GSBA: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 6 of 12
  • Thumbnail Image
    Item
    พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารบนอินเทอร์เน็ตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
    ณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ; ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2007)
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรผ่านเว็บ : กรณีศึกษา บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน)
    ณัฐวร เจ้าสกุล; กัลยาณี คูณมี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008)
    การพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับประเมนผลการปฏิบัติงานบุคลากรผ่านเว็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบการใช้งานเว็บแอปพลิเคชั่นในกระบวนการประเมินผลการ ปฏิบัติงานของบุคลากรกรณีศึกษาบริษัทไทยรุ่งยูเนียนคาร์จํากัด (มหาชน) โดยนำมาใชใน ขั้นตอนการกรอกคะแนนลงในแบบฟอร์มการคำนวณผลคะแนนประเมินการอนุมัติผลคะแนน การประเมินและการจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานรวมทั้งศึกษาความพงพอใจ ของผู้ใช้ในการใช้เว็บแอปพลิเคชั่นที่ได้พัฒนาขึ้น โปรแกรมระบบต้นแบบสำหรับประเมินผลการปฏิบัตงานบุคลากรผ่านเว็บพัฒนาขึ้นในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชั่นโดยใช้ภาษาเจเอสพีเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ซึ่งในขั้นตอนการศึกษาได้ทําการจำลองฐานข้อมูลของพนักงานบริษัทไทยรุ่งยูเนียนคาร์จํากัด มหาชน) เพื่อทำการทดสอบการใช้งานโปรแกรม ซึ่งหลังจากที่ได้ทําการพัฒนาแล้วผู้วิจัยได้นํา โปรแกรมไปทดสอบโดยผู้ใช้ซึ่งได้แก่หัวหน้าส่วนงานประจำฝ่ายการผลิตบริษัทไทยรุ่งยูเนี่ยน คาร์จํากัด (มหาชน) พบว่าผู้ทดสอบสามารถเรียนรู้การใช้งานได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากทุกคนมี พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นแต่ยังขาดความชำนาญในการใช้งานโปรแกรมเพราะไม่คุ้นเคยกับระบบเว็บแอปพลิเคชั่นผู้ทดสอบได้ให้ความเห็นว่าหากนำโปรแกรมมาช่วยใน ระบบงานการประเมินผลการปฏิบัติงานได้จริงจะสามารถช่วยให้ขั้นตอนของการคำนวณผล คะแนนการประเมินการส่งข้อมูลผลคะแนนเพื่อรอการอนุมัติและการจัดทำรายงานสรุปผลการ ประเมินจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานน้อยลงอีกทั้งยังมีส่วนเพิมเติมคือสามารถเรียกดูประวัติ พนักงานและข้อมูลผลการประเมินย้อนหลังได้สามารถเพิ่มความถูกต้องแม่นยำของผลคะแนนที่คำนวณได้และสามารถลดปริมาณการใช้กระดาษได้เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลอย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้เป็นเพียงการพัฒนาระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อทดสอบ แนวทางของการพัฒนาระบบงานบริหารบุคคลเท่านั้นได้มีการนำไปใช้งานจริงทันทีใน การประยุกต์ให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงนั้นจะต้องมีการออกแบบโปรแกรมให้มีการเชื่อมโยง ข้อมลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแก้ไขระบบแว้ดล้อมให้สอดคล้องกับการนำโปรแกรมมาใช้งานเพื่อมิให้เกิดผลกระทบกับระบบงานเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาแบบทดสอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับวัดความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดในการฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อการคัดสรรบุคลากร
    จิตรลดา พรงาม, 2525-; มณีวรรณ ฉัตรอุทัย, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2006)
  • Thumbnail Image
    Item
    การพยากรณ์ราคาแนฟทาด้วยระบบนิวโรฟัซซี
    พรทิพย์ วิเศษศรีพงษ์, 2526-; วิพุธ อ่องสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2007)
  • Thumbnail Image
    Item
    การประยุกต์ใช้ RFID กับการควบคุมยานพาหนะเข้า-ออก กรณีศึกษาโรงเรียนจ่าอากาศ
    รุ่งกิจ กมลกลาง; นิธินันท์ ธรรมากรนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009)
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบต้นแบบควบคุมยานพาหนะเข้า-ออกโรงเรียน จ่าอากาศ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยด้านการควบคุมยานพาหนะที่ผ่านเข้า-ออกโรงเรียน จ่าอากาศ ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจสอบและติดตามข้อมูลของยานพาหนะที่กําลังผ่านเข้าออกได้ทันที ใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยด้านการควบคุมยานพาหนะให้กับ ผู้บังคับบัญชาตามความต้องการ การพัฒนาระบบต้นแบบนี้นําเทคโนโลยี RFID ใช้ในการตรวจจับ ยานพาหนะที่กําลังผ่านเข้า-ออก หน่วยงาน ด้วยโปรแกรมควบคุมการทํางานของระบบเชื่อมต่อกับ ระบบฐานข้อมูล MySQL บนเว็ปเซิร์ฟเวอร์ Apache ผ่านตัวกลางโปรแกรมภาษา PHP สามารถนํา ระบบต้นแบบไปพัฒนาขยายขอบเขตการทํางานหรือรวมกับระบบงานอื่นๆ เพื่อให้ระบบรักษา ความปลอดภัยมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ระบบต้นแบบที่พัฒนาขึ้นผ่านการทดสอบข้อบกพร่องใน ส่วนต่างๆ ได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพ มีระบบฐานข้อมูลที่ดีมีความรวดเร็วข้อมูลมีความถูกต้อง ระบบสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการปฏิบัติงานอย่างทันท่วงทีมีระดับความพึงพอใจ ต่อการทํางานของระบบโดยรวมของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับดีสามารถนําไปใช้เป็นระบบ ต้นแบบควบคุมยานพาหนะเข้า-ออกหน่วยงานของกองทัพอากาศได้เป็นอย่างดีอีกทั้งเป็นการ พัฒนาโรงเรียนจ่าอากาศ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ให้สอดคล้องตามนโยบายการก้าวเข้าสู่รัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์
