GSAS: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 230
  • Thumbnail Image
    Item
    การสร้างเส้นแนวโน้มอัตโนมัติโดยใช้อัลกอริธึมพันธุกรรม
    กนกพร อุดมวงศ์ศักดิ์; โอม ศรนิล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)
    การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นสิ่งที่ท้าหายสำหรับนักลงทุน นักลงทุนพยายามหา เครื่องมือทางเทคนิคมาช่วยในการตัดสินใจในการลงทุน เส้นแนวโน้ม เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทาง เทคนิควิธีหนึ่งที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ เส้นแนวโน้มสามารถกำหนดวิธีการลงทุนให้เหมาะ สมตาม แนวโน้มที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา และสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ งานวิจัยนี้นำเสนอการสร้างส้นแนวโน้มระยะสั้นอัตโนมัติโดยใช้อัลกอริซึมพันธุกรรม เทคนิคที่ใช้ จะถูกประเมินประสิทธิผล โดยใช้ราคาหลักทรัพย์จริงและผลลัพธ์การซื้อ-ขายขึ้นอยู่กับการสร้าง เส้นแนวโน้มที่ได้นำเสนอ
  • Thumbnail Image
    Item
    การเลือกส่วนประกอบบนใบหน้าการ์ตูนแบบอัตโนมัติโดยใช้มุมมองมนุษย์
    จตุรงค์ มไหสวริยะ; ธนาสัย สุคนธ์พันธุ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอวิธีการเลือกรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้าการ์ตูนที่ ใกล้เคียงกับใบหน้าคนในรูปถ่ายเพียงรูปเดียวโดยไม่ต้องพึ่งการตัดสินใจของมนุษย์ วิธีการจะ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการสกัดคุณสมบัติของรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้าคนในรูปถ่าย และขั้นตอนการจำแนกชนิดหรือแบบของแต่ละส่วนประกอบเพื่อน นำไปใช้ คัดเลือกรูปร่างของส่วนประกอบนั้น ๆ บนใบหน้าการ์ตูน ตัวแบบที่ใช้จำแนกถูกสร้างขึ้นจากข้อมูล เรียนรู้ที่ได้จากการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญในการเลือกรูปร่างของส่วนประกอบต่าง ๆ บนใบหน้า การ์ตูนจากรูปถ่ายของบุคคล ผลการทดลองประสิทธิภาพของวิธีที่นำเสนอพบว่า การเลือกรูปร่างคิ้ว ใช้ Centroid Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยโครงข่ายใยประสาท ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูปร่างตาใช้ Cross Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนก โดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูป ร่างโครงหน้า ใช้ Cross Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด การเลือกรูปร่างปากใช้ Centroid Vector Angle เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดยต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด และ การเลือกรูปร่างจมูก ใช้ Centroid Vector Length เป็นคุณสมบัติของรูปร่างและจำแนกโดย ต้นไม้ตัดสินใจให้ผลลัพธ์ดีที่สุด จากผลการทดลองพบว่าวิธีการนี้จะยังไม่สามารถทำงานได้เท่าเทียมกับผู้เชี่ยวชาญ แต่สามารถสร้างหน้าตาของการ์ตูนได้ผลดีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายประเภทได้ เช่น การสร้างตัวละครในเกม สื่อสังคมออนไลน์ และอุตสาหกรรมบันเทิงต่าง ๆ
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจนเปรียบเทียบกับครัวเรือนรวย
    นิตยา ปะอินทร์; ปรีชา วิจิตรธรรมรส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและศักยภาพในการออมของครัวเรือนจน และครัวเรือนรวย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจนเปรียบเทียบ ครัวเรือนรวย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครัวเรือนส่วนบุคคลในประเทศไทย จากการ สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2560 โดยครัวเรือน จน (กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ประจำเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนไม่เกินเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20) และครัวเรือนรวย (กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ประจำเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 ขึ้นไป) จำนวน 17,287 ครัวเรือน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ( Logistic Regression) ผลจากการศึกษา พบว่า ครัวเรือนรวยมีศักยภาพในการออมมากกว่าครัวเรือนจน คิดเป็น ร้อยละ 97.1 เทียบกับ 