางานที่ครอบคลุมสาหรับองค์กรในการพัฒนามาตรการรักษาความปลอดภัย
Thumbnail Image
Item
มาตรการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ สำหรับระบบเว็บไซต์ของหน่วยงานขนาดเล็ก
ศุภฤกษ์ ภัทรรัชต์ภาคย์; ปราโมทย์ กั่วเจริญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
เว็บไซต์เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลสาธารณะ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่ต้องจัดทำเว็บไซต์ตามข้อกำหนดการตรวจประเมินความโปร่งใส ITA อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานขาดความพร้อมด้านเทคโนโลยี ขาดบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัย และขาดแคลนงบประมาณ ทำให้ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีและยึดครองเว็บไซต์เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย การศึกษานี้นำเสนอมาตรการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับเว็บไซต์ของหน่วยงานขนาดเล็ก ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และคัดเลือกแนวปฏิบัติที่ดีจากมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ, NIST Cybersecurity Framework และ ISO/IEC 27001 ใช้การออกแบบสถาปัตยกรรมแบบ Single-node Multi-layer Defense การติดตั้ง Security Patch Update, การทำ Configuration Hardening, การคัดเลือกซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่จำเป็นสำหรับควบคุม ตรวจจับ และป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ การเพิ่มระบบป้องกันการโจมตีเว็บไซต์ Web Application Firewall (WAF) และการใช้ระบบ Automation ผ่าน Ansible ในการทำ Centralized Management ทำให้สามารถดำเนินการบนงบประมาณจำกัด แต่มีประสิทธิภาพสูง ลดความเสี่ยง ยกระดับความมั่นคงปลอดภัย และเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของหน่วยงานภาครัฐ
Thumbnail Image
Item
แนวทางการพัฒนาและยกระดับสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ระดับ Eco-Excellence) กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี 1
ธนา สุวศิน; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงในมิติด้านต่าง ๆ ในการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี 1 และแนวทางการพัฒนาและยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี 1 สู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence ตามคู่มือเกณฑ์การตรวจประเมินเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยใช้แบบประเมินและการสัมภาษณ์แบบซึ่งหน้าเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทภายในนิคมฯ จำนวน 10 บริษัทและผู้บริหารรวมถึงพนักงานสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี 1 และชุมชนโดยรอบ จำนวน 8 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ช่องว่างการพัฒนา (Gap Analysis) เพื่อให้ทราบแนวทางการพัฒนาและยกระดับ ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี 1 ในมิติ 1) มิติสิ่งแวดล้อม 2) มิติสังคม 3) มิติการบริหารจัดการ เป็นจุดแข็งมีความโดดเด่นในการพัฒนาโดย 1) มิติสิ่งแวดล้อมพบว่าโรงงานสามารถดำเนินการวางแผน วิเคราะห์ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดการใช้วัตถุดิบ น้ำ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2) มิติสังคมด้านวัสดุเหลือใช้พบว่าโรงงานผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมนำส่งข้อมูลตามระบบการจัดการของเสียออกนอกโรงงานครบถ้วนตามระบบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ด้าน Happy Workplace นิคมฯ และโรงงานมีการดำเนินงานครบทั้ง 8 ประการและด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและด้านความรับผิดชอบต่อสังคมพบช่องว่างโดยมีโรงงานในนิคมฯ ยังไม่ได้รับการรับรอง CSR-DIW หรือ ISO 26000 3) มิติบริหารจัดการพบว่านิคมฯ มีการจัดประชุมและเผยแพร่ผลการดำเนินงานเฝ้าระวังคุณภาพทางสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring) สู่ชุมชนและหน่วยงานภายนอกให้รับทราบทุก 6 เดือน ด้านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับ 4 พบว่าปัจจุบันโรงงานในนิคมฯ ยังไม่มีโรงงานที่ผ่านการตรวจประเมินรับรอง อย่างไรก็ตามในมิติ 4) มิติกายภาพ 5) มิติเศรษฐกิจ ยังพบช่องรวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการตอบแบบสอบถามและการขาดการร่วมดำเนินงานระหว่างโรงงานและนิคมฯ โดย 4) มิติกายภาพด้านขนส่งพบว่ามีโรงงานเพียง 1 โรงงานที่ตอบแบบประเมิน และ 5) มิติเศรษฐกิจด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนพบว่านิคมฯและโรงงานยังขาดความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกันในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มอาชีพของชุมชนเพราะโรงงานแต่ละโรงงานจะดำเนินการด้าน CSR ด้วยตนเอง
Thumbnail Image
Item
ปัจจัยการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
ปิณฑิรา เดชเดชะ; ณพงศ์ นพเกตุ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 ของโรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน และกลยุทธ์เชิงนโยบาย โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมการวิจัยใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร พนักงาน และพนักงานผู้ช่วย จำนวน 109 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลัก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อายุการทำงาน ระดับการศึกษา และสถานภาพการทำงาน มีผลต่อการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวในหลากหลายมิติ ขณะที่เพศไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุงานมากหรืออยู่ในระดับบริหารมีความเข้าใจและมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมแนวทางการดำเนินงานตามหลักการของอุตสาหกรรมสีเขียวมากกว่ากลุ่มอื่นจากผลการวิจัยเสนอให้มีการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมกับกลุ่มพนักงานในระดับต่าง ๆ ส่งเสริมการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ออกแบบแนวทางการประยุกต์ใช้ที่สอดคล้องกับบริบทของอุตสาหกรรม และเปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวระดับสูงสุดอย่างแท้จริง