  • Thumbnail Image
    Item
    การพัฒนาแอพพลิเคชั่นประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
    กิระวี อัศวจิตตานนท์; ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008)
    มูลค่าอสังหาริมทรัพยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับช่วงเวลา และสถานการณ์นอกจากนี้ความรู้ ถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองอยู่ หรือที่สนใจ จะช่วยสนับสนุนการตัดสนใจให้ง่ายและมี ประสิทธิภาพมากยื่งขึ้น การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง อีกทั้งราคา ประเมินอสังหาริมทรัพย์ดียวกันอาจแตกต่างกันตามสมมุติฐานของผู้ประเมินได้ทําให้ผู้ใช้ข้อมูล ประสบปัญหาในการเลือกข้อมูลไปใช้ การพัฒนาแอพพลิเคชั่นประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาตัวแบบ ของโปรแกรมประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ สําหรับการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภท อสังหาริมทรัพย์แก่กิจการโดยใช้ภาษาพีเอชพี และเพื่อให้ผู้ทําบัญชี ผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นทางการ บัญชีผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นทางการประเมินราคาสินทรัพย์ผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นด้านอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้ที่สนใจและมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากพอ สามารถใช้โปรแกรมการประเมินราคา อสังหาริมทรัพย์ ทําการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งสําหรับการประกอบ กิจการและสําหรับการลงทุน ในเบื้องต้นได้ อย่างสมเหตุสมผล การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นสิ่งจำเป็นที่กิจการต่าง ๆ พึงกระทําจากข้อบังคับของ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งโดยทั่วไปสามารถทําได้โดยการว่าจ้างผู้ประเมินราคาสินทรัพย์ที่ได้รับ อนุญาตอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการว่าจ้างผู้ประเมินราคามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อีก ทั้งข้อกําหนดทางการบัญชีของประเทศไทยมิได้บังคับให้กิจการจําเป็นต้องใช้มูลค่าราคาประเมิน อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองจากผู้ประเมินราคาสินทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนั้นผู้วิจัยจึงมี ความเห็นว่าหากมีโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ทําบัญชีและผู้ประกอบการ สามารถประเมินราคา อสังหาริมทรัพย์ของกิจการได้เองกจะช่วยให้กิจการสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ไม่น้อย นอกจากนี้บ่อยครั้งที่กิจการว่าจ้างผู้ประเมินราคามากกวว่า 1 ราย แล้วได้มูลค่าการประเมินทแตกต่างกันมากดังนั้นผลจากประเมินจากแอพพลิเคชั่นยังช่วยให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหาร จัดการอสังหาริมทรัพย์ได้อีกด้วย ผู้วิจัยพัฒนาแอพพลิเคชั่นประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ จากวิธีการประเมินราคา อสังหาริมทรัพย์ 3 วิธีคือวิธีเปรียบเทียบตลาดวิธีต้นทุน และ วิธีรายได้เนื่องจากวิธีการประเมินแต่ละวิธีมีขั้นตอนการประเมนที่ซับซ้อน ผู้ใช้จึงใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิสวิซิโอ 2003 เป็น เครื่องมือในการกําหนดขั้นตอนการประมวลผลและ การออกแบบโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นการไหล ของข้อมูลการออกแบบฐานข้อมูล หรือขั้นตอนการรับข้อมูลจากผู้ใช้ผู้วิจัยใช้ภาษาพีเอชพีในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์โดยพัฒนาเป็นเว็บเบสิดแอพพลิเคชั่น ผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมให้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ซึ่ง เป็นฐานข้อมูลแบบโอเพนซอส นอกจากนี้ในส่วนของหน้าเว็บผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม Dreamweaver เป็นเครื่องมือในการสร้าง เนื่องจากผู้ใช้เป้าหมายของแอพพลิเคชั่นประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์เป็นนักบัญชี และ บุคคลทั่วไปซึ่ งมีข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการประเมิน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเขียนคู่มือการใช้งาน พร้อมตัวอย่างการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้แอพพลิเคชนประเมินราคา อสังหาริมทรัพย์สามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้เต็มที่