91.5 และเมื่อพิจารณามูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่ครัวเรือนเก็บออม พบว่า ครัวเรือนจนมีมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่ครัวเรือนเก็บออมทั้งสิ้น 44,261 บาทต่อครัวเรือน และ ครัวเรือนรวยมีมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินที่ครัวเรือนเก็บออมทั้งสิ้น 519,817 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งสูง กว่าครัวเรือนจน 12 เท่า โดยเมื่อพิจารณารูปแบบการออม 3 อันดับแรก ของครัวเรือนจน พบว่า มี ศักยภาพในการเก็บออมในสินทรัพย์ทางการเงินอย่างเดียวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.0 รองลงมาคือ มีศักยภาพในการออมในสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 32.9 และมีศักยภาพ ในการออมในสินทรัพย์สินทรัพย์อื่น ๆ อย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 2.1 ในขณะที่ครัวเรือนรวยมี ศักยภาพในการเก็บออมในสินทรัพย์ทางการเงินและสินทรัพย์อื่น ๆ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 66.2 รองลงมาคือ มีการออมในสินทรัพย์ทางการเงินอย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 22.7 และมีศักยภาพในการ ออมทั้งในสินทรัพย์ทางการเงิน สินทรัพย์เพื่อการลงทุน และสินทรัพย์อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 5.7นอกจากนี้ได้ท าการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพในการออมของครัวเรือนจน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มีทั้งปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน อัตราส่วนการเป็นภาระ สถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน และ ภาค ส่วนปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ทั้งสิ้นเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน และค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ย ต่อเดือนต่อครัวเรือน ในขณะที่ครัวเรือนรวยมีเฉพาะปัจจัยทางด้านสังคมเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อ ศักยภาพในการออมของครัวเรือนรวย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ เพศของหัวหน้า ครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน สถานะเศรษฐสังคมของครัวเรือน และภาค
  • Thumbnail Image
    Item
    การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท ด้วยเทคนิคเหมืองข้อมูล กรณีศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    โกวิทย์ ประดิษฐ์ผล; ปรีชา วิจิตรธรรมรส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
    การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสําเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษาของ นักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลนักศึกษา ของกองบริ การการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์ ในช่วงปี การศึกษา 2553 ถึง ปี การศึกษา 2555 มีจํานวนนักศึกษารวมทั้งสิ้น 8,368คน ในจํานวนนี้ไม่ได้นับรวมนักศึกษาที่พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาหรือลาออกจากการเป็นนักศึกษา นักศึกษาต่างชาติ และนักศึกษาที่ศึกษา มากกวา 1 สาขาวิชาเอก มีการนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทําเหมืองข้อมูล (Data Mining) เพื่อให้ได้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสําเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท ของสถาบัน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทงานวิจัย เกรดเฉลี่ย และหน่วยกิตที่ลงทะเบียนในแต่ภาค การศึกษามีความสําคัญอันดับต้นๆ ที่ส่งผลทําให้นักศึกษาสําเร็จการศึกษาตามเกณฑ์การศึกษา โดย พบว่าเพศหญิงมีอัตราการสําเร็จการศึกษาตามเกณฑ์สูงกว่าเพศชาย มีเพียง กลุ่มเดียวที่เพศชายสําเร็จ การศึกษาตามเกณฑ์สูงกว่าเพศหญิง ในส่วนปัจจัยที่เกี่ยวกับการทํางานทุกตัวมีอิทธิพลต่อการสําเร็จ การศึกษาของนักศึกษาภาคปกติ และพบว่านักศึกษาที่ทํางานอยู่ มีอัตราการสําเร็จการศึกษาตาม เกณฑ์ที่สูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้ทํางานและนักศึกษาที่ทํางานส่วนตัว
  • Thumbnail Image
    Item
    ผลกระทบของภาระความรับผิดชอบที่มีต่อความพึงพอใจในชีวิตของกลุ่มแซนด์วิช เจเนอเรชั่น
