ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขในชนบท
Publisher
Issued Date
1967
Issued Date (B.E.)
2510
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
144 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จำรูญ มีขนอน (1967). ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขในชนบท. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1134.
Title
ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขในชนบท
Alternative Title(s)
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยสนาม โดยมุ่งศึกษาถึงทัศนคติของนักศึกษาแพทย์ทุกคนในโรงเรียนแพทย์ทั้ง 3 แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากผลการศึกษาปรากฏว่าการสาธารณสุขของไทยเราได้เจริญก้าวหน้าตามแบบอารยประเทศ แต่ในการให้บริการแก่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนบทยังไม่ทั่วถึง เพราะขาดแคลนแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้พยายามหาทางแก้ไขตลอดมา แต่ไม่บังเกิดผลดีเท่าที่ควร.
ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มปริมาณนักศึกษาแพทย์ขึ้นในโรงเรียนแพทย์แต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในการปฏิบัติงานสาธารณสุขชนบทได้ เพราะแพทย์ที่สำเร็จใหม่แทบไม่มีใครอยากออกไปปฏิบัติงานในชนบท กระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทย์จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่องานสาธารณสุขชนบทให้เกิดแก่นักศึกษาอันจะเป็นการจูงใจให้ออกไปปฏิบัติงานมากขึ้น ทางโรงเรียนแพทย์ควรคัดเลือกนักศึกษาแพทย์จากผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในชนบทเข้าเรียนให้มากขึ้นกว่าเดิม และควรจัดหลักสูตรวิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมให้สอดคล้องกับงานสาธารณสุขในชนบท การสร้างประสบการณ์ในการปฏิบัติตนในชนบทให้แก่นักศึกษาเท่าที่โอกาสและเวลาจะอำนวยให้ ตลอดถึงการสร้างโรงเรียนแพทย์ใหม่เพิ่มขึ้นในต่างจังหวัดให้นักศึกษาได้ใกล้ชิดกับปัญหาดังกล่าวยิ่งขึ้น ทางด้านกระทรวงสาธารณสุขก็ควรจะได้จัดระบบการบริหารงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคเสียใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ให้สภาพการทำงานมีการเหลื่อมล้ำกับหน่วยราชการอื่น ๆ มากเกินไป ถ้าทำเช่นนี้ปัญหาเรื่องแพทย์สำเร็จใหม่เดินทางไปต่างประเทศกันมากก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรเลย เพราะแพทย์เหล่านั้นจะกลับประเทศไทยในระยะเวลาไม่นานนัก และยังนำเอาวิชาความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้ผลดียิ่งขึ้น.
ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มปริมาณนักศึกษาแพทย์ขึ้นในโรงเรียนแพทย์แต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในการปฏิบัติงานสาธารณสุขชนบทได้ เพราะแพทย์ที่สำเร็จใหม่แทบไม่มีใครอยากออกไปปฏิบัติงานในชนบท กระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทย์จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่องานสาธารณสุขชนบทให้เกิดแก่นักศึกษาอันจะเป็นการจูงใจให้ออกไปปฏิบัติงานมากขึ้น ทางโรงเรียนแพทย์ควรคัดเลือกนักศึกษาแพทย์จากผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในชนบทเข้าเรียนให้มากขึ้นกว่าเดิม และควรจัดหลักสูตรวิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมให้สอดคล้องกับงานสาธารณสุขในชนบท การสร้างประสบการณ์ในการปฏิบัติตนในชนบทให้แก่นักศึกษาเท่าที่โอกาสและเวลาจะอำนวยให้ ตลอดถึงการสร้างโรงเรียนแพทย์ใหม่เพิ่มขึ้นในต่างจังหวัดให้นักศึกษาได้ใกล้ชิดกับปัญหาดังกล่าวยิ่งขึ้น ทางด้านกระทรวงสาธารณสุขก็ควรจะได้จัดระบบการบริหารงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคเสียใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ให้สภาพการทำงานมีการเหลื่อมล้ำกับหน่วยราชการอื่น ๆ มากเกินไป ถ้าทำเช่นนี้ปัญหาเรื่องแพทย์สำเร็จใหม่เดินทางไปต่างประเทศกันมากก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรเลย เพราะแพทย์เหล่านั้นจะกลับประเทศไทยในระยะเวลาไม่นานนัก และยังนำเอาวิชาความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้ผลดียิ่งขึ้น.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.