Thumbnail Image
Item
การประเมินพื้นที่เสี่ยงมลพิษทางน้ำจากแหล่งกำเนิดมลพิษ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม
ศศิมา มีสิริมณีกาญจน์; ฆริกา คันธา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณมลพิษของภาระอินทรีย์ (BOD Loading) จากแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำทั้งที่มีจุดกำเนิดแน่นอน (Point Source) ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม (ประเภทที่ 3) ฟาร์มสุกร อาคารบางประเภทและบางขนาด (อาคารขนาดใหญ่) บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำทั้งที่มีจุดกำเนิดไม่แน่นอน (Non-Point Source) ได้แก่ ชุมชน พื้นที่นาข้าว และพื้นที่ไม้ผลและไม้ยืนต้นในจังหวัดสมุทรสงคราม รวมถึงการประเมินพื้นที่เสี่ยงด้านมลพิษทางน้ำ โดยนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ (Potential Surface Analysis: PSA) ในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง BOD Loading กับคุณภาพน้ำในแม่น้ำแม่กลองเพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการมลพิษทางน้ำในพื้นที่อย่างเป็นระบบและยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำแม่น้ำแม่กลองในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามในช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2567 โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ “พอใช้” (ค่าดัชนีคุณภาพน้ำ WQI อยู่ระหว่าง 66 – 70) โดยบริเวณจุดตรวจวัดปากแม่น้ำแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม (MK01) มีการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน และบริเวณจุดตรวจวัดสะพานสมเด็จพระอัมรินทร์ อำเภอบางคนที (MK04) มีการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สำหรับการประเมินศักยภาพพื้นที่รองรับด้านมลพิษทางน้ำของจังหวัดสมุทรสงคราม พบมีปริมาณมลพิษของภาระอินทรีย์ (BOD Loading) ทั้งหมด 3,852,731.70 กิโลกรัมต่อปี โดยแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.16 รองลงมาแหล่งกำเนิดประเภทชุมชน คิดเป็นร้อยละ 31.4 พื้นที่ไม้ผลและไม้ยืนต้น คิดเป็นร้อยละ 4.98 บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คิดเป็นร้อยละ 2.26 อาคารบางประเภทและบางขนาด คิดเป็นร้อยละ 1.64 ฟาร์มสุกร คิดเป็นร้อยละ 0.53 พื้นที่นาข้าว คิดเป็นร้อยละ 0.40 และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คิดเป็นร้อยละ 0.09 ตามลำดับ และหากพิจารณาเชิงพื้นที่ พบว่าพื้นที่ความเสี่ยงด้านมลพิษทางน้ำมาก ได้แก่ ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา ตำบลลาดใหญ่ ตำบลบ้านปรก ตำบลแม่กลอง ตำบลบางแก้ว และตำบลบางขันแตก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ตามลำดับ ซึ่งล้วนตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำแม่กลองและคลองสาขา จากผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางบริหารจัดการมลพิษทางน้ำในระดับจังหวัด ทั้งในด้านการควบคุมแหล่งกำเนิด การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เสี่ยง และการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และภาคประชาชนในการฟื้นฟูคุณภาพน้ำอย่างยั่งยืน The study focused on the loads of biochemical oxygen demand (BOD Loading) from both point sources and non-point sources of water pollution in Samut Songkhram Province. The point sources include industrial factories (category 3), swine farms, large buildings, aquaculture ponds, and fuel stations. Non-point sources include communities, rice paddies and areas of fruit trees and perennial crops. The study also evaluates water pollution risk areas using Geographic Information System (GIS) combined with Potential Surface Analysis (PSA) for spatial analysis. Additionally, the research investigates the relationship between BOD Loading and the water quality of the Mae Klong River to propose systematic and sustainable water pollution management strategies. The study found that the water quality of the Mae Klong River in Samut Songkhram Province during 2020–2024 was generally rated as “fair,” with Water Quality Index (WQI) values ranging from 66 to 70. The monitoring point at the mouth of the Mae Klong River in Mueang District (MK01) showed contamination by total coliform bacteria (TCB) exceeding standard levels. Similarly, the monitoring point at Somdet Phra Amarin Bridge in Bang Khonthi District (MK04) showed fecal coliform bacteria (FCB) contamination exceeding standards. Regarding the area’s capacity to handle water pollution, the total BOD Loading was found to be 3,852,731.70 kilograms per year. The highest contribution came from industrial factories (58.16%), communities (31.4%), fruit tree and perennial crop areas (4.98%), aquaculture ponds (2.26%), large building (1.64%), swine farms (0.53%), rice paddies (0.40%), and fuel stations (0.09%), respectively. Spatial analysis identified high-risk areas for water pollution, including Phraek Nam Daeng Subdistrict in Amphawa District, and the subdistricts of Lat Yai, Ban Prok, Mae Klong, Bang Kaew and Bang Khan Taek in Mueang Samut Songkhram District. These areas are all located near the Mae Klong River and its tributary canals. The findings of this research can serve as a foundational resource for provincial-level water pollution management, including regulating pollution sources, prioritizing high-risk areas, and fostering collaboration among government agencies, local authorities, private sectors, and communities to sustainably restore water quality.
