สถานภาพและบทบาทของสตรีไทย : การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
Publisher
Issued Date
1993
Issued Date (B.E.)
2536
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
ก-ฑ, 86 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พิมลพรรณ วยาจุต (1993). สถานภาพและบทบาทของสตรีไทย : การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัว. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1741.
Title
สถานภาพและบทบาทของสตรีไทย : การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
Alternative Title(s)
Thai women : the changing role and status that affects family relations
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาในครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้านกับครอบครัวซึ่งภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน (2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวิธีการอบรมเลี้ยงดูบุตรของครอบครัวซึ่งภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน (3) เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของสามีซึ่งภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน (4) เพื่อศึกษาปัญหาในการดำรงชีวิตของครอบครัวซึ่งสามีและภรรยาต่างออกไปทำงานนอกบ้านกับครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน
วิธีการศึกษาในเรื่องนี้ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการโดยเน้นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและสังเกตการณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่สตรีออกไปทำงานนอกบ้าน 6 ครอบครัว และกลุ่มที่สตรีไม่ออกไปทำงานนอกบ้านอีก 6 ครอบครัว รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 12 ครอบครัว.
ผลการศึกษาพบว่า.
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาในครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน มีความแตกต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาของครอบครัว ซึ่งสามีและภรรยาต่างออกไปทำงานนอกบ้าน ในเรื่องบทบาทการหาเลี้ยงครอบครัวและอำนาจในการตัดสินใจภายในบ้าน ครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาออกมาในรูปความไม่เสมอภาคในการตัดสินใจภายในครอบครัว ส่วนครอบครัวซึ่งสามีและภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาออกมาในรูปเสมอภาคในการตัดสินใจในครอบครัว.
2. การเปลี่ยนแปลงในวิธีการอบรมเลี้ยงดูบุตร ครอบครัวซึ่งมารดาออกไปทำงานนอกบ้านมีวิธีการในการเลี้ยงดูบุตรแตกต่างกับ ครอบครัวซึ่งมารดามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน พบว่ามารดาที่ออกไปทำงานนอกบ้านมีความใกล้ชิดและมีเวลาให้กับบุตรน้อยลง.
3. สามีของภรรยาซึ่งออกไปทำงานนอกบ้าน มีการปรับเปลี่ยนบทบาทในด้านความคิดและพฤติกรรมในการยอมรับบทบาทหาเลี้ยงครอบครัวร่วมกันยอมรับการตัดสินใจของภรรยาภายในครอบครัวมากขึ้น สามีของภรรยาที่ออกไปทำงานนอกบ้านมีบทบาทในการดูแลบุตรมากขึ้น
4. ปัญหาในการดำเนินชีวิตของครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้านแตกต่างจากครอบครัวซึ่งสามีและภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน คือ ครอบครัวที่ภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน มีปัญหาในเรื่อง (1) เศรษฐกิจของครอบครัว (2) ภรรยาเอาใจใส่ต่อบุตรและสามีมากเกินไป ส่วนครอบครัวซึ่งสามีภรรยาออกไปทำงานนอกบ้านประสบปัญหาในเรื่อง (1) การให้เวลาระหว่างสามีภรรยาและการให้เวลาแก่บุตร (2) การแบกรับภาระของภรรยาที่มีต่องานภายในบ้านและงานภายนอกบ้าน
ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา.
1. ครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน
1.1 ส่งเสริมให้ภรรยาซึ่งมิได้ออกไปทำงานนอกบ้านหารายได้พิเศษ
1.2 ส่งเสริมให้ภรรยาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์หรือให้ความสนใจในรอบตัวมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเอาใจใส่ที่มีต่อสามีและบุตรมากเกินไป.
2. ครอบครัวซึ่งสามีและภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน
2.1 ส่งเสริมให้สามี ภรรยา และบุตร มีกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัวเป็นการเพิ่มโอกาสในการพูดคุยปรึกษากัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและความเหินห่างภายในครอบครัว.
2.2 ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมภายในครอบครัว โดยเริ่มตั้งแต่เด็กว่าหน้าที่และภาระรับผิดชอบภายในบ้านเป็นเรื่องของผู้หญิงและผู้ชายที่จะทำร่วมกัน
วิธีการศึกษาในเรื่องนี้ใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการโดยเน้นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและสังเกตการณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มที่สตรีออกไปทำงานนอกบ้าน 6 ครอบครัว และกลุ่มที่สตรีไม่ออกไปทำงานนอกบ้านอีก 6 ครอบครัว รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 12 ครอบครัว.
ผลการศึกษาพบว่า.
1. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาในครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน มีความแตกต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาของครอบครัว ซึ่งสามีและภรรยาต่างออกไปทำงานนอกบ้าน ในเรื่องบทบาทการหาเลี้ยงครอบครัวและอำนาจในการตัดสินใจภายในบ้าน ครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาออกมาในรูปความไม่เสมอภาคในการตัดสินใจภายในครอบครัว ส่วนครอบครัวซึ่งสามีและภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาออกมาในรูปเสมอภาคในการตัดสินใจในครอบครัว.
2. การเปลี่ยนแปลงในวิธีการอบรมเลี้ยงดูบุตร ครอบครัวซึ่งมารดาออกไปทำงานนอกบ้านมีวิธีการในการเลี้ยงดูบุตรแตกต่างกับ ครอบครัวซึ่งมารดามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน พบว่ามารดาที่ออกไปทำงานนอกบ้านมีความใกล้ชิดและมีเวลาให้กับบุตรน้อยลง.
3. สามีของภรรยาซึ่งออกไปทำงานนอกบ้าน มีการปรับเปลี่ยนบทบาทในด้านความคิดและพฤติกรรมในการยอมรับบทบาทหาเลี้ยงครอบครัวร่วมกันยอมรับการตัดสินใจของภรรยาภายในครอบครัวมากขึ้น สามีของภรรยาที่ออกไปทำงานนอกบ้านมีบทบาทในการดูแลบุตรมากขึ้น
4. ปัญหาในการดำเนินชีวิตของครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้านแตกต่างจากครอบครัวซึ่งสามีและภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน คือ ครอบครัวที่ภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน มีปัญหาในเรื่อง (1) เศรษฐกิจของครอบครัว (2) ภรรยาเอาใจใส่ต่อบุตรและสามีมากเกินไป ส่วนครอบครัวซึ่งสามีภรรยาออกไปทำงานนอกบ้านประสบปัญหาในเรื่อง (1) การให้เวลาระหว่างสามีภรรยาและการให้เวลาแก่บุตร (2) การแบกรับภาระของภรรยาที่มีต่องานภายในบ้านและงานภายนอกบ้าน
ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา.
1. ครอบครัวซึ่งภรรยามิได้ออกไปทำงานนอกบ้าน
1.1 ส่งเสริมให้ภรรยาซึ่งมิได้ออกไปทำงานนอกบ้านหารายได้พิเศษ
1.2 ส่งเสริมให้ภรรยาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์หรือให้ความสนใจในรอบตัวมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเอาใจใส่ที่มีต่อสามีและบุตรมากเกินไป.
2. ครอบครัวซึ่งสามีและภรรยาออกไปทำงานนอกบ้าน
2.1 ส่งเสริมให้สามี ภรรยา และบุตร มีกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัวเป็นการเพิ่มโอกาสในการพูดคุยปรึกษากัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งและความเหินห่างภายในครอบครัว.
2.2 ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมภายในครอบครัว โดยเริ่มตั้งแต่เด็กว่าหน้าที่และภาระรับผิดชอบภายในบ้านเป็นเรื่องของผู้หญิงและผู้ชายที่จะทำร่วมกัน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.