การบูรณาการระหว่างการนับถือพุทธศาสนา จิตลักษณะ และสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการปรับตัวเมื่อสูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิตของผู้ใหญ่ไทย
Publisher
Issued Date
2012
Issued Date (B.E.)
2555
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
13, 330 แผ่น : 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เกียรติภูมิ ชาภักดี (2012). การบูรณาการระหว่างการนับถือพุทธศาสนา จิตลักษณะ และสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการปรับตัวเมื่อสูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิตของผู้ใหญ่ไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2083.
Title
การบูรณาการระหว่างการนับถือพุทธศาสนา จิตลักษณะ และสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการปรับตัวเมื่อสูญเสียบุคคลสำคัญในชีวิตของผู้ใหญ่ไทย
Alternative Title(s)
Integration of Buddhist belief and practice, psychological characteristics and sithational factors on adjustment after bereavement of Thai Adults
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ มีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหาปัจจัย เชิงเหตุของการปรับตัวของผู้ใหญ่ไทยเมื่อสูญเสียบุคคลสําคัญในชีวิต รวมทั้งการแสวงหากลุ่ม เสี่ยงที่มีพฤติกรรมการปรับตัวในปริมาณน้อย พร้อมกับเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผ่านปัจจัย ปกป้องที่สําคัญ การวิจัยเรื่องนี้มีกรอบแนวคิดพื้นฐานในการวิจัยมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎีและหลักการที่สําคัญทางจิตพฤติกรรมศาสตร์ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มญาติของผู้สูญเสีย จํานวน 450 คน แบ่งเป็นกลุ่มญาติเพศชาย 229 คน (50.89%) และกลุ่มญาติเพศหญิง 221 คน(49.11%) จากในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล มีอายุเฉลี่ย 35.16 ปี ซึ่งได้มากจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งขั้นกําหนดโควตา ตัวแปรในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มการนับถือศาสนา 3 ตัวแปร คือ ความเชื่อทาง พุทธศาสนา วิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา และวิถีชีวิตทางพุทธศาสนา 2) กลุ่มจิตลักษณะเดิม 4 ตัว แปร คือ สุขภาพจิต ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการปรับตัวทางจิต สังคม 3) กลุ่มสถานการณ์ 3 ตัวแปร คือ ประสบการณ์การสูญเสีย การสนับสนุนจากครอบครัว และการสนับสนุนจากองค์กร 4) กลุ่มจิตลักษณะตามสถานการณ์ 2 ตัวแปร คือ การมองโลกใน แง่ดี และการเปรียบเทียบทางสังคม และ 5) กลุ่มการปรับตัว 3 ตัวแปร คือ การปรับตัวด้านอารมณ์ การปรับตัวด้านสังคม และการปรับตัวด้านเศรษฐกิจ ผลการวิจัยที่สําคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการที่แรก ตัวทํานายกลุ่มการนับถือศาสนา จิตลักษณะเดิม สถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถทํานาย 1) การปรับตัวด้าน อารมณ์ในกลุ่มรวมได้ 47.2% โดยมีตัวทํานายที่สําคัญเรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ สุขภาพจิติถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา การเปรียบเทียบทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การปรับตัวทาง จิตสังคม และความเชื่อทางพุทธศาสนา และทํานายได้สูงสุดในกลุ่มญาติที่มีความสัมพันธ์ไม่ ใกล้ชิด 70.1% 2) ปรับตัวด้านสังคมในกลุ่มรวมทํานายได้ 54.4% โดยมีตัวทํานายที่สําคัญ เรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ สุขภาพจิต การสนับสนุนจากครอบครัว การปรับตัวทางจิตสังคม การสนับสนุนจากองค์กร การเปรียบเทียบทางสังคม ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน วิถีปฏิบัติทาง พุทธศาสนา วิถีชีวิตทางพุทธศาสนา แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และประสบการณ์การสูญเสีย และ ทํานายได้สูงสุดในกลุ่มญาติที่มีความสัมพันธ์ไม่ใกล้ชิด 79.7% และ 3) การปรับตัวด้านเศรษฐกิจ ในกลุ่มรวมทํานายได้ 45.0% โดยมีตัวทํานายที่สําคัญเรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ การมองโลก ในแง่ดี การเปรียบเทียบทางสังคม ประสบการณ์การสูญเสีย ความเชื่อทางพุทธศาสนา การ สนับสนุนจากองค์กร สุขภาพจิต แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และ ทํานายได้สูงสุดในกลุ่มญาติที่มีการศึกษาน้อย 64.5% ประการที่สอง ผลการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้นปรากฏว่า การปรับตัวของญาติที่สูญเสีย บุคคลสําคัญได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ ประการแรก การปรับตัวด้านอารมณ์ ได้รับ อิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุเรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) สุขภาพจิต 2)แรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิ์ 3)การเปรียบเทียบทางสังคม 4) วิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา 5)การปรับตัวทางจิตสังคม และ 6) ความเชื่อทางพุทธศาสนา โดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปร ปรวนของการปรับตัวด้านอารมณ์ได้ 46% ประการที่สอง การปรับตัวด้านสังคมได้รับอิทธิพล ทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุเรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) สุขภาพจิต 2) ลักษณะมุ่งอนาคต ควบคุมตน 3) การสนับสนุนจากครอบครัว 4) การสนับสนุนจากองค์กร 5) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 6) วิถีชีวิตทางพุทธศาสนา 7) การปรับตัวทางจิตสังคม 8) วิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา และ 9) ประสบการณ์การสูญเสีย โดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของ การปรับตัวด้านอารมณ์ได้ 53% และประการสุดท้าย การปรับตัวทางเศรษฐกิจได้รับอิทธิพล ทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุเรียงลําดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การเปรียบเทียบทางสังคม 2) การ มองโลกในแง่ดี 3) ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน 4) การสนับสนุนจากองค์กร 5) สุขภาพจิต 6) ความเชื่อทางพุทธศาสนา 7) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และ 8) ประสบการณ์การสูญเสีย โดยตัว แปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการปรับตัวด้านอารมณ์ได้ 44% ประการสุดท้าย กลุ่มญาติที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนา คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมการ ปรับตัว 3 ด้านน้อย คือ 1) กลุ่มญาติที่มีผู้สูญเสียที่เป็นที่พึ่งหลักของครอบครัว 2) กลุ่มญาติที่มี รายได้มาก และ 3) กลุ่มญาติที่มีความสัมพันธ์ไม่ใกล้ชิด โดยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรได้รับการ พัฒนาสุขภาพจิต และการปรับตัวทางจิตสังคม
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012