Thumbnail Image
Item
ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ชุมชนตลาดเก่านาเกลือ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ปิติยาพร ภักดีแก้ว; อัจฉรา โยมสินธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ระดับความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการน้ำเสียของชุมชนตลาดเก่านาเกลือ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการน้ำเสียในชุมชนตลาดเก่านาเกลือตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการศึกษาแบบสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในชุมชนตลาดเก่านาเกลือ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีจำนวน 345 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ รวมทั้ง ศึกษาจากข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ชุมชนตลาดเก่านาเกลือ ได้แก่ เพศ อายุ เจนเนอรชั่น การศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน นอกจากนี้ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียในชุมชน ระดับความรู้ความเข้าใจในการจัดการน้ำเสีย และทัศนคติในการจัดการน้ำเสียส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการน้ำเสียในพื้นที่ชุมชนตลาดเก่านาเกลือ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า เมืองพัทยาให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำเสียอย่างเป็นระบบ โดยมีการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับได้ถึง 108,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พร้อมทั้ง มีแผนขยายความสามารถเพื่อรองรับการเติบโตของเมืองและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งอย่างเคร่งครัด ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ คือ ภาคชุมชนมีบทบาทสำคัญในการร่วมดูแลคุณภาพน้ำ หน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องจึงควรจัดกิจกรรมรณรงค์ เช่น โครงการ "คลองสวย น้ำใส" เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมบทบาทเยาวชนในการเรียนรู้และร่วมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ปรับปรุงการสื่อสารผ่านสื่อที่เข้าถึงง่าย เช่น รถโฆษณาเคลื่อนที่ เพื่อสื่อสารนโยบายและแนวทางในการจัดการน้ำเสียชุมชนอย่างเหมาะสม
Thumbnail Image
Item
แนวทางการพัฒนาองค์กรมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 กรณีศึกษา บริษัทเดอะเปอร์เฟคท์ซิล แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด
ณิรินทร์ญา จรูญสินจารุภัทร์; จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบริษัทให้บรรลุมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์หาช่องว่าง (Gap Analysis) โดยการเปรียบเทียบเกณฑ์ของอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ตามข้อกำหนดของกระทรวงอุตสาหกรรมกับแนวทางการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมสีเขียวของบริษัทในปัจจุบัน เพื่อระบุช่องว่างที่มีอยู่และเสนอแนวทางในการปรับปรุง การศึกษานี้ดำเนินการเก็บข้อมูลผ่านการทบทวนเอกสารและการสัมภาษณ์ กลุ่มข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่น ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่รอบสถานประกอบการ รวมทั้งสิ้น 30 คน การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) การวิเคราะห์บริบทองค์กรโดยใช้ SWOT Analysis และการกำหนดกลยุทธ์โดยใช้ TOWS Matrix เพื่อผลักดันให้บริษัทบรรลุความสำเร็จในอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า บริษัทได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ข้อกำหนดครบถ้วนใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. บริบทขององค์กร 2. ความเป็นผู้นำ (ความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น) 3. การนำไปปฏิบัติ 4. การทบทวนและการรักษาระบบ อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนในการดำเนินการขององค์กรคือ การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ โอกาสเพื่อการพัฒนาองค์กร ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกมากขึ้น ความเชื่อมั่นของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและการลงทุนกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กลยุทธ์ของบริษัทจึงควรมุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรโดยแต่งตั้งตัวแทนชุมชน ส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกับประชาชนและหน่วยงานภาครัฐในการติดตามและตรวจสอบกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
Thumbnail Image
Item
พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
ณัฐนิชา พรมสุข; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองละลอก วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือน และเสนอแนวทางในการลดและจัดการขยะในครัวเรือนอย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ และใช้การวิจัยแบบสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก ตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำแนกแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 140 คน รวมถึงการศึกษาจากข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกันนั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ยกเว้น ปัจจัยส่วนบุคคล(เพศ) ซึ่งที่ส่งผลคือ อายุ อาชีพ การศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รวมถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ทัศนคติในการจัดการขยะมูลฝอย และการรับรู้ข่าวสารในการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการจัดการขยะ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คำสำคัญ พฤติกรรม ขยะมูลฝอย ครัวเรือน