    สุภาวรรณ เปรมชื่น; เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
    การศึกษานี้มีวตัถุประสงค์เพื่อศึกษาภาระความรับผิดชอบและผลกระทบของภาระนี้ที่มีต่อ ความพึงพอใจในชีวิตของผู้ที่อยู่ในกลุ่มแซนด์วิชเจเนอเรชั่นโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแผนงานวิจัย “ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุไทย” สำรวจระดับประเทศในปี 2557 มีจำนวนตัวอย่างของผู้ที่มีคุณสมบัติตามคำนิยามของกลุ่มแซนด์วิชเจเนอเรชั่นทั้งสิ้น 1,034 คน ซึ่งมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้คือเป็นเพศหญิงและเพศชายในสัดส่วนที่พอๆกัน มีอายุเฉลี่ย 55.67 ปีส่วนใหญ่มีสถานภาพ สมรสมีการศึกษาในระดับประถมศึกษา และเป็นผู้ที่มีงานทำจากการศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่ามีเพียงร้อยละ 8.3ของผู้ที่อยู่ในกลุ่มแซนด์วิชเจเนอ เรชั่นที่ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งบิดา มารดาและบุตรในขณะที่ร้อยละ62 ต้องรับผิดชอบทั้งเจเนอเรชั่น บิดา มารดาและเจเนอเรชั่น บุตร และที่เหลือประมาณร้อยละ 30 รับผิดชอบเพียงเจเนอเรชั่น บิดา มารดาหรือเจเนอเรชั่น บุตรอย่างเดียวเท่านั้น ในกรณีสุดท้ายนี้ยังพบเพิ่มเติมอีกว่า มีการรับผิดชอบเจเนอเรชั่นบุตรอย่างเดียวมากกว่า การรับผิดชอบในเจเนอเรชั่น บิดา มารดาอย่า งเดียว เมื่อพิจารณาถึง ลักษณะการให้ความช่วยเหลือพบว่าทั้งเจเนอเรชั่น บิดา มารดาและบุตรอยู่ในรูปแบบที่ไม่ใช่เงิน มากกว่าการให้เงินสำหรับการช่วยเหลือเจเนอเรชั่น บิดา มารดาที่ไม่ใช่เงินนั้นส่วนใหญ่เป็นการ ซื้ออาหาร/ซื้อกับข้าว/ทำอาหารมาให้ห รือพาไปทานอาหารนอกบ้าน ส่วนการช่วยเหลือเจเนอเรชั่น บุตรนั้นส่วนใหญ่เป็นการให้คำปรึกษา/พูดคุยเป็นเพื่อนแก้เหงา/ให้กำลังใจในส่วนของผลการวิเคราะห์ผลกระทบของภาระความรับผิดชอบที่มีต่อความพึงพอใจใน ชีวิตทั้ง 4 ด้านของผู้ที่อยู่ในกลุ่มแซนด์วิชเจเนอเรชั่นโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุนั้น พบว่า ภาระความรับผิดชอบของผูที่อยู่ในกลุ่มแซนด์วิชเจเนอเรชั่น มีผลกระทบต่อความพึงพอใจด้าน สถานภาพทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 เพียงด้านเดียวเท่านั้น
  • Thumbnail Image
    Item
    ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย
    ธัญมาศ ทองมูลเล็ก; ปรีชา วิจิตรธรรมรส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บด้วยแบบสอบถามจากโครงการสำรวจการมี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2558 ที่ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Two-Stage Sampling แล้วคัดเลือก เฉพาะบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและมีการให้ข้อมูลว่า มีการใช้ อินเทอร์เน็ตเพื่อกิจกรรมการใช้งาน Social Network (Facebook Twitter Google Plus LINE Instagram) ได้ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 38,018 คน และใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive statistics) และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่ม (Binary Logistics Regression) ผลการศึกษา พบว่าลักษณะการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทยมีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์คิด เป็นร้อยละ 92.1 โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสงคมไทยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุสถานภาพสมรส ภาคปัจจัยด้าน ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีประกอบด้วยการเคยใช้บริการประเภท Data Internet ผ่าน โทรศัพท์มือถือ และปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีประกอบด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตจากที่บ้านหรือที่พักอาศัยการใช้อินเทอร์เน็ตจากสถานที่ต่าง ๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือคอมพิวเตอร์พกพา เช่น Notebook Tablet การใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และการใช้โทรศัพท์มือถือแบบ Smart Phone เข้าถึงอินเทอร์เน็ต ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ต ระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันช่วงเวลาที่เข้าใช้อินเทอร์เน็ต