Thumbnail Image
Item
ศักยภาพในการตอบสนองความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนรัศมี 1 กิโลเมตรจากคลังก๊าซบ้านโรงโป๊ะ จังหวัดชลบุรี
เบญจมินทร์ หมื่นแสน; จำลอง โพธิ์บุญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงศักยภาพในการตอบสนองความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนรัศมี 1 กิโลเมตรจากคลังก๊าซบ้านโรงโป๊ะ จังหวัดชลบุรี และปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับศักยภาพในการตอบสนองความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของชุมชน โดยวิธีการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และใช้การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนรัศมี 1 กิโลเมตรจากคลังก๊าซบ้านโรงโป๊ะ จังหวัดชลบุรี จำนวน 80 คน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานคือ Pearson's Correlation ผลการศึกษามีดังนี้ 1) ด้านปัจจัยบุคคล พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาอนุปริญญา อาศัยในชุมชน 10 ปีขึ้นไปและมีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 2) ด้านความเสี่ยงด้านความปลอดภัย พบว่ามีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชนมาก 3) ด้านศักยภาพการตอบสนองความเสี่ยงด้านความปลอดภัย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ด้านปัจจัยที่เกี่ยวกับศักยภาพการตอบสนองความเสี่ยงด้านความปลอดภัย พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ศักยภาพการตอบสนองความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านความรู้และทักษะพื้นฐานในการช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน การเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการช่วยเหลือตนเอง การฝึกอบรมหรือซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ความร่วมมือที่ดีระหว่างชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ผู้นำชุมชนให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพด้านความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะ คือ 1) ควรจัดกิจกรรมหรือหลักสูตรอบรมให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดกิจกรรมการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุร่วมกับชุมชนอย่างน้อยปีละ 1–2 ครั้ง 3) ควรมีช่องทางการประสานงานที่ชัดเจนระหว่างชุมชน หน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น
Thumbnail Image
Item
กรณีศึกษา : ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของวิสาหกิจ SMEs ขนาดกลางในกรุงเทพมหานคร
กิตติภูมิ รัตนบุญชัยพงศ์; นิธินันท์ ธรรมากรนนท์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของธุรกิจที่มีผลต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของวิสาหกิจขนาดกลาง (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของวิสาหกิจขนาดกลาง (SMEs) ในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเสนอแนวทางในการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับ วิสาหกิจขนาดกลาง (SMEs) ในกรุงเทพมหานครการวิจัยมุ่งตอบคำถามว่าองค์กรขนาดเล็กสามารถระบุและจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ในความมั่นคงปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร วิธีดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรม การวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารในองค์กร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อระบุประเด็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจที่ต่างกันมีความแตกต่างกันในประเภทข้อมูลที่ต้องปกป้อง และระดับความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งส่งผลต่อมาตรการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เหมาะสม ปัจจัยที่แตกต่างกันนี้มีผลโดยตรงต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในขณะที่องค์กรที่ขาดทรัพยากรและขาดการตระหนักรู้ อาจเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์ได้ง่ายขึ้น ด้วยเทคโนโลยีทุกอย่างมีช่องโหว่ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ หากไม่ได้รับการอัปเดต ความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอก็อาจถูกโจมตีได้ ด้วยการใช้งานของพนักงานหรือบุคลากรที่ทำผิดพลาดจากใช้รหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย หรือทำการเปิดเผยข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้ตั้งใจ หากพนักงานไม่ได้รับการฝึกอบรมให้รู้เท่าทันภัยคุกคามเหล่านี้ อาจทำให้เกิดเหตุร้ายได้ง่ายขึ้น ผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านไซเบอร์สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการวิจัย คือความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ คำสั่งหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ควรขยายขอบเขตการศึกษาให้ครอบคลุมผู้ประกอบการที่หลากหลายมากขึ้น และติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
Thumbnail Image
Item
กระบวนการบริหารจัดการธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า จังหวัดระยอง อย่างยั่งยืน
สรวิศ แสงประไพ; พรพรหม สุธาทร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิลชุมชนวัดชากลูกหญ้า จังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาปัญหาในการดำเนินงานและความต้องการของชุมชนที่มีต่อธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิลชุมชนวัดชากลูกหญ้า จังหวัดระยอง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางกระบวนการบริหารจัดการธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิลชุมชนวัดชากลูกหญ้า จังหวัดระยอง อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้แทนจากธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิลชุมชนวัดชากลูกหญ้า จังหวัดระยอง ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนสถานศึกษาในพื้นที่ และผู้แทนภาคประชาชน โดยผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลในรูปแบบการสรุปผลตามหลักการของ Balanced Scorecard ที่สามารถสรุปประเด็นได้ 4 มิติ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (SWOT Analysis) โดยเน้นในประเด็นกระบวนการบริหารจัดการธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิลชุมชนวัดชากลูกหญ้า จังหวัดระยอง สามารถนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการบริหารจัดการของธนาคารคัดแยกขยะชุมชนวัดชากลูกหญ้ามีระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารที่ตัดสินใจได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2) การดำเนินงานยังมีปัญหาโดยพบว่าชุมชนยังขาดความรู้ในการคัดแยกขยะต้นทางอย่างถูกต้อง และการมีส่วนร่วมที่ไม่ต่อเนื่อง ความต้องการหลักคือการฝึกอบรมและการเข้าถึงข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรีไซเคิล มีข้อจำกัดในการใช้เทคโนโลยีเนื่องจากบุคลากรที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และยังเผชิญกับความท้าทายจากการขาดความร่วมมือของประชากรแฝง เนื่องจากพื้นที่ติดกับนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีประชากรแฝงเป็นจำนวนมาก 3) ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างชุมชน ภาครัฐ และเอกชน เพื่อขยายเครือข่ายของธนาคารขยะรีไซเคิลให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ทั้งในระดับชุมชนและเมืองต่างๆ พร้อมจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรอย่างเหมาะสม สนับสนุนกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ พัฒนาบุคลากรและปรับปรุงโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบธนาคารขยะ และจัดตั้งระบบติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
Thumbnail Image
Item
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) การบริหารจัดการขยะครบวงจร กรณีศึกษาชุมชนวัดชากลูกหญ้า
สุวรรณี จันทรทิพย์; วิสาขา ภู่จินดา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของการบริหารจัดการขยะครบวงจรของวิสาหกิจชุมชนธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิลชุมชนวัดชากลูกหญ้า ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน และเสนอแนวทางการจัดการที่นำไปสู่ความยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 14 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา และประชาชนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า ค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนมีค่าเท่ากับ 3.94 แสดงให้เห็นว่า ทุกการลงทุน 1 บาท สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่สังคมในมูลค่า 3.94 บาท ซึ่งสะท้อนถึงความคุ้มค่าและผลลัพธ์เชิงบวกทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง แนวทางการจัดการขยะของชุมชนวัดชากลูกหญ้าแบ่งออกเป็นสามมิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาระบบจัดการขยะของชุมชนอื่นได้อย่างยั่งยืน
Thumbnail Image
Item
Design of programming data analytic for access controls auditing
Natyapat Suwannapruk; Nithinant Thammakoranonta (National Institute of Development Administration, 2024)
In the contemporary business landscape, technology is indispensable for growth and resilience, while data has emerged as a cornerstone asset. To effectively guide organizational development, the internal audit function must seamlessly integrate data analytics. This study delves into the significance of information technology and data analytics skills for business internal auditors and explores how data analytics tools can be integrated into audit functions, focusing on access control auditing. The study begins by examining the roles of data analytics tools within audit functions and reviewing relevant International Internal Audit Standards and Guidelines related to data analytics. Subsequently, it analyzes Thai regulation and International Standards pertaining to access controls to design effective testing procedures for these security measures. Building upon this literature review, the study develops a Pseudocode concept to translate traditional access control testing procedures into a series of technical steps. This allows for a demonstration of the advantages of utilizing data analytics tools for testing compared to traditional methods. The study’s outcome includes testing flowcharts, Pseudocode designs, and an example of Python script. These demonstrate how internal auditors can leverage data analytics tools to streamline their processes and enhance both effectiveness and efficiency. However, the study acknowledges limitations, such as the technical skills required, data privacy and security concerns, and the organizational context.
Thumbnail Image
Item
ปัญหาการตีความอีโมจิภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560
กฤตยชญ์ เสริมวัฒนากุล; อัญธิกา ณ พิบูลย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการตีความอีโมจิ (Emoji) ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 โดยเน้นการศึกษาในทางกฎหมายและแนวโน้มของการนำอีโมจิมาใช้เป็นหลักฐานในคดีความทางกฎหมาย และมุ่งเน้นศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยรวบรวมข้อมูลจากกฎหมาย ข่าว บทความ งานวิจัย และกรณีศึกษาในต่างประเทศ เพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาในการตีความอีโมจิว่าเป็น “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือไม่ และผลกระทบของการตีความอีโมจิที่แตกต่างกันในบริบทต่าง ๆ จนเกิดเป็นปัญหาความลักลั่นในการตีความอีโมจิขึ้น ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ ยังไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับอีโมจิ ทำให้เกิดปัญหาในการตีความความหมายของอีโมจิในกระบวนการพิจารณาคดี ซึ่งอาจนำไปสู่ความลักลั่นในการบังคับใช้กฎหมาย เพิ่มรายละเอียดตรงนี้หน่อยค่ะว่าส่งผลกระทบทางลบต่อใคร อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ แนวโน้มของศาลในต่างประเทศเริ่มมีการนำอีโมจิมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการพิจารณาคดี โดยพิจารณาร่วมกับบริบทของการใช้ ซึ่งเป็นแนวทางที่อาจถูกนำมาปรับใช้ในประเทศไทย ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาจากการศึกษานี้คือ ควรมีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายดังกล่าวให้รองรับการตีความอีโมจิอย่างชัดเจน รวมถึงกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสำหรับการพิจารณาความหมายของอีโมจิในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดปัญหาความไม่แน่นอนทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การกำหนดนิยามของอีโมจิในบริบทต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยประกอบการตีความอีโมจิในบริบทต่าง ๆ
Thumbnail Image
Item
การพัฒนาเครื่องมือดักจับที่อยู่ IP อัตโนมัติ สำหรับสืบสวนคดีหลอกให้ลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน LINE
ทัตเทพ หอมงาม; ปราโมทย์ กั่วเจริญ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับจับ IP Address จากการสื่อสารบนแอปพลิเคชันไลน์เพื่อสนับสนุนการสืบสวนคดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยได้ทำการพัฒนา 3 เครื่องมือ ได้แก่ (1) เว็บไซต์สำหรับส่งข้อความแบบ Flex Message ไปยังห้องสนทนาของผู้กระทำผิด และ ดักจับ IP Address (2) โปรแกรมเก็บข้อมูลการจราจรทางเครือข่ายจากการโทรผ่านแอปพลิเคชันไลน์ และ (3) เว็บไซต์สำหรับวิเคราะห์ไฟล์ PCAP ที่ได้จากแอปพลิเคชัน PCAPdroid บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ การศึกษานี้มีผู้เข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 15 นาย ซึ่งมีประสบการณ์การสืบสวนคดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลผ่านแบบประเมินประสิทธิภาพ แบบสอบถามความพึงพอใจ และบันทึกการทดลอง ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือสามารถระบุ IP Address ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการใช้งาน และช่วยลดระยะเวลาในการสืบสวนพร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการระบุตัวผู้กระทำผิด อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดด้านความเข้ากันได้ของแพลตฟอร์มที่ควรได้รับการพัฒนาต่อไปในอนาคตเพื่อเพิ่มการใช้งานให้กว้างมากยิ่งขึ้น